Tag: ประวัติศาสตร์

กำเนิดครัวซองต์

croissant-cut

ถ้าพูดถึงขนมชนิดนี้แล้ว เชื่อกันว่า คนส่วนใหญ่คงรู้จักมันเป็นอย่างดี และหากได้ฟังจากชื่อ ครัวซองต์ (croissant) ของมันแล้ว ก็คงมีคนเป็นจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่คิดว่า เจ้าขนมปังรูปพระจันทร์เสี้ยวนี้ คงมีที่มาจากประเทศฝรั่งเศสเป็นแน่ ทว่าจริง ๆ แล้วครัวซองต์หาได้เป็นอาหารดั้งเดิมของฝรั่งเศสไม่ Read More

กองทัพลวงตา Ghost Army


หลายคนอาจจินตนาการว่านี่เป็นกลุ่มลับที่ติดอาวุธประสิทธิภาพสูงใช่ไหม แต่เปล่าเลย เพราะสมาชิกกลุ่มนี้ประกอบด้วยศิลปิน,สถาปนิก หรือแม้กระทั่งนักแสดงริมถนน โดยมีกำลังพลรวมกัน 1,000 คน และใครจะไปเชื่อล่ะว่าคนที่ดูเหมือนไม่มีประสิทธิภาพในการรบหรือจับปืนเหล่านี้จะมีส่วนในการพลิกชะตาสงครามโลก

 

Read More

ป้อมเกาลูน

22598_836619656414745_3552979412509219843_n

ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเคยมีแดนเถื่อนอันแออัด สกปรกวุ่นวาย ไร้กฎหมาย เกิดขึ้นกลางเมืองอันเจริญรุ่งเรืองอย่างฮ่องกง

สถานที่แห่งนั้นเรียกว่า “ป้อมเกาลูน” (Kowloon Walled City) แต่เดิมมันเคยเป็นป้อมซึ่งรัฐบาลจีนสมัยซ่งตั้งขึ้นมาควบคุมการค้าเกลือท้องถิ่น มีเนื้อที่ 16 ไร่ 1 งาน จุทหารได้ราว 700 คน จากนั้นแต่ละราชวงศ์ก็มักใช้มันเป็นที่ทำการรัฐบาลเรื่อยมา จนเมื่อจีนรบแพ้สงครามฝิ่น ต้องส่งมอบฮ่องกงให้อังกฤษ ตามสัญญาที่ทำกันนั้นพื้นที่ปกครองของอังกฤษไม่นับรวมป้อมแห่งนี้ด้วย

Read More

พระเสกรวงข้าว

134_10245399_653368394739642_850800637609983078_n

พระเสกรวงข้าว สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คู่กับพระทรมานมิจฉาทิฐิ ซึ่งรูปแบบของศิลปะสะท้อนให้เห็นค่านิยมร่วมสมัยจากจีน ซึ่งนิยมสร้างประติมากรรมขนาดเล็ก ด้วยอัญมณี เช่น ทิวทัศน์เกาะเพ็งไหล ซึ่งเป็นดินแดนอมตะของเหล่าเซียน ตามความตอนหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอรรถาธิบายถึงงานประติมากรรมทั้งสองชิ้นนี้ว่า

Read More

พระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกทำลาย

10255357_362370327295131_5097704407026318723_n

เหตุการณ์วันพระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกทำลาย

ค่ำคืนของวันที่ 5 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1860 ตรงกับรัชสมัยเสียนฟงที่ 10 กองทัพพันธมิตร ได้บุกเข้าปักกิ่ง แล้วไปยึดเอาพระราชวังหยวนหมิงหยวนเป็นที่มั่น

เช้าของวันที่ 6 ตุลาคม ทหารในกองทัพพันธมิตร ก็ได้เข้ารื้อค้นฉกฉวยสมบัติ และทำลายทรัพย์สินภายในพระราชวัง

เหตุผลเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาล ยอมจำนนและลงนามในสนธิสัญญา Read More

ลานนา หรือ ล้านนา

หลายๆ คน คงรู้จัก เมืองล้านนา  ซึ่งเป็น ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจน สิบสองปันนา แล้ว คำว่า “ล้านนา” หรือ “ลานนา” นั้น แปลว่าอะไร ทำไมจึงเรียกอย่างนั้น

Read More

จักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเกาหลี

412px-Sunjong_of_the_Korean_Empire

สมเด็จพระจักรพรรดิยุงฮีแห่งจักรวรรดิเกาหลี (เกาหลี: 융희제) หรือ พระเจ้าซุนจง (สมเด็จพระจักรพรรดิซุนจงเมอยองโดนินซองกุงแห่งจักรวรรดิเกาหลี) (เกาหลี: 순종) (25 มีนาคม ค.ศ. 1874 – 24 เมษายน ค.ศ. 1926) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ ลำดับที่ 2 แห่งจักรวรรดิเกาหลี เป็นพระประมุข ลำดับที่ 27 ถ้านับจากสมัยราชอาณาจักรโชซอน และเป็นพระประมุขพระองค์สุดท้ายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชของเกาหลี โดยพระองค์ทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ ในปี ค.ศ. 1908 ซึ่งช่วงนี้เอง จักรวรรดิเกาหลีมีสถานะเป็นรัฐในอารักขาของจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้พระองค์ทรงไม่มีพระราชอำนาจใดๆ เนื่องจากอำนาจทั้งหมดตกอยู่ในมือของผู้สำเร็จราชการชาวญี่ปุ่นและองค์ชายแดวอนจนหมดสิ้น อีกทั้งพระองค์มีพระพลานามัยไม่สู้แข็งแรงนัก การที่ญี่ปุ่นยินยอมให้พระองค์ขึ้นเสวยราชย์ก็เพื่อรอเวลาที่จะกลืนจักรวรรดิเกาหลีได้โดยสมบูรณ์เท่านั้น Read More

ท้าวทองกีบม้า ราชินีแห่งขนมไทย

ท้าวทองกีบม้าเธอเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เคยได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น จนมีผู้ยกย่องว่าเป็น “ราชินีแห่งขนมไทย”

Read More

พระสงฆ์ไทยทำไมต้องโกนคิ้ว

 CAn4-hoVAAAPOPv

ในพระวินัยไม่มีบัญญัติว่าพระภิกษุต้องโกนคิ้ว แต่มีพระบัญญัติว่าห้ามพระภิกษุบวชให้กับคนที่ไม่มีคิ้ว สำหรับในเมืองไทยเรื่องการโกนคิ้ว เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในยุคที่มีสงคราม มีคนต่างชาติปลอมเข้ามาบวช ทางบ้านเมืองขอให้พระภิกษุในยุคนั้นโกนคิ้ว เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างกันของพระภิกษุไทยกับคนปลอมเข้ามาบวชเท่านั้น จึงมีประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันว่า เวลาบวชโกนทั้งผมและคิ้ว แต่ผู้ที่ไม่โกนไม่เป็นอาบัติตามพระวินัย

Read More

เจ้าแม่วัดดุสิต นารีปริศนาผู้เป็นต้นราชวงศ์จักรี

IMG_9229_1a

ในช่วงปฐมวัยของเจ้าแม่วัดดุสิตยังคงเป็นที่คลุมเครืออยู่มาก เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่ารัชสมัยรัชกาลที่ 4 มิได้กล่าวถึงประวัติของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้เลย จะมีก็ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเจ้าแม่วัดดุสิตในพงศาวดารของไทยและจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเท่านั้น หลักฐานที่พอจะศึกษาประวัติของเจ้าแม่วัดดุสิตอย่างละเอียดก็คงมีแต่บันทึกจากคำบอกเล่า หรือหลักฐานในชั้นทุติยภูมิ จึงมีนักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นแตกต่างกันไปดังนี้

Read More