Tag: ประวัติศาสตร์

Enigma เครื่องมือลับแห่งสงครามโลก

ท่ามกลางความโกลาหลของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธลับที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งไม่ได้อยู่ในรูปของปืนใหญ่หรือรถถัง แต่เป็นกล่องโลหะขนาดเล็กที่รู้จักกันในชื่อ “เครื่องเข้ารหัสอีนิกมา” Enigma นั้นซับซ้อนมาก ประกอบด้วยโรเตอร์ 3 ล้อที่หมุนได้ แต่ละล้อมีตัวอักษร 26 ตัว การหมุนของโรเตอร์แต่ละตัวจะเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมการเข้ารหัส ทำให้ยากต่อการถอดรหัส Read More

ทำไม error ของโปรแกรมจึงเรียกว่า BUG

คำว่า “บั๊ก” สำหรับ error ของโปรแกรม มาจากเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1947 เมื่อ Grace Hopper โปรแกรมเมอร์หญิงชาวอเมริกัน พบแมลงตัวเล็ก (moth) ติดอยู่ในรีเลย์ของคอมพิวเตอร์ Harvard Mark II แมลงตัวนี้ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เกิด error ในการทำงานของโปรแกรม

เหตุการณ์นี้ทำให้ Grace Hopper เปรียบเทียบ error ของโปรแกรมกับแมลงตัวเล็ก และเธอใช้คำว่า “bug” เพื่ออธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อมาคำว่า “bug” ก็ถูกใช้แพร่หลายในวงการคอมพิวเตอร์ เพื่อเรียก error ของโปรแกรม หรือจุดบกพร่องในซอฟต์แวร์ Read More

โทษ 21 สถาน

sryt_p13

ย้อนไปในอดีต มี โทษประหารชีวตแบบโบราณ 21 วิธี ตั้งแต่ ต่อยกระบาน(ศรีษะ) จนถึง ตีด้วยหวายหนาม จากหนังสือกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหนังสือกฎหมายที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้รวบรวมกฎหมายโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมาประมวลไว้ด้วยกัน ได้กล่าวถึงการประหารชีวิต และเครื่องมือต่างๆ เช่น จากพระไอยการลักษรโจร กล่าวถึงการลักพระพุทธรูปเอาไปล้างหรือเผาสำรอกเอาทอง หรือเอาพระบท (พระคัมภีร์) ไปสำรอกแช่น้ำ หรือเอาไปเผา โทษประหารคือ เอาโจรนั้นใส่เตาเพลิงสูบเผาไฟ ถ้าขุดทำลายพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ จับได้หลายครั้งหลายหน โทษประหารก็คือเอาโจรนั้นไปตระเวนบก 3 วัน ตระเวนเรือ 3 วัน แล้วตัดคอผ่าอกเสีย ถ้าทำให้เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง โทษคือเอาไฟคลอกให้ตาย Read More

เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์ :ผู้ให้กำเนิดหน่วยพลร่มไทย

10352146_902253046488167_7452847572315045060_n

บิลล์ แลร์ คือ อเมริกัน ซี ไอ เอ ซึ่งถูกส่งมาจากหน่วยข่าวกรองของสหรัฐมายังประเทศไทย เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2494 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีจุดประสงค์เพื่อการสร้างกำลังของฝ่ายอเมริกันนอกประเทศในการยับยั้งการแผ่อิทธิพลฃองฝ่ายคอมมิวนิสต์(สหรัฐเป็นผู้นำของฝ่ายโลกเสรีในเวลานั้น

Read More

การสังหารหมู่ที่หมีลาย ตอนที่ 3 (จบ)

คุณอาจจะสงสัยว่า ทำไมเหล่าทหารหนุ่มที่อายุอานามไม่เกิน 25 ปีกลุ่มนี้ถึงได้มีจิตใจที่อำมหิตเหลือเกิน เหตุผลง่ายๆคือ สงครามทำให้พวกเขาเปลี่ยนไป ความกดดันทำให้พวกเขาไม่วางใจในสิ่งใดทั้งสิ้น อันที่จริงแล้ว C Company เพิ่งจะมาถึงเวียดนามได้แค่ 3 เดือนก่อนเกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้… 3 เดือนเท่านั้นที่เหล่าทหารอายุน้อยจาก C Company ต้องเผชิญกับการประจันหน้ากับทหารเวียตกงถึง 28 ครั้งซึ่งทำให้สูญเสียเพื่อนทหารไป 5 คน และก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่หมีลายเพียง 2 วัน พวกเขาก็เพิ่งจะเจอกับการโจมตีครั้งใหญ่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดซึ่งคร่าชีวิตเพื่อนทหารไปอีกหนึ่งคน และทำให้อีกสองสามคนบาดเจ็บสาหัส ทั้งหมดนี้เป็นความกดดันที่หนักหนาในช่วงเวลาสั้นๆที่สามารถเปลี่ยนวิธีและกระบวนการทางความคิดของเหล่าพลทหารหลายๆคนไปได้ Read More

การสังหารหมู่ที่หมีลาย ตอนที่ 2

หลังจากกองกำลังทุกกลุ่มของสหรัฐฯได้ถูกเรียกตัวกลับฐานหลังจากคำสั่งหยุดยิง ความเสียหายก็เกินจะเยียวยาแล้ว มากกว่า 400 ชีวิตถูกสังหารอย่างไร้ทางสู้ ทั้งถูกยิง ถูกแทง หั่นเป็นชิ้น และกระทำการต่างๆนานๆที่เป็นการดูหมิ่นร่างกายของเหยื่อ หญิงสาวบางคนโดนข่มขืน หมู่บ้านทั้งหมดลุกเป็นไฟ หมีลายจากที่มีประชากรประมาณ 700 คน ภายใน 4 ชั่วโมงเหลือไม่ถึง 300 ชีวิตโดยทั้งหมดล้วนเป็นเพียงแค่ชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ได้บอกกล่าวไว้ว่า พวกเขาที่เหลือต้องใช้เวลาถึง 3 วันในการฝังศพของเหยื่อทั้งหมด Read More

การสังหารหมู่ที่หมีลาย ตอนที่ 1

หมีลาย เป็นหนึ่งในหมู่บ้านขนาดเล็กของหมู่บ้านสงเติ๋นในจังหวัดกวางหงายของประเทศเวียดนาม ณ ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น หมีลายมีประชากรประมาณ 700 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั่วไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามที่สหรัฐอเมริกาพยายามเข้ามากำจัดระบอบคอมมิวนิสต์

ย้อนไปในเช้าตรู่ของวันที่ 16 มีนาคม 1968 กลุ่มกองกำลังทางทหารของสหรัฐอเมริกากว่าร้อยคนจาก Charlie Company – 11th Brigade เข้าปฎิบัติหน้าที่ภายใต้การปฎิบัติการชื่อ Task Force Barker ซึ่งหมายถึงการล่าและสังหารเหล่าเวียตกงโดยเฉพาะในพื้นที่ของหมู่บ้านสันมายซึ่งโดยรวมแล้วเป็นพื้นที่ไร่นา ภายใต้การนำของร้อยเอก Ernest Medina โดยหนึ่งในกองกำลังนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของร้อยตรี William Calley Jr. รับคำสั่งเข้าไปสำรวจในพื้นที่ของหมู่บ้านหมีลายที่เชื่อว่ามีทหารเวียตกงแอบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งถ้าหากเจอละก็ พวกเขาสามารถฆ่าทิ้งและยึดอาวุธทั้งหมดกลับมาได้เลย Read More

คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 3 (จบ)

การทดลองถูกประกาศให้ยุติในวันที่ 20 สิงหาคม 1971 เพียง 6 วันหลังเริ่มการทดลอง สาเหตุหลักคือพฤติกรรมอันน่าตกใจของแต่ละฝ่าย เช่นผู้คุมมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อนักโทษของตนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนฝ่ายนักโทษก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสิ้นหวังและยอมที่จะไม่โต้ตอบใดๆไม่ว่าจะโดนกระทำสักแค่ไหนก็ตาม เราจะมาสรุปผลวิจัยสั้นๆให้เข้าใจได้ง่ายๆกัน Read More

คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 2

การทดลองเริ่มขึ้นอย่างแท้จริงเมื่ออาสาสมัครที่รับบทเป็นนักโทษถูกบุกเข้าไปจับกุมตัวถึงบ้านในข้อหาปล้นอาวุธและลักทรัพย์ โดยการจับกุมครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากตำรวจจริง การจับกุม การถูกค้นตัว การสอบประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปผู้ต้องหา ขึ้นทะเบียนนักโทษ และส่งตัวเข้าเรือนจำทุกอย่างทำตามขั้นตอนของจริงที่ผู้ต้องหาทุกคนพึงเจอ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกอย่างสมจริงมากที่สุด การดำเนินการขั้นต้นนี้จึงไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแก่ตัวอาสาสมัครที่เป็นนักโทษแต่อย่างใด Read More

คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 1

The Stanford Prison Experiment หรือ SPE สามารถสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นการทดลองเพื่อศึกษาผลกระทบทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความประพฤติและการตอบสนองในการเป็นนักโทษและผู้คุม การทดลองนี้ได้ถูกจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Stanford ในระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม ปี 1971 (แทบจะเป็นช่วงที่เหตุการณ์ที่หมีลายกำลังเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกานั่นเอง) ผู้นำการทดลองคืออาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาชื่อ Philip Zimbardo เงินสนับสนุนในโครงการนี้มาจาก the US Office of Naval Research เพื่อประโยชน์ของ the US Navy กับ Marine Corps ในการสืบสวนความเป็นไปได้ของสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างทหารผู้คุมและนักโทษในอดีต Read More