คำว่า เลือนราง ประกอบด้วยคำว่า เลือน กับคำว่า ราง คำว่า เลือน หมายถึง มัว ๆ ไม่ชัดเจน เช่น ภาพที่เห็นค่อย ๆ เลือนไปจากสายตา. ความรู้ที่เรียนมา ถ้าไม่ได้นำไปใช้ก็จะค่อย ๆ เลือนไป. จิตรกรรมฝาผนังเลือนมากจนมองไม่ชัดว่าเป็นภาพอะไร. Read More
หนุมาน อ่านอย่างไรถูก
มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า คำว่า หนุมาน อ่านว่า [หะ-หฺนุ-มาน] ได้ไหม เพราะ ห เป็นอักษรนำ
ก่อนที่จะตอบคำถามนี้ได้จะต้องรู้ก่อนว่า อักษรนำ คืออะไร
อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวเรียงกัน ตัวหน้ามีอิทธิพลนำเสียงวรรณยุกต์ของตัวที่ตามมา ตัวหน้าจะเป็นอักษรสูงหรืออักษรกลางก็ได้ แต่ตัวที่ตามมาเป็นอักษรต่ำเดี่ยวเท่านั้น
มุกตลก หรือ มุขตลก
เนื่องจากมีผู้สับสนเรื่องการใช้คำ “มุกตลก” และ “มุขตลก” ว่าที่ถูกต้องควรสะกดด้วย “ก” หรือ “ข” นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอชี้แจงถึงเหตุผลที่เก็บคำ “มุกตลก” ที่สะกดด้วย “ก” โดยมีที่มาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้
– กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า
มโนสาเร่
อาจเคยได้ยินคำว่า “มโนสาเร่” กันมาบ้าง โดยเฉพาะคำว่า “คดีมโนสาเร่” บางท่านอาจสงสัยว่าคำนี้หมายถึงอะไร คดีประเภทใดจึงเรียกว่าคดีมโนสาเร่
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายว่า มโนสาเร่ หมายถึง เรื่องเบ็ดเตล็ดหยุมหยิม เช่น เรื่องมโนสาเร่ และเรียกคดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่า คดีมโนสาเร่
คว่ำบาตร
“คว่ำบาตร” คือการประกาศตัดสัมพันธ์ กับผู้ที่ ทำผิดทางศาสนา อย่างแรง คฤหัสถ์ ที่ถูกสงฆ์คว่ำบาตร
คือผู้ทำความผิดแปดอย่าง ได้แก่
10 คำไทยที่มักเขียนผิด
อันดับที่ 1 :: กะเพรา
คำนี้แหละ หนึ่งในคำยอดฮิตที่เราชอบผิดกันบ่อย เพราะเวลาสั่งข้าวยอดฮิตของคนไทยอย่าง “หมูกะเพรา” เรามักจะเห็นว่าขียนแบบนี้ “กระเพา” หรือ “กระเพรา” บ้างแหละ คำที่ถูกต้อง ต้องเป็น “กะเพรา” ครับ
ราชบัณฑิตยสถาน : คำว่า “กะเพรา” ที่ถูกต้องเขียนดังนี้ “กะเพรา” ในหนังสือ “การใช้ กระ และ กะ พร้อมความหมาย” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่า กะเพรา ไว้ดังนี้
สอ เสถบุตร – ดิกชันนารีจากในคุก
กว่า 4 ทศวรรษที่ดิกชันนารีเล่มแรกของประเทศไทยเกิดขึ้น จากการกลั่นกรองผ่านอัจฉริยภาพทางภาษา ของ สอ เสถบุตร ที่ต้องใช้ความพยายามและผ่านอุปสรรคมาอย่างยาวนาน เพื่อที่คำภีร์ด้านภาษาอังกฤษนี้จะได้ผ่านตานักเรียน นักศึกษามาหลายยุคหลายสมัย แต่จะมีกี่คนที่ทราบว่าดิกชันนารีที่ถูกยกให้เป็นเล่มแรกของสยามนั้น สอ เสถบุตร เขียนขึ้นระหว่างการถูกจองจำในฐานะนักโทษการเมือง
วาระ-ดิถี
ในช่วงระยะเวลาก่อนสิ้นปีเก่า พ.ศ. ๒๕๒๗ และขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๘ นี้ บัตร ส.ค.ส. ขายดีเป็นพิเศษ ข้าพเจ้าเองก็ได้ส่งบัตร ส.ค.ส. ไปยังท่านที่เคารพนับถือ และเพื่อนฝูงเป็นจำนวนมาก และก็ได้รับบัตร ส.ค.ส. เป็นจำนวนมากเช่นกัน ข้อความในบัตร ส.ค.ส. ซึ่งเป็นการอวยพรความสุขปีใหม่นั้น มีอยู่เป็นจำนวนมากที่ใช้ข้อความขึ้นต้นว่า “ในศุภวารดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๒๘ นี้”
การนำคำว่า “วาร” กับ “ดิถี” มาใช้คู่กันในกรณีเช่นนี้ หาเป็นการถูกต้องไม่ ทั้งนี้เพราะคำว่า “วาระ” กับ “ดิถี” ใช้ในความหมายที่ต่างกัน และที่ปรากฏทั่ว ๆ ไป คำว่า “วาร” มักประวิสรรชนีย์ด้วย ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ เพราะเป็นคำสมาสเช่นเดียวกับคำว่า “กาลเทศะ” ฉะนั้น