Tag: พุทธ

นั่งกระโหย่ง

283949182_3121553401432132_929787089258009372_n

“นั่งกระโหย่ง” การนั่งไหว้พระแบบสมัยโบราณ ที่ค่อย ๆ เลือนหายไปจากสังคมไทย

ท่านั่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณย้อนไปไกลถึงสมัยพุทธกาลเลย ในภาษาไทยเรียกการนั่งแบบนี้ว่า “นั่งกระโหย่ง” ในประเทศไทยสมัยก่อนใช้ “นั่งกระโหย่ง” มานานแล้วเป็นเรื่องปกติและสุภาพ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง ๕ นี่เอง

ในสังคมไทยบัญญัติรู้กันว่า “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” นั้นสุภาพเรียบร้อย พอเห็นพระหรือใครที่นั่งใน “ท่ากระโหย่ง” ประคองอัญชลี ก็มักจะติเตียน แทนที่จะสอบถามและหาความรู้ Read More

พระอัญญาโกณฑัญญะหายไปไหน?

ทุกคนต่างรู้จักพระอัญญาโกณฑัญญะ โดยทราบว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรก และเป็นพระรูปแรกที่บรรลุธรรมหลังจากได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตร และบทถัดมา แต่ว่าเราไม่ค่อยทราบกันเลยว่าท่านหายไปไหนหลังจากบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว
Read More

พระเตมีย์ใบ้ (เตมีย์ชาดก)

phratemee

พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้ากาสิกราช ครองเมืองชื่อว่า พาราณสี มีพระมเหสี พระนามว่า จันทรเทวี พระราชาไม่มีพระราชโอรสที่จะครองเมืองต่อจากพระองค์ จึงโปรดให้พระนางจันทรเทวีทำพิธีขอพระโอรสจากเทพเจ้า พระนางจันทรเทวีจึงทรงอธิษฐานว่า
“ข้าพเจ้าได้รักษาศีล บริสุทธิ์ตลอดมา ขอให้บุญกุศลนี้บันดาลให้ข้าพเจ้ามีโอรสเถิด”

Read More

พระพุทธรูปแห่งบามิยัน

3_1282044193.jpg_114

จังหวัดบามิยัน (Bamiyan Province) ในพื้นที่ฮาซาราจัต (Hazarajat) เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน ตั้งอยู่ในหุบเขาบามิยัน (Bamiyan Valley) ซึ่งมีแม่น้ำหล่อเลี้ยงประชาชน ด้านหนึ่งเป็นเขา อีกด้านหนึ่งเป็นหน้าผาหินสูงชันแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางประทับยืน สภาพแวดล้อมของหุบเขารายล้อมไปด้วยความแห้งแล้ง แต่ที่แห่งนี้อุดมไปด้วยทุ่งหญ้าและน้ำ

Read More

ฝนโบกขรพรรษ

47

ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระประยูรญาติ เมื่อพระองค์เสด็จถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ฝ่ายพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประธานเสด็จมาต้อนรับ ต่างก็ยังมีทิฐิมานะแรงกล้าไม่ยอมนอบน้อมนมัสการพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่าพระพุทธองค์มีวัยอ่อนกว่าตน พระพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุดังนั้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จลอยขึ้นไปจงกรมอยู่บนอากาศ ให้ธุลีละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรเหล่าพระประยูรญาติลำดับนั้น หมู่พระประยูรญาติต่างพากันคลายทิฐิมานะ ประคองอัญชลีนมัสการชื่นชมโสมนัสด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธองค์ ขณะนั้น “ฝนโบกขรพรรษ” ก็ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์

Read More

อภยปริตร(พระคาถายันทุน)

slide2

บทสวด  “อภัยปริตร”  พระพุทธมนต์ เป็นปริตรแห่งการให้อภัย  และอโหสิกรรม  ในเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในชีวิตและสังคม

เนื้อหาของบท อภยปริตร กล่าวถึง การตั้งจิตน้อมเอาอานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัย ช่วยบําบัดปัดเป่าลางร้ายอันเกิดจากสิ่งที่่ทําให้ไม่สบายใจ บาปสงเคราะห์ ฝันร้าย และสิ่งอันเป็นอัปมงคลทั้งหลาย ทั้งปวงให้พินาศไป

นอกจากมีความสั้น-ยาวพอดีๆ  คำสวดง่าย  บุรพาจารย์ท่านประพันธ์ขึ้นเพื่อน้อมเอาพระรัตนตรัยขจัดปัดเป่าลางร้ายต่างๆ  ให้สิ้นไป

 

Read More

ตาลปัตร

20120625164754mRjU

ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด) ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล, พัดใบลาน

ตาลปัตร ของเดิมเป็นพัดที่ทำจากใบตาลหรือใบลานสำหรับพัดตัวเองเวลาร้อนหรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระและคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นและใช้บังหน้าเวลาทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร และแม้ภายหลังจะใช้ผ้าสีต่างๆ หุ้มลวดหรือไม้ไผ่ซึ่งขึ้นรูปเป็นพัดก็อนุโลมเรียกว่าตาลปัตร

ในพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่สองได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองเมืองราชคฤห์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงนับถือ ชฎิลสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงไปโปรดชฎิลสามพี่น้องก่อน เมื่อทรงแสดงธรรมจนกระทั่งชฎิลสามพี่น้องละความเชื่อดังเดิมของตน ยอมเป็นสาวกของพระองค์แล้ว พระองค์ก็ทรงพาชฏิลทั้งสามพร้อมสาวกอีกพันรูป เสด็จไปประทับยัง ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองราชคฤห์

Read More

พระสุหร่าย

c0854c9a71fdd76d656e30a1fcb8f53c

การใช้น้ำประพรมเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่บุคคลหรือสถานที่นั้นเป็นคตินิยมสืบเนื่องกันมาช้านาน ในพระพุทธศาสนาตามพระบาลีก็ได้กล่าวถึงการเสกน้ำพระพุทธมนต์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประพรมเพื่อระงับโรคภัย ส่วนคติพราหมณ์ก็มีการเสกน้ำเทพมนตร์ด้วยมนตร์คาถาต่างๆ จากคัมภีร์พระเวท และไม่เพียงแต่ในแถบทวีปเอเชียเท่านั้นที่นิยมการประพรมน้ำ หากแต่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกและศาสนาอิสลาม ก็ยังปรากฏมีการประพรมน้ำในศาสนพิธีให้เห็นอยู่เนืองๆ

เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ในพุทธศาสนพิธีนิยมใช้มัดหญ้าคาหรือกิ่งมะยมจุ่มน้ำพระพุทธมนต์เพื่อประพรม อย่างไรก็ดีวิธีประพรมน้ำในพิธีแบ็พทิสต์ (Baptism) ของคริสต์ศาสนาในบางท้องที่รวมไปถึงการประพรมน้ำบนมือคู่บ่าวสาวในพิธีแต่งงานของชาวมุสลิมแถบมลายูนั้น มีอุปกรณ์พิเศษที่ต่างออกไปจากพุทธศาสนา อุปกรณ์นั้นมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Rosewater Sprinkler” หรือที่คนไทยเรียกว่า “สุหร่าย” หรือ “เต้าสุหร่าย” เป็นภาชนะคล้ายขวดคอสูง ที่ปลายปากขวดมีรูเล็กๆ สำหรับให้น้ำกระเซ็นออกมาเป็นฝอยเวลาสลัดหรือฟาด

Read More

กุททาลบัณฑิต

maxresdefault3

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุงพาราณสี.พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนปลูกผัก ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วได้นามว่า “กุททาลบัณฑิต”.

ท่านกุททาลบัณฑิตกระทำการฟื้นดินด้วยจอบ เพาะปลูกพืชพันธ์และผัก มีน้ำเต้า ฟักเขียว ฟักเหลืองเป็นต้น เก็บผักเหล่านั้นขาย เลี้ยงชีพด้วยการเบียดกรอ. แท้จริง ท่านกุททาลบัณฑิต นอกจากจอบเล่มเดียวเท่านั้น ทรัพย์สมบัติอย่างอื่นไม่มีเลย.

Read More

สดับปกรณ์

27.10.4

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จถึงที่มาของการ บังสุกุล และสดับปกรณ์ ว่ามาจากพุทธประวัติความว่า

“ขอทูลเปนเรื่องปกิรณกะต่อไปอีกเรื่อง 1 วันหม่อมฉันไปทำบุญที่หน้าพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิฯไปนึกขึ้นว่าการที่พระสงฆ์ชักผ้าสวด “อนิจจา วัฏสังขารา” นั้นเราเรียกเปน 2 อย่าง

ถ้าพระศพเจ้านายเรียกเปนราชาศัพท์ว่า “สดัปกรณ์” ถ้ามิใช่ศพเจ้าเรียกว่า “บังสกุล” ที่จริงผิดถนัดทีเดียว เพราะบังสกุลกับสดัปกรณ์เปนการต่างกัน Read More