Tag: ภาคอีสาน

ซอยจุ๊ ตำนานความดิบรสแซ่บจากอีสาน

ซอยจุ๊ เป็นอาหารไทยภาคอีสาน เป็นการนำเนื้อวัวและเครื่องในเนื้อวัวดิบมาหั่นเป็นชิ้น ๆ พอดีคำ โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีการปรุงให้สุกหรือปรุงรส และจะนิยมนำมากินกับน้ำจิ้มแจ่วขม พร้อมผักสดกรอบ ๆ Read More

มรณสักขีแห่งสองคอน

E8085335-28

100 กว่าปีก่อน บ้านสองคอนถูกบุกเบิกโดยข้าราชการยศท่านขุน พร้อมข้าทาสบริวารอีกหลายสิบชีวิต แต่อยู่ไปอยู่มา ผู้คนก็เริ่มเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจาก “ผีดุ” หรือ “เจ้าที่แรง” จึงมีผู้เชิญบาทหลวงฝรั่งที่นครพนม ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการ “ไม่กลัวผี” ให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา

หลวงพ่อท่านนั้นแก้ปัญหาด้วยการรักษาอาการป่วยแก่ชาวบ้าน แล้วจึงสอนให้พวกเขารับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์
นอกจากนี้ ยังมีคนอีกสองกลุ่มที่ขอมาอาศัยในบ้านสองคอน และยอมเข้ารีตเป็นคริสตชน นั่นก็คือ ชาวบ้านซึ่งถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านอื่น เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผีปอบ” และบรรดาผู้เคยตกเป็นทาส ที่ได้รับการไถ่ตัวจากบาทหลวง

Read More

หมาน้อย อาหารพื้นบ้านอีสาน

0019

“หมาน้อย” เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสาน แถบภาคเหนือตอนบนเรียก “แอ่งแต๊ะ” วัตถุดิบที่ใช้ คือ ใบหมาน้อย หรือใบแอ่งแต๊ะ มีคุณสมบัติการเปลี่ยนรูปจากของเหลวเป็นวุ้นแต่ไม่ถึงกับแข็งเหมือนวุ้นทั่วไป แต่จะเป็นวุ้นแบบเด้งดึ๋งดั๋งไปมาเมื่อใช้ช้อนตักลงไปที่หมาน้อย

Read More

บุญข้าวสาก

10665058_273379426194222_5077170128438261437_n

ในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบของทุกปีนั้นหลังจากการทำนาแล้วเสร็จแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานของประเทศไทยเรา ก็จะทำบุญตามประเพณีที่เคยสืบต่อกันมา โดยนำภัตตาหารคาว-หวานไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร

และเหตุที่เรียกว่า”บุญข้าวสาก” หรือ “สลาก” ก็เนื่องจากว่า ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนต่างก็นำสำรับอาหารคาว-หวาน ไปถวายพระสงฆ์นั่นเอง เพื่อให้ชาวบ้านถวายสำรับได้ทั่วถึง และไม่เจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด จึงมีการจับสลากโดยการเขียนชื่อผู้ที่จะถวายสำรับลงในบาตร แล้วให้พระภิกษุแต่ละรูปจับสลากชื่อของชาวบ้านที่ต้องการถวายสำรับ ถ้าพระภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อใคร ผู้นั้นก็นำสำรับกับข้าวของตนไปถวายพระภิกษุรูปนั้น
ซึ่งในเรื่องนี้ ก็มีตำนาน-นิทานเล่าสืบทอดกันมาว่า

Read More

วีรกรรมดอนแตง: “ถ้าไม่ได้ศพคืนก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป”

(ภาพจาก บางกอกรายสัปดาห์ ฉ.2584 หน้า 62)

เมื่อสายลมอันเยือกเย็นของเดือนพฤศจิกายนเวียนกลับมาพร้อมกับสายน้ำที่เอ่อล้นริมตลิ่ง  ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงความสนุกสนานในเทศกาลลอยกระทง  ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบสานกันมาแต่ครั้งโบราณกาล

แต่สำหรับเหล่าทหารเรือโดยเฉพาะลูกประดู่แห่งหน่วย นปข. หรือหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง

กระแสลมและสายน้ำแห่งเดือนพฤศจิกายนไม่ต่างอะไรกับสัญญาลักษณ์และเครื่องเตือนใจให้พวกเขารำลึกนึกถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างห้าวหาญของลูกนาวีไทยเมื่อครั้งอดีต ซึ่งยังคงเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันในนาม “วีรกรรมดอนแตง’

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2518  ไกลออกไปจากกองบัญชาการกองทัพเรือราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร หลายร้อยกิโลเมตร

ที่สถานีเรือตรวจการณ์ตามลำแม่น้ำโขง อำเภอศรีเชียงใหม่  เรือเอกเทิดศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ผู้บังคับหมู่เรือ นปข. จังหวัดนองคาย ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่า

จะมีการลักลอบขนอาวุธและยุทธปัจจัยข้ามมาจากฝั่งลาวบริเวณอำเภอถ้ำบ่อ จังหวัดหนองคาย  ในเขตบ้านกองนาง เพื่อนำไปสนับสนุนกองกำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่หลายแห่งในเขตภาคอีสานยังเป็น “พื้นที่สีแดง’ ที่ถูกคุกคามจากกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

Read More

บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 6

โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาราชสุภาวดี เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายตะวันออก

v-suranaree

ทางเจ้าพระยานครราชสีมา เมื่อหนีออกจากเมืองขุขันธ์นั้นได้ไปตั้งพักพล ครัวสยามอยู่ในกลางป่า ครั้นรู้ว่าบ้านเมืองของตนเสียแล้วแก่เจ้าอนุ คิดจักยกกองทัพกลับมาสู้รบกับลาวบ้างก็ไม่ได้ เพราะคนในกองทัพของตนรู้ว่า บ้านเมืองแตกเสีย แก่ลาวแล้ว ไพร่พลจากเมืองราชสีมาที่หนีเข้าป่า ก็ตามมาพบครอบครัวมากนัก เหลืออยู่แต่คนที่สนิทติดตามหาตน อยู่ประมาณ สองร้อยเศษ น้อยตัวนักจักคิดกู้บ้านกู้เมืองคืนจากลาวล้วนคิดแต่หนีเอาตัวรอดไปกับครัวตน

Read More