Tag: วรรณกรรม

มหากาพย์อีเลียด: บทเพลงแห่งวีรบุรุษและโศกนาฏกรรม

มหากาพย์อีเลียด (Iliad) ผลงานอันยิ่งใหญ่ของโฮเมอร์ กวีเอกแห่งกรีกโบราณ บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างกรีกและทรอย ผ่านตัวละครวีรบุรุษผู้กล้าหาญ เทพเจ้าผู้ทรงอำนาจ และหญิงงามผู้เป็นดั่งชนวนแห่งสงคราม Read More

หิรันตยักษ์ม้วนแผ่นดิน

หิรันตยักษ์ พญายักษ์แห่งยอดเขาจักรวาล ตั้งโรงพิธีบนยอดเขาวินันตกคีรี บูชาพระอิศวร แห่งเขาไกรลาส จนได้รับพรให้มีฤทธิ์เดชมหาศาลสามารถม้วนแผ่นดินได้ ด้วยความกำเริบคิดว่าตนเองมีฤทธิ์เดชไม่มีผู้ใดทัดเทียม แม้แต่ฤาษี นักพรต เทวดา ต่างก็พากันเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์ ว่าแล้วหิรันตยักษ์ก้แสดงฤทธิ์เดชให้ทั้งสามโลกได้รับรู้ด้วยการ จับผืนแผ่นดินม้วนแล้วหนีบเข้ารักแร้เหาะไปยังเมืองบาดาล เกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โตเดือดร้อนไปทั่ว จนเรื่องถึงหูพระอิศวรผู้มอบพรวิเศษให้  พระอิศวรจึงมีบัญชาการ มอบหมายให้ พระนารายณ์ไปปราบหิรันตยักษ์ Read More

ตรีบูรัม

เมืองโสฬสซึ่งเป็นเมืองอสูร ปกครองโดย “ตรีบูรัม” (บางทีเรียก ตรีปุรัม) เป็นราชาอสูรผู้เกรียงไกร ใครๆ ก็เกรงขามในฤทธิ์เดช   ครั้งหนึ่ง ตรีบูรัมต้องการที่จะมีฤทธิ์เดชที่เหนือกว่าเทพเทวาทั้งปวง แม้แต่พระนารายณ์ก็ไม่อาจเอาชนะได้ จึงจัดทำพิธีกองกูณฑ์อัคคี ใต้ต้นรังใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำสารภู ใช้เวลานานถึงเจ็ดปีเจ็ดวัน จึงสำเร็จพิธี Read More

สาวิตรี ผู้คืนชีพสามีจากยมราช

สาวิตรี เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเรื่องของนางสาวิตรีเป็นอุปขยาน (เรื่องแทรก)ในมหากาพย์มหาภารตะ ถูกหยิบยกนำมากล่าวถึงเมื่อครั้งที่นางเทราปตีโดนฉุดไป

Read More

ศกุนตลา

ศกุนตลา” …เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างศกุนตลาธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะ เป็นผู้มีความงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง กับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม แต่ความรักของคนทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส

 

Read More

มุกตลก หรือ มุขตลก

เนื่องจากมีผู้สับสนเรื่องการใช้คำ “มุกตลก” และ “มุขตลก” ว่าที่ถูกต้องควรสะกดด้วย “ก” หรือ “ข” นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอชี้แจงถึงเหตุผลที่เก็บคำ “มุกตลก” ที่สะกดด้วย “ก” โดยมีที่มาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้

– กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า

Read More

นิราศเจ้าฟ้าอภัย

เจ้าฟ้าอภัย ( โอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ) เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ราชสมบัติ แต่ถูกเจ้าฟ้าพร พระเจ้าอา ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสำเร็จโทษ พร้อมกับเจ้าฟ้าบรเมศร พระอนุชา เมื่อ พ.ศ. 2175 โคลงนิราศนี้พระยาตรังคภูมิบาล ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์รวบรวมไว้ในหนังสือชื่อ โคลงกวีโบราณ แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ มีเหลืออยู่เพียง 25 บท กล่าวถึงการจากกรุงศรีอยุธยาไปลพบุรี ชมลพบุรี แล้วเดินทางไปทุ่งสมอคอน และวังวารี มีการรำพันถึงหญิงคนรักตลอด จบลงตอนบวงสรวงเทพารักษ์

Read More

บัวคลี่ กำเนิดกุมารทอง

RW2043x6

 

นางบัวคลี่ เป็นตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นลูกสาวของหมื่นหาญกับนางสีจันทร์ นางมีรูปโฉมงดงามราวกับสาวชาววัง เจ้าเมืองกรมการแห่งกาญจนบุรีรู้กิตติศัพท์ความงามของนางก็ส่งคนมาสู่ขอ แต่พ่อของนางไม่ยอมยกให้ Read More

คำสาปแช่งที่ปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ

black-book

ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือ ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า เป็นวรรณคดีเก่าแก่มากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
มีความสำคัญทั้งด้านวรรณคดี นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมของไทย เป็นวรรณคดีที่มีความยาวเพียงไม่กี่หน้า แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เป็นโองการสำหรับใช้อ่านหรือสอนในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา กระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพิธีที่ประกอบขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีของ ข้าราชการและขุนนางในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

เชื่อกันว่าลิลิตโองการแช่งน้ำแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นคือรัชสมัยของพระรามาธิบดี ที่ ๑
เนื่องจากมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ผู้บ่ดีบ่ซื่อใครใจคอใจคด ขบถเจ้าผู้ผ่านเกล้าอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจ มีบุญ”

Read More

อุณรุทร้อยเรื่อง

262321__18042012014838

อุณรุทร้อยเรื่อง เป็นวรรณคดีขนาดสั้น แต่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมบทกลอน ประพันธ์โดย คุณสุวรรณ กวีหญิงผู้มีชื่อเสียงมาก ท่านหนึ่งในแวดวงวรรณคดีของไทย

อุณรุทร้อยเรื่องเป็นกลอนบทละครที่แต่งด้วยอารมณ์ขัน ไม่ได้ตั้งใจที่จะใช้แต่งละครจริงๆ กวีได้นำตัวละครร้อยกว่าชื่อจากวรรณคดีเรื่องต่างๆ มาร้อยโยงเป็นเรื่องเดียวกัน โดยใช้สำนวนภาษาที่ไพเราะ เป็นที่รู้จักและท่องจำกันอย่างแพร่หลายในยุคที่แต่งนั้น ทว่าเวลาที่แต่งเรื่องไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เชื่อกันว่าน่าจะแต่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ช่วงต้นรัชกาล

Read More