ซอยจุ๊ เป็นอาหารไทยภาคอีสาน เป็นการนำเนื้อวัวและเครื่องในเนื้อวัวดิบมาหั่นเป็นชิ้น ๆ พอดีคำ โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีการปรุงให้สุกหรือปรุงรส และจะนิยมนำมากินกับน้ำจิ้มแจ่วขม พร้อมผักสดกรอบ ๆ Read More
พระรามลงสรง อาหารอิสลามที่คนจีนทำ คนไทยกิน
พระรามลงสรง หรือชื่อในภาษาแต้จิ๋วว่า ซาแต๊ปึ่ง เป็นอาหารจีนชนิดหนึ่งที่ ประกอบด้วยข้าวสวย ผักบุ้งลวก และเนื้อหมู ราดด้วยน้ำราดข้นคล้ายน้ำสะเต๊ะ เป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน ปัจจุบันหารับประทานได้ยากในไทย
โทษ 21 สถาน
ย้อนไปในอดีต มี โทษประหารชีวตแบบโบราณ 21 วิธี ตั้งแต่ ต่อยกระบาน(ศรีษะ) จนถึง ตีด้วยหวายหนาม จากหนังสือกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหนังสือกฎหมายที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้รวบรวมกฎหมายโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรีมาประมวลไว้ด้วยกัน ได้กล่าวถึงการประหารชีวิต และเครื่องมือต่างๆ เช่น จากพระไอยการลักษรโจร กล่าวถึงการลักพระพุทธรูปเอาไปล้างหรือเผาสำรอกเอาทอง หรือเอาพระบท (พระคัมภีร์) ไปสำรอกแช่น้ำ หรือเอาไปเผา โทษประหารคือ เอาโจรนั้นใส่เตาเพลิงสูบเผาไฟ ถ้าขุดทำลายพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ จับได้หลายครั้งหลายหน โทษประหารก็คือเอาโจรนั้นไปตระเวนบก 3 วัน ตระเวนเรือ 3 วัน แล้วตัดคอผ่าอกเสีย ถ้าทำให้เกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง โทษคือเอาไฟคลอกให้ตาย Read More
นั่งกระโหย่ง
“นั่งกระโหย่ง” การนั่งไหว้พระแบบสมัยโบราณ ที่ค่อย ๆ เลือนหายไปจากสังคมไทย
ท่านั่งนี้ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณย้อนไปไกลถึงสมัยพุทธกาลเลย ในภาษาไทยเรียกการนั่งแบบนี้ว่า “นั่งกระโหย่ง” ในประเทศไทยสมัยก่อนใช้ “นั่งกระโหย่ง” มานานแล้วเป็นเรื่องปกติและสุภาพ แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็น “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึง ๕ นี่เอง
ในสังคมไทยบัญญัติรู้กันว่า “ท่าเทพบุตร” และ “ท่าเทพธิดา” นั้นสุภาพเรียบร้อย พอเห็นพระหรือใครที่นั่งใน “ท่ากระโหย่ง” ประคองอัญชลี ก็มักจะติเตียน แทนที่จะสอบถามและหาความรู้ Read More
สาวิตรี ผู้คืนชีพสามีจากยมราช
สาวิตรี เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเรื่องของนางสาวิตรีเป็นอุปขยาน (เรื่องแทรก)ในมหากาพย์มหาภารตะ ถูกหยิบยกนำมากล่าวถึงเมื่อครั้งที่นางเทราปตีโดนฉุดไป
อรหัน ไม่ใช่พระ
อรหัน เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี
อรหัน มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “จิงโจ้” มักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น Read More
มุกตลก หรือ มุขตลก
เนื่องจากมีผู้สับสนเรื่องการใช้คำ “มุกตลก” และ “มุขตลก” ว่าที่ถูกต้องควรสะกดด้วย “ก” หรือ “ข” นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอชี้แจงถึงเหตุผลที่เก็บคำ “มุกตลก” ที่สะกดด้วย “ก” โดยมีที่มาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้
– กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลีมาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร หรือเรียกรวมกันว่า “เบญจราชกกุธภัณฑ์”
2508 ปิดตลาดท่าเรือปล้น
พ.ศ. ๒๕๐๘
ตลาดท่าเรือ ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเป็นชุมชนที่ไม่ใหญ่โตนัก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มีเพียงห้องแถวไม้ชั้นเดียวตั้งเรียงรายอยู่สองฟากถนนที่ตัดมุ่งตรงไปยังสถานีรถไฟ แต่การค้าของตลาดท่าเรือก็คึกคักพอสมควร มีสาขาธนาคารเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ มีร้านทองถึง ๕ ร้าน แต่ละร้านก็แขวนทองโชว์เต็มตู้ประชันกัน โดยไม่คิดว่าจะมีโจรที่ไหนกล้ามาปล้น เพราะอยู่กลางตลาด ห่างจากสถานีตำรวจและที่ว่าการอำเภอประมาณ ๑๐๐ เมตรเท่านั้น
แต่แล้วในเย็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๘ ราว ๑๖.๒๐ ก็มีรถเมล์สองแถวสีเทาคันหนึ่งวิ่งเข้ามาอย่างช้าๆ จอดที่หน้าโรงแรมตั้งซาฮะ ภายในรถมีชายฉกรรจ์สิบกว่าคน อาวุธครบมือ แต่งกายคล้ายเครื่องแบบครึ่งท่อน นุ่งกางเกงสีกากี ผู้คนในตลาดเห็นก็นึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับผู้ร้ายมา
ทันทีที่รถจอด ชายคนหนึ่งถือปืนคาร์ไบน์และยังมีถุงผ้าหูรูดห้อยติดข้อมือ กระโดดลงมาเป็นคนแรก แล้วยิงปืนขึ้นฟ้า ๑ นัด ประกาศก้องว่า “อ้ายเสือบุก!”
พระสุหร่าย
การใช้น้ำประพรมเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่บุคคลหรือสถานที่นั้นเป็นคตินิยมสืบเนื่องกันมาช้านาน ในพระพุทธศาสนาตามพระบาลีก็ได้กล่าวถึงการเสกน้ำพระพุทธมนต์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประพรมเพื่อระงับโรคภัย ส่วนคติพราหมณ์ก็มีการเสกน้ำเทพมนตร์ด้วยมนตร์คาถาต่างๆ จากคัมภีร์พระเวท และไม่เพียงแต่ในแถบทวีปเอเชียเท่านั้นที่นิยมการประพรมน้ำ หากแต่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกและศาสนาอิสลาม ก็ยังปรากฏมีการประพรมน้ำในศาสนพิธีให้เห็นอยู่เนืองๆ
เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ในพุทธศาสนพิธีนิยมใช้มัดหญ้าคาหรือกิ่งมะยมจุ่มน้ำพระพุทธมนต์เพื่อประพรม อย่างไรก็ดีวิธีประพรมน้ำในพิธีแบ็พทิสต์ (Baptism) ของคริสต์ศาสนาในบางท้องที่รวมไปถึงการประพรมน้ำบนมือคู่บ่าวสาวในพิธีแต่งงานของชาวมุสลิมแถบมลายูนั้น มีอุปกรณ์พิเศษที่ต่างออกไปจากพุทธศาสนา อุปกรณ์นั้นมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Rosewater Sprinkler” หรือที่คนไทยเรียกว่า “สุหร่าย” หรือ “เต้าสุหร่าย” เป็นภาชนะคล้ายขวดคอสูง ที่ปลายปากขวดมีรูเล็กๆ สำหรับให้น้ำกระเซ็นออกมาเป็นฝอยเวลาสลัดหรือฟาด