Tag: วิทยาศาสตร์

Dunning Kruger Effect จิตวิทยาของความอวดฉลาด

ทำไมคนไม่เก่ง ถึงคิดว่าตัวเองเก่ง

Dunning-Kruger Effect คืออะไร

ดันนิ่ง-ครูเกอร์ เอฟเฟกต์ (Dunning-Kruger Effect) คือ ทฤษฎีที่อธิบายว่า เมื่อใครสักคนเริ่มเรียนรู้เรื่องหนึ่งไปได้ระดับนึงแล้ว ความมั่นใจในองค์ความรู้ของตัวเองจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน และช่วงเวลานี้เองที่ทำให้ใครหลายคนเผลอเชื่อไปว่า ตนเองเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นแล้ว ทั้งที่ยังไม่ใช่ Read More

ทำไมการเคาะขวดเบียร์ถึงทำให้เป็นวุ้นได้

การที่เบียร์เป็นแบบนั้นได้ เพราะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Supercooling

มันเกิดจากการที่น้ำบริสุทธิ์ หรือ สารละลาย (เครื่องดื่ม , Beer) ที่ไม่มี Colloid เจือปน เมื่อนำไปแช่เย็นจัดแล้วก็จะ ไม่จับตัวเป็นสถานะของแข็ง แม้ว่าอุณหภูมิจะต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำไปแล้ว เป็นเพราะว่าอัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิไปสู่การติดลบนั้นเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้น้ำ หรือ สารละลายนั้นจะไม่เปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลไปเป็นแบบ Amorphous solid (ของแข็งอสัณฐาน) Read More

Enigma เครื่องมือลับแห่งสงครามโลก

ท่ามกลางความโกลาหลของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธลับที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งไม่ได้อยู่ในรูปของปืนใหญ่หรือรถถัง แต่เป็นกล่องโลหะขนาดเล็กที่รู้จักกันในชื่อ “เครื่องเข้ารหัสอีนิกมา” Enigma นั้นซับซ้อนมาก ประกอบด้วยโรเตอร์ 3 ล้อที่หมุนได้ แต่ละล้อมีตัวอักษร 26 ตัว การหมุนของโรเตอร์แต่ละตัวจะเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมการเข้ารหัส ทำให้ยากต่อการถอดรหัส Read More

กลิ่นคนแก่

Senior-Man-Thinking

กลิ่นคนแก่ เป็นกลิ่นอ่อนๆ ติดตัวผู้ใหญ่ที่ใครที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุก็คงเคยได้กันมาบ้าง จะว่าเหม็นก็ไม่ใช่จะว่าหอมก็ไม่เชิง วันนี้เรามาเจาะลึกถึงสาเหตุที่มาของ กลิ่นคนแก่ พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเมื่อถึงวันที่กลิ่นนั้นกลายเป็นของเรา

รู้จักกลิ่นคนแก่

กลิ่นคนแก่ หรือ กลิ่นผู้สูงวัย (Aging odor) ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสกปรกแต่อย่างใด แต่เป็นกลิ่นตัวพิเศษของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยกลิ่นตัวเกิดจากต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ ผลิตไขมันและเหงื่อออกมาทำปฏิกริยากับแบคทีเรียจนเกิดกลิ่นบนร่างกาย ซึ่งการทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียก็จะส่งกลิ่นแต่ละแบบต่างกันออกไป Read More

ประเภทของพายุ

นักอุตุนิยมวิทยาเรียกชื่อพายุตามการกำเนิดของมัน แม้ว่าพายุโดยทั่วไปจะหมายถึง อากาศที่ไม่ดี ลมแรงจัด แต่อันที่จริงมันยังหมายรวมถึงลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง มันเริ่มต้นมาจากอากาศ 2 บริเวณที่อยู่ติดกันซึ่งมีความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างมาก ซึ่งความแตกต่างนี้จะทำให้อากาศบริเวณหนึ่งซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า ลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนอย่างรวดเร็ว และทำให้อากาศในอีกบริเวณซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าไหลเข้ามาแทนที่ในแนวราบ ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดการหมุนของอากาศจนกลายเป็นพายุ Read More

เอลนีโญ (El Nino)

5750AE2F7A9B47FCAECF4F9436F49D11

เอลนีโญ คือ ปรากฏการณ์สภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลันที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมาก ปรากฏการณ์เอลนีโญคืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรต่อโลกและประเทศไทยบ้าง

เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำและกระแสลม ซึ่งพัดอยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตรและละติจูด 30 องศาใต้ ในบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเราเรียกกระแสลมนี้ว่า ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้

Read More

ตึกสูงเท่าไร

โจทย์ข้อหนึ่งในข้อสอบวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนมีดังนึ้
“จงอธิบายว่าท่านจะใช้บารอมิเตอร์วัดความสูงของตึกระฟ้าได้อย่างไร”
(อธิบายเพิ่มเติม บาร์รอมิเตอร์นี่ก็คือเครื่องมือวัดความกดอากาศ อากาศนั้นมันมีน้ำหนักหรือมีแรงกดนั่น และแรงกดของอากาศนั้นเมื่ออยู่ในระดับความสูงที่เปลี่ยนไป ความกดอากาศก็เปลี่ยนไปด้วย)

นักศึกษาคนหนึ่งเขียนคำตอบลงไปว่า “เอาเชือกยาวๆ ผูกกับบารอมิเตอร์แล้วหย่อนลงมาจากยอดตึก แล้วก็เอาความยาวเชือกบวกความสูงบารอมิเตอร์ก็จะได้ความสูงของตึก”

Read More

คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 3 (จบ)

การทดลองถูกประกาศให้ยุติในวันที่ 20 สิงหาคม 1971 เพียง 6 วันหลังเริ่มการทดลอง สาเหตุหลักคือพฤติกรรมอันน่าตกใจของแต่ละฝ่าย เช่นผู้คุมมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อนักโทษของตนมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนฝ่ายนักโทษก็แสดงให้เห็นว่าพวกเขาสิ้นหวังและยอมที่จะไม่โต้ตอบใดๆไม่ว่าจะโดนกระทำสักแค่ไหนก็ตาม เราจะมาสรุปผลวิจัยสั้นๆให้เข้าใจได้ง่ายๆกัน Read More

คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 2

การทดลองเริ่มขึ้นอย่างแท้จริงเมื่ออาสาสมัครที่รับบทเป็นนักโทษถูกบุกเข้าไปจับกุมตัวถึงบ้านในข้อหาปล้นอาวุธและลักทรัพย์ โดยการจับกุมครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากตำรวจจริง การจับกุม การถูกค้นตัว การสอบประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปผู้ต้องหา ขึ้นทะเบียนนักโทษ และส่งตัวเข้าเรือนจำทุกอย่างทำตามขั้นตอนของจริงที่ผู้ต้องหาทุกคนพึงเจอ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกอย่างสมจริงมากที่สุด การดำเนินการขั้นต้นนี้จึงไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแก่ตัวอาสาสมัครที่เป็นนักโทษแต่อย่างใด Read More

คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 1

The Stanford Prison Experiment หรือ SPE สามารถสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นการทดลองเพื่อศึกษาผลกระทบทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความประพฤติและการตอบสนองในการเป็นนักโทษและผู้คุม การทดลองนี้ได้ถูกจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Stanford ในระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม ปี 1971 (แทบจะเป็นช่วงที่เหตุการณ์ที่หมีลายกำลังเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกานั่นเอง) ผู้นำการทดลองคืออาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาชื่อ Philip Zimbardo เงินสนับสนุนในโครงการนี้มาจาก the US Office of Naval Research เพื่อประโยชน์ของ the US Navy กับ Marine Corps ในการสืบสวนความเป็นไปได้ของสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างทหารผู้คุมและนักโทษในอดีต Read More