Tag: ประเพณี

เหล้านารีแดง

13606969_1325068970856214_4307716887202355312_n

เหล้านารีแดง(女儿红-หนี่ว์เอ๋อร์หง)เป็นเหล้าฮวาเตียวที่ขึ้นชื่อของอำเภอเส้าซิง มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เหล้าบุตรสาว” (女儿酒) ประกอบด้วย 6 รสชาติ ได้แก่ หวาน ฝาด เปรี้ยว ขม ร้อน และ กลมกล่อม

ในบันทึกตำราสมุนไพรแดนใต้ 《南方草木状》 สมัยราชวงศ์จิ้นได้ระบุไว้ว่า ในอดีตเมื่อคุณหนูสกุลสูงศักดิ์จะออกเรือน จะมีการนำเหล้านารีแดงเตรียมไว้ให้เจ้าสาวนำติดตัวไปด้วย Read More

ขนมจู้จุน…ขนมโบราณของภาคใต้

ขนมจู้จุน ขนมพื้นเมืองโบราณของคนปักษ์ใต้ที่เริ่มจะเลือนราง ต้องกินกันสดๆ ร้อนๆ ถึงจะอร่อย กรอบนอกนุ่มใน ปัจจุบันไม่ค่อยจะมีคนทำขายกัน ขนมจู้จุน เป็นการดัดแปลงขนมจากการทำขนมในเทศกาลเดือนสิบ ชื่อขนมรังนกมาเป็นขนมจู้จุน ส่วนมากรับประทานกันในพื้นบ้าน และสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ การทำขนมจู้จุน นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำขนมไทยพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับชื่อขนมชนิดนี้จะเรียก จู้จุน จูจุ่น จูจุ๋น หรือภาคกลางก็จะเรียก ขนมฝักบัว

Read More

เทศกาลกินผักมงคล 7 ชนิด (七樣菜)


ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะมีเทศกาลอื่นๆ รวมอยู่ด้วยมากมายหลายเทศกาล โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนวันตรุษจีนยาวไปจนถึงวันเทศกาลง้วงเซียว (元宵節) หรือที่ชาวไทยเรารู้จักกันว่าวันเทศกาลชาวนาหรือเทศกาลโคมไฟ อันจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 1 (正月大 十五) ตามปฏิทินจันทรคติจีนและถือว่าเป็นวันสิ้นสุดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ของ ชาวจีนด้วย

 

Read More

เครื่องราชกกุธภัณฑ์

กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลีมาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร หรือเรียกรวมกันว่า “เบญจราชกกุธภัณฑ์”

Read More

พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์

570300000119

พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ มีความสำคัญมากในอดีต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ซึ่งตามความเชื่อของพระราชพิธีดังกล่าว ถือว่า เป็นการสวดไล่ผี เพราะในสมัยก่อนคนไทยมีความเชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านของปีเก่าสู่ปีใหม่ไทยหรือสงกรานต์ จะต้องขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านจากเมือง เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้คนและบ้านเมืองด้วย

Read More

พิธีโล้ชิงช้า

พระราชพิธีตรียัมปวาย หรือ ตรียัมพวาย หรือที่ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “พิธีโล้ชิงช้า” เป็นพิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเศรษฐกิจของไทยไม่ค่อยมั่นคง เงินในท้องพระคลังร่อยหรอลงเต็มที และการโล้ชิงช้าก็ต้องใช้เงินมาก ประกอบกับช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่สงบดีนัก ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย

Read More

พระสุหร่าย

c0854c9a71fdd76d656e30a1fcb8f53c

การใช้น้ำประพรมเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่บุคคลหรือสถานที่นั้นเป็นคตินิยมสืบเนื่องกันมาช้านาน ในพระพุทธศาสนาตามพระบาลีก็ได้กล่าวถึงการเสกน้ำพระพุทธมนต์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประพรมเพื่อระงับโรคภัย ส่วนคติพราหมณ์ก็มีการเสกน้ำเทพมนตร์ด้วยมนตร์คาถาต่างๆ จากคัมภีร์พระเวท และไม่เพียงแต่ในแถบทวีปเอเชียเท่านั้นที่นิยมการประพรมน้ำ หากแต่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกและศาสนาอิสลาม ก็ยังปรากฏมีการประพรมน้ำในศาสนพิธีให้เห็นอยู่เนืองๆ

เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ในพุทธศาสนพิธีนิยมใช้มัดหญ้าคาหรือกิ่งมะยมจุ่มน้ำพระพุทธมนต์เพื่อประพรม อย่างไรก็ดีวิธีประพรมน้ำในพิธีแบ็พทิสต์ (Baptism) ของคริสต์ศาสนาในบางท้องที่รวมไปถึงการประพรมน้ำบนมือคู่บ่าวสาวในพิธีแต่งงานของชาวมุสลิมแถบมลายูนั้น มีอุปกรณ์พิเศษที่ต่างออกไปจากพุทธศาสนา อุปกรณ์นั้นมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Rosewater Sprinkler” หรือที่คนไทยเรียกว่า “สุหร่าย” หรือ “เต้าสุหร่าย” เป็นภาชนะคล้ายขวดคอสูง ที่ปลายปากขวดมีรูเล็กๆ สำหรับให้น้ำกระเซ็นออกมาเป็นฝอยเวลาสลัดหรือฟาด

Read More

พระแม่ทุรคา

durga_agranimandir_co_in

พระแม่ทุรคา เป็นอีกปางหนึ่งของ พระแม่อุมาเทวี ที่อวตารลงมาเพื่อมีวัตถุประสงค์ในการปราบอสูรที่ชื่อว่า มหิษาสูร ปางอวตารนี้นับว่าเป็นปางที่ยิ่งใหญ่และสำคัญไม่น้อยไปกว่าปาง พระแม่กาลี โดยพระแม่ทุรคามีความแข็งแกร่ง เหี้ยมหาญ และมีพละกำลังมาก แต่ไม่ดุร้ายเท่ากับปางพระแม่กาลี พระแม่ทุรคา คือปางที่มีพละกำลังที่สูงที่สุดในบรรดาเทพสตรีทั้งปวง พระแม่ทุรคานั้น มักปรากฎเป็นสตรีมี 8 พระกรไปจนถึง 18 พระกร ทรงศาสตราวุธอันทรงอานุภาพในการทำลายล้างมากมายนับไม่ถ้วน เช่น ดาบ ตรีศูล หอก วัชระ คฑา ธนู ฯลฯ ทรงสิงโตเป็นพาหนะประจำพระองค์

Read More

เฉลว, ตาแหลว, กะหลิว

dscf4494

เฉลว หรือ ฉลิว ภาษาถิ่นพายัพว่า ตาเหลว หรือ ตาแหลว และภาษาถิ่นใต้ว่า กะหลิว เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่าง ๆ ดังนี้ Read More

ข้าวตอก

IMG_3309

ข้าวตอก ได้จากข้าวเปลือกที่คั่วให้แตกออกเป็นดอกขาว ใช้ข้าวเปลือกใหม่ๆ ที่ผึ่งแห้งสนิทแล้วมาคั่วไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกัน เมื่อร้อนถึงขีดหนึ่งเนื้อในจะขยายบานออก ดันเปลือกให้ขาดจากกัน เมื่อฝัดเอาเปลือกทิ้งไป จะได้ข้าวตอกไว้ใช้ในการทำพิธีต่างๆ หรือปรุงเป็นอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวตอกน้ำกะทิ กระยาสารท ข้าวตอกตั้ง เป็นต้น ข้าวตอกเป็นข้าวที่ขยายเม็ดออกบาน มีสีขาว เก็บไว้ได้นานไม่เสีย

Read More