Tag: ประวัติศาสตร์

รถเมล์ขาวนายเลิศ ตำนานรถโดยสารเมืองกรุง

1379600950

รถเมล์ขาวของนายเลิศ นับเป็นรถเมล์สายแรกที่ให้บริการในกรุงเทพฯ เริ่มทำการเดินรถมาตั้งแต่ปี 2451 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ที่เรียกว่า รถเมล์ขาว ก็เพราะคนสมัยก่อนจะเรียกสายรถเมล์ตามสีของรถ ซึ่งแต่ละสีก็เป็นของแต่ละบริษัทมีทั้ง ขาว แดง เขียว เหลือง

เส้นทางแรกที่รถเมล์ขาวนายเลิศวิ่งคือ
‘ยศเส – ประตูน้ำ (ปทุมวัน)’ จากนั้นก็มีการขยายเส้นทางเรื่อยมา เช่น
สายสีลม – ประตูน้ำ , บางลำพู – ประตูน้ำ น่าสังเกตว่าเส้นทางวิ่งรถของ
รถเมล์นายเลิศ จะต้องผ่านประตูน้ำทุกสายเพราะสมัยนั้น ประตูน้ำ หรือ ปทุมวัน คือศูนย์กลางย่านชุมชน และการคมนาคมมาตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งมีตลาดขายสินค้าขนาดใหญ่ซึ่งก็คงเหมือนกับ อนุสาวรีย์ชัยฯ ในสมัยนี้

Read More

บุเรงนอง จูเลียส ซีซาร์ แห่งอุษาคเนย์

1897990_440708949425285_6119403881462640775_n

พระเจ้าบุเรงนองกะยอดินนรธา (บาเยงนอง ; บะยิ่นเหน่าว์จ่อถิ่นหน่อยะถ่า; 16 มกราคม 2059 – 10 พฤศจิกายน 2124) เป็นพระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู เสวยราชย์ตั้งแต่ปี 2094 ถึงปี 2124 ทั้งเป็นพระมหากษัตริย์ไทย (อาณาจักรในยุคก่อน ตอนที่ยังไม่ได้รวมเป็นประเทศไทยเหมือนในปัจจุบัน) ล้านนา ล้านช้าง เงี้ยว และมณีปุระ

พระองค์ถือเป็นหนึ่งในสามมหาราชพม่าพร้อมด้วยพระเจ้าอโนรธามังช่อ แห่งราชวงศ์พุกาม และพระเจ้าอลองพญา แห่งราชวงศ์คองบอง สถานที่หลายแห่งในพม่าปัจจุบันตั้งชื่อตามพระนามพระองค์ ยังทรงเป็นที่รู้จักในประเทศไทยว่า “พระเจ้าชนะสิบทิศ” จากนวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ ของยาขอบ

 

Read More

ป. พิบูลสงคราม “จอมพลตราไก่” ตอน 5 (จบ)

por5

เด็กๆ ให้ความสนใจรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้ง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายในพิพิธภัณฑ์มาดามทุสโซ ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ กรุงเทพฯ ปัจจุบันความทรงจำเกี่ยวกับ จอมพล ป.ยังอยู่แต่ส่วนมากจะมีมิติของ “ผู้นำที่เด็ดขาด” เป็นจุดเน้นมากกว่าเรื่องอื่น

จอมพล ป. ยังไม่ตาย

๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๗–หลังวิกฤตการเมืองยืดเยื้อยาวนานกว่า ๖ เดือน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ก็ประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ

ผมมาเยี่ยม “พระเจดีย์ศรีมหาธาตุ-วัดประชาธิปไตย” (วัดพระศรีมหาธาตุ) กรุงเทพฯ

ด้านในเจดีย์ ช่องเก็บอัฐิบุคคลสำคัญของ “คณะราษฎร” เรียงรายบนกำแพงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเจดีย์ชั้นนอกที่ครอบเจดีย์องค์เล็กซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้

ภาพจอมพล ป. ถูกใครสักคนวางไว้ที่ประตูทางเข้าฝั่งทิศตะวันออกพร้อมประวัติย่อ กลางกำแพงฝั่งนั้น แผ่นหินอ่อนปิดที่บรรจุอัฐิจารึกชื่อ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม…ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม”

Read More

ป. พิบูลสงคราม “จอมพลตราไก่” ตอน 4

 

por4

จอมพล ป.เดินทางเยือนกองถ่ายทำภาพยนตร์ของฮอลลีวูด สหรัฐอเมริกา ระหว่างการเดินทางเยือน ๑๗ ประเทศรอบโลก

รัฐประหาร ๒๕๐๐

งานใหญ่ชิ้นสุดท้ายของจอมพล ป. คือโครงการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ (๒๕๐๐)

มีการแบ่งงานเป็นสามส่วน ส่วนแรก สร้าง “พุทธมณฑล” ในพื้นที่ ๒,๐๐๐ ไร่ให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโดยสร้างพระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่เป็นประธานสถานที่  สอง สร้างถนนและสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่ม เช่น สะพานกรุงธน (ซังฮี้) นนทบุรี สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ชื่อ “พิบูลฯ”  สาม ฉลองพระนครที่ท้องสนามหลวง

อย่างไรก็ตามโครงการนี้คล้ายโครงการ “พุทธบุรีมณฑล” ที่สระบุรีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งทำเพื่อกีดกันญี่ปุ่นไม่ให้ใช้พื้นที่จังหวัดสระบุรีซึ่งจะขัดขวางแผนยุทธการที่ ๗ โดยเป็นการ “เอาพระเข้าช่วย”

Read More

ป. พิบูลสงคราม “จอมพลตราไก่” ตอน 3

por3

เสื้อเปื้อนคราบเลือดและมีรอยกระสุนของ พันเอก หลวงพิบูลสงครามทั้งชั้นในและนอกในวันที่ถูกลอบยิงที่ท้องสนามหลวง ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาที่มุม “จอมพล ป.พิบูลสงคราม” พิพิธภัณฑ์ อาคาร รร.จปร. ๑๐๐ ปี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

“มือปืน” และ “ยาพิษ”

หลังปราบกบฏ หลวงพิบูลฯ ได้รับยศเป็นพันเอก ได้ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองผู้บัญชาการทหารบกในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา  ช่วงนี้เขาเผชิญการลอบสังหารถึงสามครั้ง

Read More

ป. พิบูลสงคราม “จอมพลตราไก่” ตอน 2

por2

“อนุสาวรีย์ปราบกบฎ” หรือ “อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ซึ่งปัจจุบันถูกทำให้ลืมโดยเรียกว่า “อนุสาวรีย์หลักสี่”

นักเรียนทุน

หลังแต่งงาน ๓ เดือน ประจำปืน ๗ ครบ ๒ ปี ร้อยตรีแปลกก็ย้ายกลับพระนคร เรียนต่อในโรงเรียนเหล่าทหารปืนใหญ่ในกรมทหารปืนใหญ่ที่ ๑ รักษาพระองค์ (ปืน ๑) เขตบางซื่อ มีกำหนด ๒ ปี เมื่อเรียนจบก็ถูกส่งกลับปืน ๗ ก่อนโดนย้ายกลับพระนครอีกครั้งเพื่อประจำที่ปืน ๑ และเรียนในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก

ที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบกนี้เอง ร้อยตรีแปลกได้ฉายความโดดเด่นทางการเรียน โดย “คิดต่าง” ทางวิชาการกับหลวงชาตินักรบเพื่อนร่วมชั้นเสมอ เช่น ในการสอบแก้ปัญหายุทธวิธีครั้งหนึ่ง หลวงชาตินักรบตกลงกับเพื่อน ๆ ว่าจะตอบเหมือนกันโดยชูกำปั้นเป็นสัญญาณเข้าตี ลดกำปั้นลงหมายถึงตั้งรับ แต่เมื่อหลวงชาตินักรบและเพื่อน ๆ “เข้าตี” ร้อยตรีแปลกกลับเลือก “ตั้งรับ” และแก้สถานการณ์ไปตามความเป็นจริง

Read More

ป. พิบูลสงคราม “จอมพลตราไก่” ตอน 1

por1

ร้อยตรี แปลก พิบูลสงคราม ขณะศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่

๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๐
ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

๒๒.๐๐ น. เศษ เสียงโทรศัพท์ดังลั่นขณะที่บุรุษผมสีดอกเลารับสาย

“ทหารกำลังจะมาล้อมทำเนียบครับท่าน” เสียงปลายสายร้อนรน

เขาวางสาย รีบลงมาชั้นล่าง ฟอร์ดทันเดอร์เบิร์ดติดเครื่องรออยู่แล้วพร้อมเลขาส่วนตัว นายตำรวจติดตาม และนายทหารอีกคนหนึ่ง  เขาเข้าไปนั่งในที่คนขับ บึ่งรถกลับไปที่บ้าน เก็บสัมภาระ เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วเปลี่ยนรถเป็นซีตรอง DS19 ที่ลุยทางทุรกันดารได้ดี  หลังจากนั้นแวะซอยชิดลมยืมเงินลูกเขยแล้วมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก

Read More

คนไทยมาจากไหน

map_mountains_central_asia_small

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น

แถบตอนใต้ของจีน

เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ มณฑลกวางสี ไกวเจา และยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเขตปกครองตนเองกว่างซี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู

  • นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์เจมส์ อาร์. เอ. เชมเบอร์ลิน, ศาสตราจารย์หลีฟ้ง-ก้าย, ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ ดร. มาร์วิน บราวน์

Read More

ตำนานเกี๊ยว

post-17-0-15762100-1334897977

ในช่วงตรุษจีนที่จีนแผ่นดินใหญ่จะมีธรรมเนียมห่อเกี๊ยวกินเกี๊ยวเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะเกี๊ยวมักมีรูปร่างเหมือนก้อนตำลึงทอง บางที่ยังยัดเงินเข้าไปในไส้ถือเคล็ดให้รวยยกกำลังสอง แต่เวลากินต้องระวังเป็นพิเศษ

เกี๊ยว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เจียวจึ ญี่ปุ่นรับไปเรียกตามจีนว่า เกี๊ยวซ่า ที่จริงคำว่า เกี๊ยวกับคำว่าเจี่ยวเป็นคำเดียวกันคำแรกเป็นสำเนียงโบราณหรือสำเนียงทางใต้ และไทยกับญี่ปุ่นรับมาใช้ สรุปก็คือ เจียวจึ เกี๊ยวซ่า และชายสี่หมี่เกี๊ยวบ้านเราก็บรรพชนเดียวกันนั่นเอง

Read More

ขุนแผน ในคำให้การชาวกรุงเก่า

15220a2aa

ขุนแผนยุคอยุธยา ไม่มีขุนช้างและนางวันทอง เพราะเป็นตำนานวีรบุรุษ อยู่ในคำบอกเล่าชาวบ้านชาวเมืองยุคอยุธยา ที่เรียกเป็นทางการในภายหลังว่า “คำให้การชาวกรุงเก่า”

คำให้การชาวกรุงเก่า เป็นเอกสารภาษาพม่า ที่ทางการพม่าจดจากคำให้การชาวเชลยอยุธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าครั้งกรุงแตก พ.ศ. 2310 ต่อมาทางการไทยได้เอกสารนี้จากหอหลวงของพม่า แล้วแปลเป็นภาษาไทย

“พระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระพันวษา ภาษาพม่าเรียกว่าพระเจ้าวาตะถ่อง แปลว่าสำลีพันหนึ่ง พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้มีพระราชประวัติพิสดาร แต่กล่าวได้โดยเอกเทศ

พระองค์มีพระมเหสีทรงพระนามว่าสุริยวงศาเทวี มีพระราชโอรสองค์หนึ่งด้วยพระมเหสี มีพระนามว่าพระบรมกุมาร

 

Read More