Tag: วัฒนธรรม

ซอยจุ๊ ตำนานความดิบรสแซ่บจากอีสาน

ซอยจุ๊ เป็นอาหารไทยภาคอีสาน เป็นการนำเนื้อวัวและเครื่องในเนื้อวัวดิบมาหั่นเป็นชิ้น ๆ พอดีคำ โดยไม่ต้องผ่านกรรมวิธีการปรุงให้สุกหรือปรุงรส และจะนิยมนำมากินกับน้ำจิ้มแจ่วขม พร้อมผักสดกรอบ ๆ Read More

ถังหูลู่ ขนมหวานเคลือบน้ำตาล ตำนานความอร่อยจากแดนมังกร

ถังหูลู่ (糖葫芦) ขนมหวานจากแดนมังกร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ประกอบด้วยผลไม้หลากชนิดเสียบไม้เคลือบน้ำตาลแข็ง ดึงดูดสายตาด้วยสีสันสดใส รสชาติหวานอมเปรี้ยว ทานเล่นเพลินจนหยุดไม่ได้ ขนมชนิดนี้มีประวัติความเป็นมายาวนาน กว่าพันปี เต็มไปด้วยเรื่องราวและตำนานที่น่าสนใจ Read More

เหล้านารีแดง

13606969_1325068970856214_4307716887202355312_n

เหล้านารีแดง(女儿红-หนี่ว์เอ๋อร์หง)เป็นเหล้าฮวาเตียวที่ขึ้นชื่อของอำเภอเส้าซิง มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เหล้าบุตรสาว” (女儿酒) ประกอบด้วย 6 รสชาติ ได้แก่ หวาน ฝาด เปรี้ยว ขม ร้อน และ กลมกล่อม

ในบันทึกตำราสมุนไพรแดนใต้ 《南方草木状》 สมัยราชวงศ์จิ้นได้ระบุไว้ว่า ในอดีตเมื่อคุณหนูสกุลสูงศักดิ์จะออกเรือน จะมีการนำเหล้านารีแดงเตรียมไว้ให้เจ้าสาวนำติดตัวไปด้วย Read More

ซัมบัล น้ำพริกที่น่ารู้จัก

ซัมบัล (Sambal) ซอสที่ทำมาจากพริกนี้นิยมกินกันมากในอาหารอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซัมบัลเป็นทั้งซอส เครื่องเคียง และเครื่องจิ้ม ในตำราอาหารบางเล่มก็จัดไว้ในประเภทน้ำพริก ช่วยเพิ่มรสให้กับอาหาร ทำมาจากพริกหลายชนิด เช่น พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูสวน พริกของแต่ละท้องถิ่น พริกคาเยน หรือพริกฮานาเบโร บดผสมรวมกับน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าว เกลือ และน้ำตาล

Read More

อรหัน ไม่ใช่พระ

อรหัน เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี

อรหัน มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “จิงโจ้” มักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น Read More

พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์

570300000119

พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ มีความสำคัญมากในอดีต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ซึ่งตามความเชื่อของพระราชพิธีดังกล่าว ถือว่า เป็นการสวดไล่ผี เพราะในสมัยก่อนคนไทยมีความเชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านของปีเก่าสู่ปีใหม่ไทยหรือสงกรานต์ จะต้องขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านจากเมือง เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้คนและบ้านเมืองด้วย

Read More

พิธีโล้ชิงช้า

พระราชพิธีตรียัมปวาย หรือ ตรียัมพวาย หรือที่ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “พิธีโล้ชิงช้า” เป็นพิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเศรษฐกิจของไทยไม่ค่อยมั่นคง เงินในท้องพระคลังร่อยหรอลงเต็มที และการโล้ชิงช้าก็ต้องใช้เงินมาก ประกอบกับช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่สงบดีนัก ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย

Read More

กลองมโหระทึก

4f5hx

กลองมโหระทึก” เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุกและตะกั่ว เรียกว่า สำริด บนหน้ากลองมักทำรูปกบประดับตกแต่งจึงมีอีกชื่อว่า “กลองกบ

เมื่อราว 3,000 ปีก่อน กลองมโหระทึกเป็นเครื่องมือโลหะ ที่คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผลิตขึ้นเพื่อใช้ตีประโคมในพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ เช่น พิธีศพ พิธีเลี้ยงผี พิธีขอฝน ฯลฯ และเป็นลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมความเชื่อที่มีร่วมกันของคนที่เคยอาศัยในดินแดนสุวรรณภูมิ ( เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน)

Read More

เรืออีโปง

 186936

เรืออีโปง เป็นเรือขุดชนิดหนึ่งหัวมนแหลม ท้ายตัด ทำจากไม้ต้นตาล โดยนำโคนต้น
ตาลมาผ่าออกเป็นสองซีก ขุดเอาไส้ตาลออกเหลือแต่เปลือกนอก แล้วเลื่อยกระดาน
ปิดตรงท้าย ยาด้วยชัน จัดเป็นเรือประเภทที่ไม่ถาวร และเป็นเรือพื้นบ้านอย่างแท้จริง

Read More

คนไทยมาจากไหน

map_mountains_central_asia_small

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น

แถบตอนใต้ของจีน

เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ มณฑลกวางสี ไกวเจา และยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเขตปกครองตนเองกว่างซี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู

  • นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์เจมส์ อาร์. เอ. เชมเบอร์ลิน, ศาสตราจารย์หลีฟ้ง-ก้าย, ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ ดร. มาร์วิน บราวน์

Read More