ท่ามกลางความโกลาหลของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธลับที่ทรงพลังที่สุดอย่างหนึ่งไม่ได้อยู่ในรูปของปืนใหญ่หรือรถถัง แต่เป็นกล่องโลหะขนาดเล็กที่รู้จักกันในชื่อ “เครื่องเข้ารหัสอีนิกมา” Enigma นั้นซับซ้อนมาก ประกอบด้วยโรเตอร์ 3 ล้อที่หมุนได้ แต่ละล้อมีตัวอักษร 26 ตัว การหมุนของโรเตอร์แต่ละตัวจะเปลี่ยนแปลงอัลกอริทึมการเข้ารหัส ทำให้ยากต่อการถอดรหัส Read More
มหากาพย์อีเลียด: บทเพลงแห่งวีรบุรุษและโศกนาฏกรรม
มหากาพย์อีเลียด (Iliad) ผลงานอันยิ่งใหญ่ของโฮเมอร์ กวีเอกแห่งกรีกโบราณ บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างกรีกและทรอย ผ่านตัวละครวีรบุรุษผู้กล้าหาญ เทพเจ้าผู้ทรงอำนาจ และหญิงงามผู้เป็นดั่งชนวนแห่งสงคราม Read More
เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์ :ผู้ให้กำเนิดหน่วยพลร่มไทย
บิลล์ แลร์ คือ อเมริกัน ซี ไอ เอ ซึ่งถูกส่งมาจากหน่วยข่าวกรองของสหรัฐมายังประเทศไทย เมื่อ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2494 โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีจุดประสงค์เพื่อการสร้างกำลังของฝ่ายอเมริกันนอกประเทศในการยับยั้งการแผ่อิทธิพลฃองฝ่ายคอมมิวนิสต์(สหรัฐเป็นผู้นำของฝ่ายโลกเสรีในเวลานั้น
พระพุทธรูปแห่งบามิยัน
จังหวัดบามิยัน (Bamiyan Province) ในพื้นที่ฮาซาราจัต (Hazarajat) เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน ตั้งอยู่ในหุบเขาบามิยัน (Bamiyan Valley) ซึ่งมีแม่น้ำหล่อเลี้ยงประชาชน ด้านหนึ่งเป็นเขา อีกด้านหนึ่งเป็นหน้าผาหินสูงชันแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางประทับยืน สภาพแวดล้อมของหุบเขารายล้อมไปด้วยความแห้งแล้ง แต่ที่แห่งนี้อุดมไปด้วยทุ่งหญ้าและน้ำ
การสังหารหมู่ที่หมีลาย ตอนที่ 3 (จบ)
คุณอาจจะสงสัยว่า ทำไมเหล่าทหารหนุ่มที่อายุอานามไม่เกิน 25 ปีกลุ่มนี้ถึงได้มีจิตใจที่อำมหิตเหลือเกิน เหตุผลง่ายๆคือ สงครามทำให้พวกเขาเปลี่ยนไป ความกดดันทำให้พวกเขาไม่วางใจในสิ่งใดทั้งสิ้น อันที่จริงแล้ว C Company เพิ่งจะมาถึงเวียดนามได้แค่ 3 เดือนก่อนเกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้… 3 เดือนเท่านั้นที่เหล่าทหารอายุน้อยจาก C Company ต้องเผชิญกับการประจันหน้ากับทหารเวียตกงถึง 28 ครั้งซึ่งทำให้สูญเสียเพื่อนทหารไป 5 คน และก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่หมีลายเพียง 2 วัน พวกเขาก็เพิ่งจะเจอกับการโจมตีครั้งใหญ่ที่เต็มไปด้วยกับระเบิดซึ่งคร่าชีวิตเพื่อนทหารไปอีกหนึ่งคน และทำให้อีกสองสามคนบาดเจ็บสาหัส ทั้งหมดนี้เป็นความกดดันที่หนักหนาในช่วงเวลาสั้นๆที่สามารถเปลี่ยนวิธีและกระบวนการทางความคิดของเหล่าพลทหารหลายๆคนไปได้ Read More
การสังหารหมู่ที่หมีลาย ตอนที่ 2
หลังจากกองกำลังทุกกลุ่มของสหรัฐฯได้ถูกเรียกตัวกลับฐานหลังจากคำสั่งหยุดยิง ความเสียหายก็เกินจะเยียวยาแล้ว มากกว่า 400 ชีวิตถูกสังหารอย่างไร้ทางสู้ ทั้งถูกยิง ถูกแทง หั่นเป็นชิ้น และกระทำการต่างๆนานๆที่เป็นการดูหมิ่นร่างกายของเหยื่อ หญิงสาวบางคนโดนข่มขืน หมู่บ้านทั้งหมดลุกเป็นไฟ หมีลายจากที่มีประชากรประมาณ 700 คน ภายใน 4 ชั่วโมงเหลือไม่ถึง 300 ชีวิตโดยทั้งหมดล้วนเป็นเพียงแค่ชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้รอดชีวิตจากการสังหารหมู่ครั้งนี้ได้บอกกล่าวไว้ว่า พวกเขาที่เหลือต้องใช้เวลาถึง 3 วันในการฝังศพของเหยื่อทั้งหมด Read More
การสังหารหมู่ที่หมีลาย ตอนที่ 1
หมีลาย เป็นหนึ่งในหมู่บ้านขนาดเล็กของหมู่บ้านสงเติ๋นในจังหวัดกวางหงายของประเทศเวียดนาม ณ ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น หมีลายมีประชากรประมาณ 700 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทั่วไป เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามที่สหรัฐอเมริกาพยายามเข้ามากำจัดระบอบคอมมิวนิสต์
ย้อนไปในเช้าตรู่ของวันที่ 16 มีนาคม 1968 กลุ่มกองกำลังทางทหารของสหรัฐอเมริกากว่าร้อยคนจาก Charlie Company – 11th Brigade เข้าปฎิบัติหน้าที่ภายใต้การปฎิบัติการชื่อ Task Force Barker ซึ่งหมายถึงการล่าและสังหารเหล่าเวียตกงโดยเฉพาะในพื้นที่ของหมู่บ้านสันมายซึ่งโดยรวมแล้วเป็นพื้นที่ไร่นา ภายใต้การนำของร้อยเอก Ernest Medina โดยหนึ่งในกองกำลังนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมของร้อยตรี William Calley Jr. รับคำสั่งเข้าไปสำรวจในพื้นที่ของหมู่บ้านหมีลายที่เชื่อว่ามีทหารเวียตกงแอบซ่อนตัวอยู่ ซึ่งถ้าหากเจอละก็ พวกเขาสามารถฆ่าทิ้งและยึดอาวุธทั้งหมดกลับมาได้เลย Read More
ทุ่งสังหาร นรกบนดินในยุคเขมรแดง
คำว่า genocide เป็นคำที่รุนแรง มันมากกว่าคำว่า murder ที่แปลว่าการฆ่า หรือฆาตกรรม และมากกว่าคำว่า kill ที่แปลว่า การฆ่า genocide เป็นคำที่พูดถึงการฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำให้ชาติใดชาติหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสูญพันธุ์ให้ได้
อนุสรณ์นี้หากมองดูเพียงภายนอกแล้ว หลายคนอาจจะคิดว่ามันก็คืออนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเอกราชของชาวเขมรเท่านั้น แต่ใครจะรู้ว่าภายในมันกลับบรรจุไว้ด้วยเรื่องราวอันโหดเหี้ยมและภาพอันน่าสะพรึงกลัวที่ไม่มีวันจะลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวเขมรได้เลย เพราะภายในอนุสรณ์สถานเจืองเอ็กนั้นคือสถานที่เก็บหัวกะโหลกของชาวเขมร เหยื่อของการสังหารโหดที่เรียกว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา มันจึงเป็นเสมือนสถานที่แสดงถึงความโหดร้ายและระลึกถึงผู้เสียชีวิตชาวเขมรที่ต้องดับดิ้นลงไปด้วยน้ำมือของคนชาติเดียวกัน
คุกตวลสเลง ความป่าเถื่อนที่โลกต้องจารึก
ตำนานสังหารที่โลกไม่เคยลืม
บทบันทึกความเลวร้ายที่ปรากฎในประวัติศาสตร์
ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ
โศกนาฏกรรม “กัมพูชา” ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518
ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความโหดเหี้ยม
ปฏิบัติการ Market Garden การจู่โจมที่ ‘ล้มเหลวที่สุด’ ของฝ่ายสัมพันธมิตร
ถ้าพูดถึงปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนอาจนึกถึงวันยกพลขึ้นบกหรือวันดีเดย์ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ซึ่งปฏิบัติการนี้ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในเวลาต่อมา
แต่รู้หรือไม่ เพียงไม่กี่เดือนหลังจากปฏิบัติการดีเดย์ พวกเขาต้องพบกับปฏิบัติการที่ล้มเหลวที่สุดครั้งหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตร