เรื่องของความเชื่อที่มีการส่งต่อกันว่า การนอนในช่วงเย็นที่พระอาทิตย์ตกดิน เมื่อตื่นขึ้นมาจะทำให้ปวดหัวได้ เป็นเรื่องจริง และเป็นความเชื่อที่ส่งต่อกันมานานแล้ว บางที่ก็เรียก นอนหลับทับตะวัน หรือ ตะวันทับตา Read More
กลิ่นคนแก่
กลิ่นคนแก่ เป็นกลิ่นอ่อนๆ ติดตัวผู้ใหญ่ที่ใครที่ใกล้ชิดผู้สูงอายุก็คงเคยได้กันมาบ้าง จะว่าเหม็นก็ไม่ใช่จะว่าหอมก็ไม่เชิง วันนี้เรามาเจาะลึกถึงสาเหตุที่มาของ กลิ่นคนแก่ พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเมื่อถึงวันที่กลิ่นนั้นกลายเป็นของเรา
รู้จักกลิ่นคนแก่
กลิ่นคนแก่ หรือ กลิ่นผู้สูงวัย (Aging odor) ไม่ได้เกิดขึ้นจากความสกปรกแต่อย่างใด แต่เป็นกลิ่นตัวพิเศษของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยกลิ่นตัวเกิดจากต่อมไขมันและต่อมเหงื่อ ผลิตไขมันและเหงื่อออกมาทำปฏิกริยากับแบคทีเรียจนเกิดกลิ่นบนร่างกาย ซึ่งการทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียก็จะส่งกลิ่นแต่ละแบบต่างกันออกไป Read More
ไรฝุ่น
ไรฝุ่น (dust mite) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermatophagoides pteronyssinus Dermatophagoides fariae เป็นแมลงขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพราะมีความยาวเพียง 250 – 300 ไมครอน มี 8 ขา ไม่มีตา วางไข่คราวละ 20 – 50 ฟอง 3 สัปดาห์/ครั้ง ระยะฟักตัว 8 – 12 วัน แต่ละตัวมีอายุ 2 – 4 เดือน สามารถปะปนอยู่กับฝุ่นตามพื้นบ้าน ห้องนอน ที่นอน หมอน พรม และเครื่องเรือนต่างๆ โดยชอบอาศัยในที่อับชื้น และอบอุ่น ไรฝุ่นกินเศษผิวหนังและรังแคเป็นอาหาร จากนั้นจะถ่ายมูลไว้ในสถานที่ที่อาศัยอยู่ โดยเฉพาะบนเตียง หรือที่นอน ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของตัวไรฝุ่นและมูลของไรฝุ่น Read More
หมอกาฬโรค หรือ หมออีกาดำ
หมอกาฬโรคหรือหมออีกาดำ (Plague Doctor) เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญต่อยุโรปช่วงยุคกลางเป็นอย่างมาก ตั้งเเต่คริสต์ศตวรรษที่ 13-17 หมอกาฬโรคเป็นเเพทย์ที่คอยรักษาผู้ป่วยกาฬโรคโดยเฉพาะ จัดเป็นเเพทย์เฉพาะทางในสมัยนั้น พวกเขามักเป็นเเพทย์ที่จบใหม่หรือเเพทย์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพสักเท่าไหร่ หมอกาฬโรคบางคนจึงมีประสบการณ์ด้านการเเพทย์น้อยมาก
เฉลว, ตาแหลว, กะหลิว
เฉลว หรือ ฉลิว ภาษาถิ่นพายัพว่า ตาเหลว หรือ ตาแหลว และภาษาถิ่นใต้ว่า กะหลิว เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่าง ๆ ดังนี้ Read More
กระสัง
กระสัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Peperomia pellucida Korth ชื่อภาษาอังกฤษว่า Peperomia, Shiny leave มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น ผักกระสัง(ภาคกลาง, อำนาจเจริญ), ผักราชวงศ์(แม่ฮ่องสอน), ผักฮากกล้วย(ภาคเหนือ), ตาฉี่โพ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ชากรูด(ภาคใต้), ผักกูด(เพชรบุรี) และผักสังเขา(สุราษฎร์ธานี)
ผักกระสังเป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้เป็นยามายาวนาน หมอยาพื้นบ้านมักจะใช้ผักกระสังตำพอกฝี หรือคั้นเอาน้ำทาแผลฝีที่มีหนอง สาวๆสมัยโบราณใช้น้ำต้มผักกระสังล้างหน้า ทำให้ผิวหน้าสดใส และยังนำมาสระผมทำให้ผมนุ่ม ป้องกันผมร่วง ยังช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์อีกด้วย โดยถอนต้นผักกระสังมาจุ่มรากลงในน้ำผสมสี รอสักพัก ลำต้นใส ๆ ของกระสังจะเผยให้เห็นระบบการลำเลียงน้ำของพืชอย่างชัดเจน
ภาชนะที่เอาเข้าไมโครเวฟได้
ภาชนะที่ใช้สำหรับบรรจุอาหารเพื่อใช้สำหรับไมโครเวฟถือเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากเลือกภาชนะที่ใช้ไม่ถูกต้องแล้ว อาจจะส่งผลให้เกิดโทษและอันตรายได้ เนื่องจากสารโพลิเมอร์หรือสารเคมีที่ถูกหลอมละลายจากคลื่นไมโครเวฟ
วิธีแก้หม้อหุงข้าวบูด
หม้อหุงข้าวบูด อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับทุกครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความทุกข์ใจให้แม่บ้าน หรือพ่อบ้านหลายคนเป็นอย่างมาก จนถึงขนาดบางบ้านต้องซื้อหม้อหุงข้าวใหม่กันเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว วันนี้เราจะมานำเสนอวิธีแก้หม้อหุงข้าวบูดแบบง่ายๆให้ทราบกัน…
หม้อหุงข้าวบูดเกิดจากอะไร?
โดยปัญหาหม้อหุงข้าวบูดนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก “เชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรค” ที่ยังคงฝังตัวอยู่ในหม้อหุงข้าว นานวันเข้าก็สะสมและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ข้าวเหลือแล้วปล่อยทิ้งไว้คาหม้อโดยที่ไม่ได้ทำการถนอมอาหารด้วยวิธีที่เหมาะสม ส่งผลให้ข้าวบูดคาหม้อ ซึ่งเมื่อทำการหุงข้าวในครั้งต่อๆ ไปทำให้ข้าวบูดเร็วมาก รวมถึงบางครั้งมีกลิ่นข้าวบูดติดหม้ออยู่ตลอดอีกด้วย
ห้ามทำหลังกินอิ่ม
พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงหลังทานอิ่มใหม่ !
หลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ คุณมักทำกิจกรรมผิด ๆต้องห้ามหลังอิ่มใหม่ ๆหรือเปล่า มาดูกันว่าพฤติกรรมที่ไม่ควรทำหลังทานอิ่มมีอะไรกันบ้าง
1.ไม่ควรเดินทันทีหลังทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ เพราะทำให้การย่อยด้อยประสิทธิภาพลงไป ควรรอให้อาหารย่อยอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหากต้องการเดินจริง ๆ
การจุ่มช้อนส้อมในน้ำร้อนตามศูนย์อาหารทำให้ช้อนส้อมสะอาดขึ้นจริงหรือ?
เรื่องกินเรื่องใหญ่ ใครๆ ก็รู้ และเพื่อสิ่งที่ดีกว่า เราต่างก็มีความพิถีพิถันเสาะหาสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้มื้ออาหารนั้นมีความปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของเรา
การเลือกสรรอุปกรณ์การกินที่เรารู้สึกว่าสะอาดปลอดภัยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ ผู้บริโภคทำอย่างสม่ำเสมอ ขอเปลี่ยนได้ก็ขอ เช็ดได้ก็เช็ด (แม้ว่าจะต้องใช้กระดาษทิชชู่สีชมพูก็ตาม)
และอีกอย่างหนึ่งที่ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการกินของเราที่พบมากขึ้น เรื่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณศูนย์อาหารในศูนย์การค้า หรือโรงอาหารในสถาบันต่างๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คือหม้อหุงข้าวเปิดฝาบรรจุน้ำร้อนสำหรับให้ผู้บริโภคนำช้อนส้อมตะเกียบมาลวก ฆ่าเชื้อโรค