พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ มีความสำคัญมากในอดีต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ซึ่งตามความเชื่อของพระราชพิธีดังกล่าว ถือว่า เป็นการสวดไล่ผี เพราะในสมัยก่อนคนไทยมีความเชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านของปีเก่าสู่ปีใหม่ไทยหรือสงกรานต์ จะต้องขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านจากเมือง เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้คนและบ้านเมืองด้วย
ตาลปัตร
ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด) ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล, พัดใบลาน
ตาลปัตร ของเดิมเป็นพัดที่ทำจากใบตาลหรือใบลานสำหรับพัดตัวเองเวลาร้อนหรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระและคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นและใช้บังหน้าเวลาทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร และแม้ภายหลังจะใช้ผ้าสีต่างๆ หุ้มลวดหรือไม้ไผ่ซึ่งขึ้นรูปเป็นพัดก็อนุโลมเรียกว่าตาลปัตร
ในพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่สองได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองเมืองราชคฤห์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงนับถือ ชฎิลสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงไปโปรดชฎิลสามพี่น้องก่อน เมื่อทรงแสดงธรรมจนกระทั่งชฎิลสามพี่น้องละความเชื่อดังเดิมของตน ยอมเป็นสาวกของพระองค์แล้ว พระองค์ก็ทรงพาชฏิลทั้งสามพร้อมสาวกอีกพันรูป เสด็จไปประทับยัง ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองราชคฤห์
สดับปกรณ์
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จถึงที่มาของการ บังสุกุล และสดับปกรณ์ ว่ามาจากพุทธประวัติความว่า
“ขอทูลเปนเรื่องปกิรณกะต่อไปอีกเรื่อง 1 วันหม่อมฉันไปทำบุญที่หน้าพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิฯไปนึกขึ้นว่าการที่พระสงฆ์ชักผ้าสวด “อนิจจา วัฏสังขารา” นั้นเราเรียกเปน 2 อย่าง
ถ้าพระศพเจ้านายเรียกเปนราชาศัพท์ว่า “สดัปกรณ์” ถ้ามิใช่ศพเจ้าเรียกว่า “บังสกุล” ที่จริงผิดถนัดทีเดียว เพราะบังสกุลกับสดัปกรณ์เปนการต่างกัน Read More