ถังหูลู่ (糖葫芦) ขนมหวานจากแดนมังกร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ประกอบด้วยผลไม้หลากชนิดเสียบไม้เคลือบน้ำตาลแข็ง ดึงดูดสายตาด้วยสีสันสดใส รสชาติหวานอมเปรี้ยว ทานเล่นเพลินจนหยุดไม่ได้ ขนมชนิดนี้มีประวัติความเป็นมายาวนาน กว่าพันปี เต็มไปด้วยเรื่องราวและตำนานที่น่าสนใจ Read More
พระรามลงสรง อาหารอิสลามที่คนจีนทำ คนไทยกิน
พระรามลงสรง หรือชื่อในภาษาแต้จิ๋วว่า ซาแต๊ปึ่ง เป็นอาหารจีนชนิดหนึ่งที่ ประกอบด้วยข้าวสวย ผักบุ้งลวก และเนื้อหมู ราดด้วยน้ำราดข้นคล้ายน้ำสะเต๊ะ เป็นอาหารที่นิยมในหมู่ชาวแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน ปัจจุบันหารับประทานได้ยากในไทย
เหล้านารีแดง
เหล้านารีแดง(女儿红-หนี่ว์เอ๋อร์หง)เป็นเหล้าฮวาเตียวที่ขึ้นชื่อของอำเภอเส้าซิง มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “เหล้าบุตรสาว” (女儿酒) ประกอบด้วย 6 รสชาติ ได้แก่ หวาน ฝาด เปรี้ยว ขม ร้อน และ กลมกล่อม
ในบันทึกตำราสมุนไพรแดนใต้ 《南方草木状》 สมัยราชวงศ์จิ้นได้ระบุไว้ว่า ในอดีตเมื่อคุณหนูสกุลสูงศักดิ์จะออกเรือน จะมีการนำเหล้านารีแดงเตรียมไว้ให้เจ้าสาวนำติดตัวไปด้วย Read More
เทศกาลกินผักมงคล 7 ชนิด (七樣菜)
ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะมีเทศกาลอื่นๆ รวมอยู่ด้วยมากมายหลายเทศกาล โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนวันตรุษจีนยาวไปจนถึงวันเทศกาลง้วงเซียว (元宵節) หรือที่ชาวไทยเรารู้จักกันว่าวันเทศกาลชาวนาหรือเทศกาลโคมไฟ อันจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 1 (正月大 十五) ตามปฏิทินจันทรคติจีนและถือว่าเป็นวันสิ้นสุดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ของ ชาวจีนด้วย
ไข่เยี่ยวม้า
ไข่เยี่ยวม้า (Century Egg) หรือ ไข่สำเภา คือ การแปรรูปไข่เพื่อการบริโภครูปแบบหนึ่งของคนจีนที่มีมาแต่โบราณกาล คนจีนเรียกว่า เหอี่ยหม่า หรือจี๋ไฮ่ โดยการใช้กรรมวิธีทำให้เป็นด่างถือว่าเป็นการถนอมอาหารรูปแบบหนึ่ง สามารถทำได้กับไข่เป็ด ไข่ไก่ และไข่นกกระทา โดยนำไข่ไปแช่หรือหมักในส่วนผสมที่มาจาก ปูนขาว, เกลือ, โซเดียมคาร์บอเนต, ใบชาดำ, ซิงก์ออกไซด์ และ น้ำ Read More
เจิ้งเฉิงกง ขุนพลคนสุดท้ายแห่งต้าหมิง
หลังจากกองทัพชิงของชนเผ่าแมนจูรุกเข้าด่านซานไห่กวน โดยการชักนำของแม่ทัพอู๋ซานกุ้ย อดีตขุนพลแห่งราชวงศ์หมิงที่แปรพักตร์ เหล่าเชื้อพระวงศ์ของต้าหมิงที่เหลือรอด ได้อพยพลงไปตั้งที่มั่นใหม่ยังภาคใต้ในชื่ออาณาจักรหมิงใต้ หรือหนานหมิง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานั้น อาณาจักรหมิงใต้กลับแบ่งออกเป็นก๊กเป็นเหล่าและแต่ละกลุ่มต่างก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ต้าหมิงจนเกิดการรบพุ่งกันเอง โดยไม่ได้คิดที่จะรวมกำลังกันต่อต้านชาวแมนจูที่เข้ามารุกราน
ยอมเป็นหยกแหลกลาญ ไม่ขอเป็นกระเบื้องสมบูรณ์
ในสมัยคริสตศักราชที่ 550 ยุคราชวงศ์เหนือ อัครเสนาบดี “เกาหยาง” กุมอำนาจเด็ดขาดในราชสำนักแผ่นดินเว่ยตะวันออก (ตงเว่ย) จึงบีบให้กษัตริย์ “เสี้ยวจิ้งตี้ (หยวนซ่าน)” สละราชบังลังก์ แล้วตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทน สถาปนาราชวงศ์ฉีเหนือ (เป่ยฉี) ขึ้นมา
เกาหยางเป็นคนโหดเหี้ยมทารุณ เพื่อกำจัดเสี้ยนหนามที่อาจจะกลับมาทิ่มแทงในอนาคต จึงตัดสินใจสังหารเสี้ยวจิ้งตี้พร้อมทั้งราชโอรสทั้งสามไปในปีคริสตศักราชที่ 551 ทว่าการก่อกรรมทำชั่วอย่างมากมายเช่นนั้น ทำให้ในใจของเกาหยางอัดแน่นไปด้วยความหวาดกลัว
ขันทีหลี่ เลียนอิง
หลี่กงกง มีชื่อจริงว่า หลี่อิงไท่ แต่มีหลักฐานระบุว่า ก่อนที่จะเข้าวังนั้นเดิมหลี่กงกงมีชื่อดั้งเดิมว่า หลี่จิ้นสี แล้วต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นหลี่อิงไท่ ส่วนชื่อหลี่เหลียนอิงเป็นชื่อที่ซูสีไทเฮาตั้งให้ เขาเป็นคนรูปหล่อ ไหวพริบดี ปากหวาน และมีพรสวรรค์ในการเอาอกเอาใจเจ้านายอย่างเหลือเชื่อ
คำสอนของเล่าจื๊อ
ศาสดาแห่งลัทธิเต๋าชื่อ เล่าจื๊อ มีชีวิตร่วมสมัยขงจื๊อ 2,600 ปีที่แล้ว เคยดูแลห้องสมุดเมืองลั่วหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์โจว
คำสอนเลื่องชื่อ…อยู่ในหนังสือชื่อ วิถีทาง หรือวิถีแห่งเต๋า
การปกครอง…เล่าจื๊อวางหลักไว้ว่า
การปกครองชาติใหญ่เหมือนการต้มปลาตัวเล็ก ไม่ควรคนบ่อย เพราะปลาจะแหลก
การปกครองที่ดีที่สุด ประชาชนไม่รู้ว่าถูกปกครอง
การปกครองรองลงมา คือการปกครองที่ประชาชนสรรเสริญ
การปกครองลำดับที่สาม คือการปกครองที่ประชาชนหวาดกลัว
การปกครองที่แย่ที่สุด คือการปกครองที่ประชาชนรังเกียจ
วันไหว้ขนมบัวลอย
เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอยหรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึ๋งเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย