Tag: ประวัติศาสตร์

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ ฯ (2)

news_172.0

จาก “สถานกาแฟนรสิงห์” ถึง “หมุดคณะราษฎร”

“การก้าวออกมาจากร่มเงาของต้นโศกที่มืดครึ้มอยู่ในขณะนั้น เขาได้ก้าวออกมาปรากฏตนท่ามกลางแถวทหาร พร้อมด้วยการอ่านแถลงการณ์ยืดยาว ซึ่งสรุปแล้ว คือการประกาศยึดอำนาจการปกครอง จากพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นโดยสิ้นเชิง”

หนังสือ ๑๐๐ ปี พระยาพหลฯ ได้ให้รายละเอียด บรรยากาศ และอารมณ์ เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ไม่ได้อ้างอิงหลักฐานว่าได้มาจากที่ใด

“ครั้นถึงเวลาย่ำรุ่งเศษ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ในเครื่องแบบยศตำแหน่งจเรทหารปืนใหญ่ ก็ก้าวจากใต้ต้นโศกด้านสนามเสือป่า ซึ่งยืนรออยู่ท่ามกลางนายทหารผู้ใหญ่ด้วยกัน ไปปรากฏตัวเบื้องหน้าแถวทหาร โดยมีผู้บอกทำความเคารพแล้ว ก็คลี่กระดาษออกมาอ่านด้วยเสียงอันดัง แต่มิได้ขึ้นต้นแบบทักทหารเหล่านั้นเลย เพราะฝ่ายพลเรือนเขียนให้อย่างนั้น”

Read More

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ (๑)

news_172.3

อยากรู้ “ย่ำรุ่ง” คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไรแน่?

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเรื่อง “เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕” ลงใน หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน ปี ๒๔๘๔ จำนวน ๑๖ ตอน โดยอาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บวกกับตอนที่ ๑๗ เป็นการสัมภาษณ์ พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ อีก ๑ ตอน เมื่อมีการพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปี ๒๔๙๐

เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติการยึดอำนาจของคณะผู้ก่อการฯ เกือบจะทุกแง่มุม เรารู้แม้กระทั่งว่าคืนวันที่ ๒๓ มิถุนายน พระยาพหลฯ เข้านอนตอนตี ๒ และหลับสนิท แม้ว่าวันรุ่งขึ้นคือวันคอขาดบาดตายของตัวเองก็ตาม

Read More

ซุนวู

200px-Enchoen27n3200

“รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิรู้พ่าย”
ประโยคข้างต้นเพียงประโยคเดียวนี้เอง ได้ทำให้ชื่อของนักการทหารคนหนึ่งที่มีชีวิตราวสองพันกว่าปีก่อนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก
ชื่อของเขาคือ ซุนวู
ซุนวูเขียนตำราเพื่อการสัประยุทธ์ขึ้นมา 13 ข้อ และถึงทุกวันนี้ทั้ง 13 ข้อแห่งปรัชญาในการรบเล่มนี้ ก็ได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญของนักการทหารแทบทุกชนชาติ แม้แต่นักธุรกิจที่มองเห็นการตลาดเป็นสมรภูมิ ก็มักใช้ข้อคิดของซุนวูมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ

Read More

ทำไมโลโก้แอปเปิ้ลต้องมีรอยแหว่ง

apple-logo

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมโลโก้ของแอปเปิล ถึงต้องมีรอยแหว่ง ทำไมไม่เป็นรูปแอปเปิลเต็มๆ ลูก ทั้งๆ ที่บริษัทก็ไม่ได้ชื่อแอปเปิลแหว่งซะหน่อย เรามาดูเรื่องราวที่มาที่ไป ของโลโก้ที่มีคนจดจำและมีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งของโลกกัน

Read More

“โว เหงียน ยัป” ตำนานวีรบุรุษคนสุดท้ายแห่งเวียดนาม

556000013137302

“อสัญกรรมของ พล.อ.โว เหงียน ยัป ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ…ท่านได้อุทิศชีวิตทั้งชีวิตให้กับประเทศชาติและประชาชน จิตวิญญาณของท่านจะผนึกเป็นหนึ่งเดียวกับประชาชนชาวเวียดนาม มอบความเข้มแข็งให้กับพวกเขาเพื่อสร้างประเทศให้แข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรือง”

โว เดียน เบียน ลูกชายของ พล.อ.ยัป กล่าวไว้อาลัยผู้เป็นพ่อระหว่างเคลื่อนศพไปฝังท่ามกลางชาวเวียดนามราวสองแสนคนที่ร่วมส่งศพวีรบุรุษสงครามคนสุดท้ายผู้เป็นตำนานเล่าขานไม่มีวันลืมเลือน

Read More

1421 จีนค้นพบทวีปอเมริกา

1421

โคลัมบัสไม่ได้พบอเมริกาเป็นคนแรก
‘ปี ค.ค. 1421: จีนค้นพบทวีปอเมริกา’ ซี่งเป็นหนังสือที่กำลังออกสู่ตลาดอเมริกาในขณะนี้ ได้สร้างความฮือฮาให้กับชาวโลกเป็นอย่างมาก หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย กาวิน เมนซิส (GavinMenzies) เขาได้ค้นคว้าและเก็บข้อมูลจากภาพวาดทางทะเล โบราณวัตถุ และข้อมูลทางโบราณคดีจำนวนมาก อย่างทุ่มเทเป็นเวลาถึง14 ปี จนปรากฏเป็นผลงานที่สั่นสะเทือนความเชื่อของคนทั้งโลก

Read More

"ดาบแชน" นักกู้ระเบิดพันลูกแห่งนราธิวาส

74750

“มีอยู่วันหนึ่งผมเอนหลังนอน บนรถ 191 จากนั้นได้ยินเสียงตูมดังสนั่น พอสะดุ้งตื่นขึ้นมาก็รีบคลำตามร่างกายว่าอยู่ครบหรือเปล่า ปรากฏว่าโชคดีที่แค่ฝันไป” นี่คือคำพูดของ ร.ต.ต.แชน วรงค์ไพสิฐ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ เหยี่ยวดง 60 รับผิดชอบการตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด หรืออีโอดี ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรจ.นราธิวาส

หากเอ่ยนามร้อยตำรวจตรีแชน หรือหมวดแชน อาจไม่คุ้นหูกันนัก แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘ดาบแชน’ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเขาคือนักเก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขาผ่านประสบการณ์ ตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด เอาชีวิตเข้าเสี่ยงความเป็นความตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง เพื่อความสงบสุขของพี่น้องร่วมแผ่นดินเกิด

Read More

รามานุจัน อัจฉริยะแห่งเอเชีย

153067

รามานุจันเป็นเพียงเด็กบ้านนอก ที่เกิดอยู่ในครอบครัวยากจนทั่วๆไปในอินเดีย เขาเกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2430 (22 December 1887 ) อยู่ในหมู่บ้าน Erode ใกล้เมือง Kumba Konam ซึ่งอยู่ห่างจากนคร Madras ประมาณ 260 กิโลเมตร พ่อเป็นเพียงพนักงานบัญชี ในร้านขายผ้า ส่วนเเม่เป็นแม่บ้าน เธอรับจ้างร้องเพลงสวดมนต์ตามศาสนสถานแถวท้องถิ่น ความยากจนที่ทำให้มีข้อกำจัดทางการศึกษา แต่ก็ไม่สามารถสะกัดกั้นอัจฉริยภาพทางคณิตศาสตร์ของเขาลงได้เลย ถึงจะมีฐานะที่ยากจน แต่ยังโชคดีที่รามานุจันเกิดอยู่ในวรรณะพราหมณ์ เขาจึงโชคดีกว่าเด็กอินเดียคนอื่นๆที่เกิดในชนชั้นที่ต่ำกว่า ที่แม้แต่การศึกษายังไม่สามารถเอื้อมถึง และเมื่อมีโอกาสได้เข้าเรียนโลกของคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ก็เปิดตอนรับรามานุจันทันที

Read More

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า…สงครามที่ถูกลืม


สงครามบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาท ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดนที่อ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ
ลาวได้ส่ง กำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน เกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างหนักหน่วงในช่วงเดือนธันวาคม 2530 ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2531 มีการหยุดยิงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531

Read More

บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 7

พระองค์เจ้าขุนเณร ปรมาจารย์การรบกองโจร แห่งศึกลาดหญ้า

ศึกละแวก

กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ แม่ทัพใหญ่ ได้รู้ข่าวที่กองม้าเร็วคอยเหตุมากราบทูลนั้นแล้ว ก็ทรง พระวิตกเกรงเกลือกว่าสยามจักทำการรักษาค่ายไว้ไม่ได้ ก็จักเสียค่ายแก่ทัพลาวครั้งนี้เหมือนเสียค่ายหลวงด้วย เพราะค่ายหลวงตั้งชิดกับ ค่ายหน้า เพราะฉนั้นกรมหมื่นทั้งสองพระองค์จึ่งรีบร่งยกกองทัพขึ้นไปโดยเร็ว ปรารถนาจักช่วยทัพหน้าที่ถูกข้าศึก ลาวล้อมไว้นั้นให้ทัน ท่วงที จึ่งไม่ทันทรงระวังสองข้างทางที่เสด็จขึ้นไป แต่พอทัพกรมหมื่นทั้งสองพระองค์เถิงกลางทางในป่าดงตะเคียน อันเป็นที่ซุ่มกำลัง ของ ทัพลาว กองทัพสยามจึ่งเข้าสู่วงล้อมของทหารไพร่พลลาว

Read More