คำสาปท้าวศรีโคตรบอง
เวียงจันทน์ล้านช้าง อย่าให้ฮุ่งเฮืองศรี
คนบ่มีสีลธรรม อยู่คองเมืองบ้าน
ผู้ใดมาครองสร้าง ปกครองตุ้มไพร่
ขอให้ฮุ่ง เพียงช้างพับหู
ฮุ่งเพียงงูแลบลิ้น ศรีโคตรสาปแช่งเวียง
ตำนานท้าวศรีโคตรพระตบองเพชรสาปแช่งเวียงจันทน์บ่ให้ฮุ่งเฮือง
เป็นตำนานที่ถืกเล่าขานกันมาเป็นเวลาช้านาน
สาเหตุที่ทำให้ท้าวศรีโคตรสาปแช่งเวียงจันทน์นั้นมีเรื่องเล่าสืบมาดังนี้
กาลครั้งหนึ่ง เมืองเวียงจันทน์เกิดเดือดฮ้อน มีช้างป่ามาบุกรุกทำลายไฮ่นาฮั้วสวน เครืองปลูกของฝัง
ตลอดบ้านเฮือนของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เจ้าเมืองเวียงจันท์จึงประกาศหาคนดีมาผาบช้าง
ใผผาบได้จะได้ฮับพระราชทานพระราชธิดาแห่งเวียงจันทน์เป็นคู่ครอง
ท้าวศรีโคตรผู้มีอาวุธวิเศษเป็นพระตะบองเพชร ผู้มีวิชาเก่งกล้าหาใผเปลียบเทียบบ่ได้ ก็รับอาสาผาบช้าง
และก็ผาบช้างได้สำเร็จอี่หลี พระเจ้าแผ่นดินจึงพระราชทาน “เจ้านางเขียวข่อมเทวี”
พระราชธิดาให้แก่ท้าวศรีโคตร แล้วสร้างเรือนหิน (ปราสาท) ให้อยู่
ต่อมาพระเจ้าเวียงจันท์อย้านว่าท้าวศรีโคตรจะแย่งราชบัลลังก์ จึงใช้อุบายต่างๆ
เพื่อที่จะกำจัดท้าวศรีโคตร แต่บ่สำเร็จ เพราะท้าวศรีโคตร ฟัน แทงบ่เข้า จึ่งฆ่าบ่ตาย
พระเจ้าเวียงจันทน์จึงคิดอุบายขึ้นโดยหลอกถามจากธิดาของตนว่า “ด้วยเหตุใดหนอท้าวศรีโคตรจึงเป็นคนเก่ง และฆ่าบ่ตาย”
พระธิดาบ่ฮู้เล่กลของพระราชบิดา ในวันหนึ่งจึงถามท้าวศรีโคตรว่า “เจ้าอ้ายเป็นคนเก่ง
ใผฆ่าก็บ่ตาย น้องอยากฮู้ว่าเจ้าอ้ายมีดีอันใดหนอ?”
ท้าวศรีศรีโคตรบ่ฮู้ถึงภัยจะเกิดกับตนเพราะความฮักเมีย จึงเล่าเรื่องสมัยบวชเป็นสามเณรให้เมียฟังว่า
ที่ตนมีพลังสามารถผาบช้างได้นั้น ก็เพราะครั้งหนึ่งได้หุงข้าวถวายหลวงตา
ได้หักเอาไม้ดิบมาคนหม้อพาให้ข้าวนั้นกลับกลายเป็นสีดำ
หลวงตาใจฮ้ายจึงสั่งให้เณรศรีโคตรฉันข้าวหม้อนั้นเพียงผู้เดียว ภายลุนมาจึงทำให้เณรศรีโครตมีพลังช้างศาล
อีกทั้งแทงบ่เข้าจึงฆ่าบ่ตายด้วยหอก ดาบ
เมียก็ถามต่อไปว่ามีทางใดบ่ที่คนอื่นจะฆ่าเจ้าอ้ายให้ตายได้
ท้าวศรีโคตรบ่คิดว่าเมียจะสามารถฆ่าตนได้ลงคอจึงตอบไปว่า “เข้าทางฮูเก่า(ทวาร)เท่านั้นก็ตายดอก”
พระธิดาจึงนำความไปเล่าให้พระบิดาฟัง พระบิดาทราบจึงหาอุบายที่จะฆ่าท้าวศรีโคตร
โดยเชิญท้าวศรีศรีโคตรไปรฮ่วมเสวยอาหารที่ท้องพระโรง และใกล้ ๆ
บริเวณท้องพระโรงได้ทำห้องบังคลหนัก(ส้วมถ่าย) โดยได้วางยนต์หอกในส้วมถ่ายนั้น
พอเสวยเสร็จและท้าวศรีโคตรเข้าห้องบังคลหนัก ยนต์หอกก็ทำงาน คือหอกก็แล่นขึ้นทางฮูเก่า
เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ แต่ท้าวศรีโคตรบ่ตายทันที และท้าวศรีโคตรได้ทราบว่าเสียฮู้ผู้หญิงแล้ว
จึงเหาะกลับเมือตายที่เมืองศรีโคตรพระตะบอง
ก่อนตายได้สาบแช่งเมืองเวียงจันทน์ว่า “ให้ฮุ่งเพียงช้างพับหู เพียงงูแลบลิ้น”
เพราะคนเวียงจันทน์เป็นคนบ่มีสัจจธรรม ขนาดว่าท้าวศรีโคตรผาบช้างให้แล้ว ยังหาวิธีกำจัดให้ตายได้ลงคอ
แม้ท้าวศรีโคตะบองจะสาปแช่งเวียงฯ เอาไว้ แต่ด้วยใจที่รักเมียซึ่งมาจากเวียงฯ ก็ยังมีใจบอกวิธีแก้คำสาปเอาไว้อยู่ มีว่าฯ (จำคำผู้แก่มา) ผิว่ามื้อไดมีพญาตาเดียวไปยืนเทิ้งหมากหินกลางน้ำของ มวลคำสาปเทิ้งผองก่ะสิมลายสิ้นฯ”
ตำนานหรือนิทานท้าวศรีโคตรนี้ ยังมีคนแต่งเพิ่มเติมขึ้นอีกเป็นตำนานติดต่ออีกหลายเรื่อง
เช่นตำนานเมืองอุบล เล่าโดยคุณพ่อบำเพ็ญ ณ อุบล ซึ่งคุณพ่อบำเพ็ญ บอกว่า
เป็นอีกตำนานหนึ่งที่มีการบอกเล่าโดยที่คุณพ่อเป็นผู้รับฟังมาจากชาวบ้าน
ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เรื่องราวก็มีเนื้อหาสาระในทำนองเดียวกันกับที่เล่ามา แต่มีเรื่องเพิ่มเติมว่า…
ต่อมานางเขียวข่อม ผู้เป็นเมีย คิดถึงสามีจึงตามหาสามี จนกระทั่งมาถึงแม่น้ำมูล บริเวณดงอู่เผิ้ง
จึงหยุดพัก และประชวรพระครรภ์ เมื่อประสูตรลูกออกมาแล้วบ่สามารถนำลูกไปด้วย
จึงอธิษฐานขอฝากลูกกับเทพยดาที่ต้นยาง โดยขอให้ปกปักรักษาลูก ต้นยางที่ขอ ได้โอนอ่อนลงมา
จึงผูกอู่ไว้ที่ปลายยาง แล้วเอาแหวนทองใส่ไว้ จากนั้นต้นยางก็ตั้งขึ้นเหมือนเดิม
กาลต่อมาพระเจ้าแผ่นดินเมืองจำปาสักมาล่าสัตว์ จนกระทั่งมาถึงดงอู่เผิ้ง
ได้ยินเสียงเด็กน้อยฮ้องไห้ที่ปลายยาง ด้วยความบ่แน่ใจจึงอธิษฐานจิตว่าถ้าเป็นผีให้หนีไป
ถ้าเป็นคนขอให้กิ่งง่าต้นยางโอนออ่นลงมาจะนำไปเลี้ยงเป็นบุตร พออธิษฐานเสร็จ ต้นยางก็โอนอ่อนลงมา
เห็นแหวน ผ้า เด็ก จึงนำไปเลี้ยงที่เมืองจำปาสัก เมื่อกุมารโตเป็นหนุ่ม
จึงพามาตั้งเมืองให้อยู่ตรงที่พบอู่ เรียกว่า เมือง”อู่บน” กุมารนั้นให้นามว่า “เจ้าปทุม”
เจ้าปทุมเป็นลูกเจ้าศรีโคตร (เมืองพระตะบอง) และนางเขียวข่อม มีอาวุธคือไม้ค้อนตระกูลเมืองอุบล
เจ้าเมืองต่อมาจึงชื่อว่า พระพรหมราชวงศา
ที่มา: http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/08/K9578269/K9578269.html