การเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติ

การเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติ

mooncal

การอ่านวัน เดือนทางจันทรคติการเขียนวัน เดือนทางจันทรคติ ประกอบด้วย เลข 3 ตำแหน่ง ดังนี้

1. เลขตำแหน่งที่ 1 หมายถึงวัน มี 7 เลข คือ
๑ หมายถึง วันอาทิตย์                 ๒ หมายถึง วันจันทร์
๓ หมายถึง วันอังคาร                  ๔ หมายถึง วันพุธ
๕ หมายถึง วันพฤหัส                  ๖ หมายถึง วันศุกร์
๗ หมายถึง วันเสาร์

2. เลขตำแหน่งที่ 3 หมายถึง เดือนทางจันทรคติ มีเลขตั้งแต่ ๑-๑๒ โดยที่เดือน 1 หรือที่เรียกว่าเดือนอ้าย (ส่วนใหญ่หมายถึง เดือนธันวาคม) แต่บางปีที่เป็นอธิกมาศ ที่มีเดือนซ้ำกัน ๒ หน เช่นเดือน ๘ สองหน ก็จะแทนค่าด้วย เลข ๘๘

3. เลขตำแหน่งที่ 2 หมายถึง ข้างขึ้น เขียนไว้บนเครื่องหมาย “ฯ”  ส่วนข้างแรม เขียนไว้ใต้เครื่องหมาย “ฯ” มีเลขตั้งแต่ ๑-๑๕

ข้อสังเกต  วันข้างแรมเดือนคี่  คือ เดือนอ้าย  เดือนสาม  เดือนห้า …  เดือนสิบเอ็ด  จะมีเพียง ๑๔ วัน  ไม่มีแรม ๑๕ ค่ำ

ถัดมาเป็นตัวหนังสือกำกับศก เพื่อป้องกันความสับสนในการอ้างปีนักษัตร  ตัวเลขกำกับศกนี้จะตรงกับเลขตัวสุดท้ายในปีจุลศักราช  เช่น จุลศักราช ๑๒๔๓  ตรงกับปัมะโรง  มีตัวเลขสุดท้ายของปีจุลศักราชเป็นเลข ๓ เวลาเขียนก็จะใช้ว่า ปีมะโรง  ตรีศก  จุลศักราช ๑๒๔๓  ถ้าเป็นปีมะเส็ง  จุลศักราช ๑๒๔๔  ก็จะเขียนว่า ปีมะเส็ง  จัตวาศก  จุลศักราช ๑๒๔๔

หลักการเขียนศกกำกับปีนั้น คือ  ปีจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข
๐  เขียนว่า  สัมฤทธิศก
๑  เขียนว่า  เอกศก
๒  เขียนว่า  โทศก
๓  เขียนว่า  ตรีศก
๔  เขียนว่า  จัตวาศก
๕  เขียนว่า  เบญจศก
๖  เขียนว่า  ฉศฏ  (อ่าว่า ฉอ ศก)
๗  เขียนว่า  สัปตศก
๘  เขียนว่า  อัฐศก
๙  เขียนว่า  นพศก

ตัวอย่าง

๗ ฯ ๑๒         อ่านว่า วันเสาร์ เดือน ๑๒ ขึ้น ๒ ค่ำ

๕ ฯ ๑๐      อ่านว่า วันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ แรม ๑๒ ค่ำ
๑๒

ที่มา: http://ningangie.blogspot.com/p/blog-page.html , http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4315.0

 

Leave a Reply