หยางกุ้ยเฟย (อังกฤษ: Yang Guifei ; จีน: 楊貴妃) พระนามเดิมคือ หยางอี้หวน (อังกฤษ: Yang Yuhuan ; จีน: 楊玉環) เกิด 1 มิถุนายน ค.ศ. 719 เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีนกล่าวกันว่า หยางกุ้ยเฟยทรงเป็นสตรีที่มีความงามเป็นเลิศ ใช้ชนม์ชีพในรัชสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับฉายานามว่า “มวลผกาละอายนาง” (จีน: 羞花; พินอิน: xiū huā) ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย” (a face that would make all flowers feel shameful)
เตียวเสี้ยน – จันทร์หลบโฉมสุดา
เตียวเสี้ยน หรือ เตียวฉาน (อังกฤษ: Diao Chan จีน: 貂蝉, 貂蟬 พินอิน: Diāochán) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เชื่อว่าเกิดใน ค.ศ. 169 ซึ่งเป็นยุคสามก๊ก และปรากฎตัวในนิยายเรื่องสามก๊กด้วย
เตียวเสี้ยนได้รับฉายานามว่า “จันทร์หลบโฉมสุดา” (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้” (a face that would make the full moon hide behind the clouds)
หวังเจาจวิน – ปักษีตกนภา
หวังเจาจวิน (อังกฤษ: Wang Zhaojun จีน: 王昭君) ชื่อจริงคือ หวังเฉียง (อังกฤษ: Wang Qiang จีน: 王牆, 王檣, 王嬙) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน
หวังเจาจวินได้รับฉายานามว่า “ปักษีตกนภา” (จีน: 落燕 พินอิน: luò yàn) ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงนกยังต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า” (so beautiful as to make flying geese fall)
หวังเจาจวินเดิมเป็นนางกำนัลในวังหลวง ที่ฮ่องเต้ราชวงศ์ฮั่นส่งไปให้แก่ข่านของเผ่าซงหนู เพื่อกระชับสัมพันธ์ไมตรี
ไซซี – มัจฉาจมวารี
ไซซี ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี” (沉鱼)
เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ ค.ศ. 506 ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในรัฐเยว่ (State of Yue)
ไซซีได้รับฉายานามว่า “มัจฉาจมวารี” (จีน: 沉魚 พินอิน: chén yú) ซึ่งหมายถึง ”ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ” (so beautiful as to make swimming fish sink)
ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่และจับตัวเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดีเพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ
31 มกราคม รำลึกก๊วยเจ๋งและอึ้งย้ง
“ก๊วยเจ๋ง” และ “อึ้งย้ง”
( ? – 31 มกราคม พ.ศ. 2430)
ตัวละครเอกจากนิยายกำลังภายในเรื่อง “มังกรหยก”
“ก๊วยเจ๋ง” และ “อึ้งย้ง” พร้อมลูกสองคน คือ “ก๊วยพั่วโล้” และ “ก๊วยพู๊” (และสามีก๊วยพู่ด้วย) ออกปกป้องเมืองเซียงเอี๊ยง ต่อแต่นั้นมานับตั้งแต่เอี้ยก้วยและเซียวเหล่งนึ้ง ประกาศถอนตัวจากยุทธภพ แต่ในที่สุด ก็ไม่สามารธปกป้องเมืองเซียงเอี๊ยงได้ เพราะมองโกลได้บุกอยู่อย่างตลอดจน เมืองเซียงเอี๊ยงไม่สามารธต้านทานกำลังของมองโกลได้อีกต่อไป ก๊วยเจ๋งและอึ้ง รู้ตัวในวาระสุดท้ายของชีวิตว่าไม่สามารธปกป้องบ้านเมืองได้ เลยฆ่าตัวตายดีกว่าที่จะยอมเป็นเชลยให้กับมองโกล ก๊วยพั่วโล้เสียชีวิตในสงครามรวมทั้งก๊วยพู๊
ดมิทรี เมนเดเลเอฟ “บิดาแห่งตารางธาตุ”
เมนเดเลเอฟ (หรือ เมนเดลีฟ) ในชื่อเต็มว่า ดมิทรี อิวาโนวิช เมนเดเลเอฟ (Dmitri Ivanovish Mendeleev) คือนักเคมีชาวรัสเซีย ผู้คิดค้นตารางพีริออดิก (Periodic table) ที่จัดเรียงธาตุตามลำดับของน้ำหนักเชิงอะตอม แบ่งธาตุออกเป็นคาบและหมู่ ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีคุณสมบัติคล้ายกัน วิธีนี้ทำให้เมนเดเลเอฟ สามารถทำนายคุณสมบัติของธาตุที่ไม่รู้จักได้ ซึ่งเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้นในเวลาต่อมา ความรู้เกี่ยวกับอะตอมมีมากขึ้นด้วย นักวิทยาศาสตร์จึงปรับปรุงตารางพีริออดิกของเมเดเลเอฟอีกเล็กน้อย จนในที่สุดก็ได้ตารางธาตุแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เมนเดเลเอฟจึงถูกยกย่องให้เป็น “Father of the Periodic Table” หรือ “บิดาแห่งตารางธาตุ”
ซุนวู
“รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิรู้พ่าย”
ประโยคข้างต้นเพียงประโยคเดียวนี้เอง ได้ทำให้ชื่อของนักการทหารคนหนึ่งที่มีชีวิตราวสองพันกว่าปีก่อนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก
ชื่อของเขาคือ ซุนวู
ซุนวูเขียนตำราเพื่อการสัประยุทธ์ขึ้นมา 13 ข้อ และถึงทุกวันนี้ทั้ง 13 ข้อแห่งปรัชญาในการรบเล่มนี้ ก็ได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญของนักการทหารแทบทุกชนชาติ แม้แต่นักธุรกิจที่มองเห็นการตลาดเป็นสมรภูมิ ก็มักใช้ข้อคิดของซุนวูมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ
ผู้ต้องธรณีสูบ สมัยพุทธกาล
1. พระเทวทัต เป็นพระประยูรญาติและเป็นพระเชษฐาของพระนางยโสธรา พระมเหสีของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านอาฆาตจองเวรกับพระพุทธองค์ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และเมื่อเข้ามาบวชก็แสดงความมักใหญ่ใฝ่สูง อยากเป็นศาสดาของศาสนา โดยวีรกรรมอันน่าโจษจันมีตั้งแต่แสดงการเหาะเหินเดินอากาศให้เจ้าชายอชาตศัตรูดู เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสและขอเป็นศิษย์ หลังจากนั้นก็ยุแหย่ให้เจ้าชายทำการลอบปลงพระชนม์พระราชบิดา
“โว เหงียน ยัป” ตำนานวีรบุรุษคนสุดท้ายแห่งเวียดนาม
“อสัญกรรมของ พล.อ.โว เหงียน ยัป ถือเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ…ท่านได้อุทิศชีวิตทั้งชีวิตให้กับประเทศชาติและประชาชน จิตวิญญาณของท่านจะผนึกเป็นหนึ่งเดียวกับประชาชนชาวเวียดนาม มอบความเข้มแข็งให้กับพวกเขาเพื่อสร้างประเทศให้แข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรือง”
โว เดียน เบียน ลูกชายของ พล.อ.ยัป กล่าวไว้อาลัยผู้เป็นพ่อระหว่างเคลื่อนศพไปฝังท่ามกลางชาวเวียดนามราวสองแสนคนที่ร่วมส่งศพวีรบุรุษสงครามคนสุดท้ายผู้เป็นตำนานเล่าขานไม่มีวันลืมเลือน
"ดาบแชน" นักกู้ระเบิดพันลูกแห่งนราธิวาส
“มีอยู่วันหนึ่งผมเอนหลังนอน บนรถ 191 จากนั้นได้ยินเสียงตูมดังสนั่น พอสะดุ้งตื่นขึ้นมาก็รีบคลำตามร่างกายว่าอยู่ครบหรือเปล่า ปรากฏว่าโชคดีที่แค่ฝันไป” นี่คือคำพูดของ ร.ต.ต.แชน วรงค์ไพสิฐ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ เหยี่ยวดง 60 รับผิดชอบการตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด หรืออีโอดี ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรจ.นราธิวาส
หากเอ่ยนามร้อยตำรวจตรีแชน หรือหมวดแชน อาจไม่คุ้นหูกันนัก แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘ดาบแชน’ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเขาคือนักเก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขาผ่านประสบการณ์ ตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด เอาชีวิตเข้าเสี่ยงความเป็นความตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง เพื่อความสงบสุขของพี่น้องร่วมแผ่นดินเกิด