บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 5

บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 5

การรวมพล จัดทัพที่เมืองสระบุรี เพื่อโจมตีทัพลาวเจ้าอนุ

527395_443915305646100_1322018412_n

พระยาสุริยภักดี(ป้อม) ไปราชการสักเลขเมืองลาว กลับมาพบเจ้าอนุ ๆ ยอมปล่อยให้กลับลงมากรุงเทพฯนั้น พระสุริยภักดีลงมาเถิงกรุงเก่า ก็พบเรือพระที่นังกรมพระราชวังบวรฯ ทอดประทับอยู่ จึ่งแวะเข้ากราบทูลชี้แจง การที่ตนได้ไปมาประสบ เหตุด้วยเจ้าอนุทุกประการ แล้วก็รีบล่องเรือลงมากรุงเทพฯ เข้าเฝ้าพระกรุณาในท้องพระโรง กราบบังคมทูลมูลเหตุแลประพฤติเหตุ แล้ว ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “เมื่อลงมาเถิงกรุงเก่าพบกรมพระราชวังบวรฯ ที่นั้น ได้กราบทูลพฤติเหตุทุกประการแล้ว กรมพระราชวังฯ ได้ทรงรู้การที่เจ้าอนุ ตั้งค่ายทางไปมาทุกอย่างทุกประการ ตามที่ข้าพระพุทธเจ้า ได้เหนมาแล้ว”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า ” พระสุริยะภักดีไปราชการอยู่เมืองลาวช้านาน เป็นคนรู้จักการงาน ชำนิชำนาญในข้างเมืองลาวมาก แลรู้หนทางเมืองลาวด้วย ควรจักเป็นแม่ทัพนายกองไปด้วยกับกรมพระราชวังฯ จึ่งจักชอบด้วยราชการ แต่ว่าเพิ่ง มาเถิงใหม่ ๆ ยังกำลังเหน็ดเหนื่อยอยู่ ให้พักบ่าวไพร่เปลี่ยนผู้คนเสียใหม่ แล้วจักให้เป็นแม่ทัพนายกอง ยกไปเข้าในกองทัพกรมพระราชวังฯ ”

อยู่มาสองสามวัน พระสุริยะภักดีจัดผู้คนผลัดเปลี่ยนแล้ว ก็กราบถวายบังคมลา จึ่งทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ พระราชทาน ประคำทองคำสายหนึ่ง หมวกทรงประพาส ๑ เสื้อเข้มขาบ ๑ รัดประคดหนามขนุน ๑ กระบี่ญี่ปุ่นฝักดำด้ามคาดลวด ทองแดงเล่ม ๑ แลเงินตราสามชั่ง พร้อมให้เป็นนายกองคุมกำลังขึ้นไปสมทบเข้าในกองทัพกรมพระราชวังบวรฯ ที่เมืองสระบุรี

เมื่อกองทัพหัวเมืองมาพร้อมกันแล้วที่ท่าเรือพระพุทธบาท กรมพระราชวังบวรฯ จึ่งมีพระราชบัณฑูรดำรัสสั่งขุนนาง ผู้ใหญ่จัดกองทัพยกไปทางบก ตามที่ทรงดำริไว้
ให้ พระยาจ่าแสนยากร ๑ พระยากลาโหม ๑ พระยานานุกิจมนตรี ๑ พระยาณรงวิไชย ๑ สี่นายนี้เป็น นายทัพหน้า ที่หนึ่ง
ให้ กรมหมื่นนเรศโยธี ๑ กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ ๑ เป็นแม่ทัพหน้าที่สอง
ให้ กรมหมื่นเสนีเทพ เป็นยกกระบัตรทัพ สำหรับอยู่ในทัพหลวง
ให้ พระองค์เจ้าสังข์ถัด เป็นนายกองทัพปีกซ้าย
ให้ พระองค์เจ้าสุริยะ เป็นนายกองทัพปีกขวา
ให้ กรมหมื่นรามเทพอิศเรศร์ เป็นยกกระบัตรทัพ ตรวจทัพทุกกองสืบราชการมาเสนอแม่ทัพหลวง
ให้ กรมหมื่นเทพพลภักดี เป็นกองเกียกกาย
ให้ กรมหมื่นธิเบศบวร เป็นจเรทัพ
ให้ พระนเรนทรราชา (ราชบุตรเจ้าตากสิน) เป็นนายกองทัพหลัง
ให้ พระองค์เจ้าสว่าง (ราชบุตรกรมพระราชวังบวรฯ) กับ พระยาเกษตรรักษา พระยาศาสตรา ฤทธิรงค์ เป็นนายทัพกองหนุน คุมกระสุนดินดำด้วย
ทรงกำหนดให้จัดทัพให้แล้วเสร็จโดยวัย เพื่อจักได้ยกพยุหะทัพทั้งปวงขึ้นไปทางดงพระยาไฟ โปรดฯ
ให้ เจ้าพระยามหาโยธารามัญ คุมกองทัพรามัญพันห้าร้อยคน ขึ้นไปทางดงพระยากลาง ให้ไปบรรจบ กับทัพหลวงที่เมืองราชสีมา แลเป็นแม่ทัพกระหนาบด้วย
ให้ เจ้าพระยาอภัยภูธร(น้อย) ที่สมุหนายก เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายเหนือ คุมพลทหารหัวเมืองแลกรุงเทพฯ รวมห้าพันยกขึ้นไปทางเมืองเพชรบูรณ์
ให้ พระยาเพชรพิไชย แล พระยาไกรโกษา คุมพลทหารหัวเมืองฝ่ายเหนือห้าพัน เดิรทัพขึ้นทางเมืองพระ พิษณุโลก แลทางเมืองนครสยาม เป็นทัพกระหนาบช่วยเจ้าพระยาอภัยภูธร ตีกองทัพลาวของเจ้าราชวงศ์ ที่เมืองหล่มศักดิ์ให้แตก


ในกรุงเทพฯ ณ กาลเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์) เป็นนายทัพที่หนึ่ง จัดทัพยกไปทางตะวันออกอีกทาง หนึ่ง ให้ไปทางเมืองปราจีนบุรี ให้เดิรทัพทางช่องเรือแตกอีกสี่ทัพ
ให้ เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ) เป็นนายทัพที่สอง
ให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ กับ พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้ากุญชร เป็นนายทัพที่สาม
ให้ พระยาราชนิกูล ๑ พระยารามคำแหง ๑ พระยาราชวังเมือง ๑ พระยาจันทบุรี ๑ คุมกองทัพเมืองจันทบุรี เมืองระยอง เมืองตราด พลหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันออกห้าพัน ขึ้นไปทางเมืองพระตะบองบ้าง เมืองสุรินทร์เมืองสังขะบ้าง เกณฑ์เขมรป่าดง ไปด้วยห้าพัน ให้ยกไปตีทัพราชบุตรที่นครจำปาศักดิ์แล้วให้เข้าร่วมเป็นทัพกระหนาบ ของทัพฝ่ายตะวันออก ของทัพพระยา ราชสุภาวดี (สิงห์) ด้วย
ให้ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์ เป็นแม่ทัพถืออาญาสิทธิ์ บังคับบัญชากองทัพทั้งสี่กอง
โดยให้ทัพของพระยาสุภาวดียกล่วงหน้าขึ้นทางบ่อโพง จักได้ยกไปทางเมืองปราจีนบุรี แลไปพร้อมกับทัพใหญ่ที่เมืองประจัน ตะคาม ด้วยกันเป็นทัพใหญ่
โดยให้กองทัพเจ้าพระยาพระคลัง แลทัพกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ ทัพพระองค์เจ้ากุญชร ทัพกรมหมื่นสุนทรรักษ์ ทั้งสามทัพยก ทัพเรือไปทางคลองสำโรง ออกปากตะคองแม่น้ำแปดริ้ว ไปขึ้นบกที่ท่าเมืองปราจีนบุรี แล้วจักได้ยกทัพไปให้พร้อมกันที่เมืองประจันตะคาม จากนั้นให้จัดกองทัพไปทางบกโดยพร้อมกัน

เพลานั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมีใบบอกเข้ามาว่า ” ได้เกณฑ์กองทัพไว้ พร้อมแล้ว กำหนดจักยกทัพเรือเข้ามา ยังกรุงเทพฯ ตามท้องตราที่เกณฑ์ออกไปนั้น แลได้ รู้ข่าวว่าอังกฤษเตรียมทัพเรือแลทหารพร้อมรบไว้มากที่เมืองเกาะหมากนานนับเดือน ก่อนหน้าเจ้าอนุจักยกกองทัพมายึดเมืองนครราช สีมานั้นแล้ว แลทะยอยส่งเข้ามาเรื่อย ๆ ดูคล้ายจักจริงตามคำเจ้าอนุว่า อังกฤษจัดเตรียม ทัพเพื่อยกเข้ายึดกรุงเทพฯ แลให้เจ้าอนุเป็นศึกกระหนาบ จึ่งใช้ให้กรมการไปสืบข่าวทัพอังกฤษที่เกาะหมาก จึ่งได้ความว่าอังกฤษได้รู้ว่า ทางเมืองนครศรีธรรมราชนี้ได้จัดเตรียมกองทัพเรือ แต่ไม่แจ้งความนัยว่ากำลังจัดทัพตามท้องตราให้ขึ้นมากรุงเทพฯ แต่พวกอังกฤษก็ยกกองทัพเรือออกไป ครั้นกรมการเมืองสืบถามแขกเมืองไทรบุรีก็ได้ความไม่ได้ชัดว่าอังกฤษยกกองทัพเรือไปไหน เจ้าพระยานครศรีธรรมราชไม่ไว้ใจแก่ ราชการ จังจัดให้คนที่เป็นล่ามอังกฤษให้ไปสืบข่าวกองทัพเรืออังกฤษที่เมืองสิงคโปร์

อนึ่ง กะปิตันหันตรีบาระนี มีหนังสือมาเถิงเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นการนัดว่า จักมาเปลี่ยนสัญญากับสยามที่ เมืองตรัง ในคราวนี้ด้วย เจ้าพระยานครศรีธรรมราชจึ่งมิได้เป็นแม่ทัพคุมกองทัพตามท้องตราที่โปรดเกล้าฯ ออกไปในการนี้ พระราชอาญาเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม

แต่เจ้าพระยานครศรีธรรมราชให้พระยาพัทลุง ผู้บุตรใหญ่ กับพระเสน่หามนตรีบุตรรอง เป็นแม่ทัพคุมพลทหารห้า พันพร้อมด้วยเรือรบ เรือไล่ เข้ามาก่อนทัพหนึ่ง ให้ พระสุรินทรามาตย์ ข้าหลวงที่เชิญท้อง ตราออกไปนั้นกำกับทัพมา ถ้าราชการข้างเมืองตรัง แลเกาะหมากเบาบางลงไว้ใจได้ เจ้าพระยานครศรีธรรมราชจักยกเข้ามาสมทบต่อภายหลัง ”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแจ้งในใบบอก จึ่งทรงมีท้องตราปรับวางกำลังกองกองทัพใหม่ โดย
ให้เรียกทัพเจ้าพระยาพระคลัง ๑ทัพกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ ๑ ทัพกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ๑ ให้กลับลงมารักษา ปากน้ำ เจ้าพระยาเมืองสมุทรปราการ คอยระวังกองทัพเรือของอังกฤษ ตามใบบอกของเจ้าพระยานครศรีธรรมราชนั้น
แต่สำหรับทัพของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์) โปรดเกล้าฯ ให้ไปสมทบกับทัพหลวงของกรมพระราชวังบวรฯ
แล้วให้แบ่งคนเป็นสามสายเพื่อนำท้องตราขึ้นไปยังกองทัพด้านตะวันออก อันมี
นายไชยภักดีนายเวรพระตำรวจหน้า ๑ เชิญขึ้นไปเรียกทัพกลับ นายไชยได้ไปทันทัพพระเจ้า น้องยาเธอกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์ กับกองทัพกรมหมื่นสุนทรรักษ์ ทั้งสองทัพที่ทุ่งโพธิ์ จึ่งได้นำทัพกลับลงมาตามท้องตรานั้น
นายแก้วภักดี นายเวรพระตำรวจหน้า ๑ เชิญท้องตราขึ้นไปทางด้านดงพระยาไฟ ยังทัพเจ้าพระยา พระคลัง(ดิศ) แต่นายแก้วภักดี ก็หาได้ตามทันทัพของเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ) ไม่
นายฤทธิ์ นายรงค์ นายเวรพระตำรวจหน้า ๑ เชิญท้องตราขึ้นไปทางห้วยตะคอง เถิงเมืองจันทึก ใกล้ เมืองราชสีมา จึ่งทันทัพของเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ)
เมื่อเจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ) ได้รู้ความตามพระกระแสในท้องตรานั้นแล้ว จึ่งมอบเสบียงอาหารให้กับพระยาราช สุภาวดี(สิงห์) ตามสมควรที่รักใคร่ชอบพอกันนั้นแล้ว ก็นำทัพกลับลงมาตราท้องตรา


ณ จุลศักราช ๑๑๘๙ ปีกุนนพศก เป็นปีที่สี่ แห่งรัชการพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแผ่นดิน ที่สาม เมื่อเดือนห้า ข้างแรมนั้น กรมพระราชวังบวรฯ ยังเสด็จประทับอยู่ที่ท่าเรือพระพุทธ บาท เมืองสระบุรี ทรงมีพระบัณฑูรสั่งให้ เจ้าพนักงานจัดกระบวนโยธาทัพ โดยทางบก พร้อมด้วยพลเดิรเท้า พลช้าง พลม้า ซึ่งจักทรงพระราชดำเนินนำทัพหลวง ขึ้นไปยัง เมืองราชสีมาทางด้านดงพระยาไฟ ทรงมีพระราชบัณฑูรสุรสีหนาท
ให้ พระยาสุเรนทรราชเสนา เป็นนายทัพคุมพลทหารสองร้อย ให้ยกล่วงหน้าไปก่อน เพื่อจักได้ ตรวจหนทางในกลางดงพระยาไฟ ที่ลุ่มดอนให้ทำให้ดีที่ทัพหลวงจักไปในทางนั้น
ให้ พระยาเสนาภูเบศร์ ๑ พระยาบริรักษ์ราชา ๑ พระยาราม ๑ พระ ยาเกียรติ ๑ สี่นายนี้คุมพลทหารสยามสามร้อยคน พลรามัญห้าร้อยคนรวมแปดร้อยคนยกไปเป็นกองแมวเซาแลเป็นทัพแซงด้วย ให้ยกเดิรไปทางเมืองเพชรบูรณ์ โดย รีบเร่งเดิรไปให้เถิงเมืองราชสีมาก่อนทัพหลวง ถ้าเหนเมืองราชสีมาเรียบร้อยปกติดีอยู่ ก็ให้พระยาราม พระยาเกียรติ์ คุมพล รามัญห้าร้อยไปตั้งค่ายขัดด่านทางข้าเมืองพิมาย จักได้ระวังรักษาต้นทางที่ทัพลาวจักมาทางเมืองหนองคาย
ให้ พระยาเสนาภูเบศร์ เป็นผู้กำกับทัพรามัญ
ให้ พระยาบริรักษ์ราชา คุมพลทหารสยามสามร้อย ยกไปเป็นกองลาดตระเวณในป่าดง อย่าให้ลาวส่งคนมาสืบการทัพสยามได้
ให้ พระชาติสุเรนทร์ เป็นกองม้าเร็วอยู่ในกองพระยาบริรักษ์ราชา
ให้ หลวงวิเศษศักดาวุธ กับ หลวงยอดอาวุธ เจ้ากรมกองแก้วจินดา คุมพลทหารกองแก้วจินดาห้าร้อย ยกล่วงหน้าไปก่อน ยึดที่รอรับเสด็จอยู่ที่เขื่อนลั่นคันยาว ในกลางดงพระยาไฟ เพราะที่นั้นเป็นช่องแคบแลทางเดิรบนเนินภูเขาสูงนัก
ณ เดือนห้า แรมสิบค่ำ เพลาย่ำรุ่งแล้ว กับแปดบาท กองทัพทั้งหลายแห่งกรมพระราชวังบวรฯ ต่างพร้อมรอมหาฤกษ์ ครั้นได้เพลาตามตำหรับพิไชยสงคราม ก็บังเกิดมหาเมฆตั้งขึ้นแต่ทิศบูรพา แล้วกลับเคลื่อนเลื่อนกระจายแตกไปในทิศอุดร พระอาทิตย์ ทอ แสงเสียบฟ้าผ่องใส ได้ศุภนิมิตร กรมพระราชวังบวรฯ จึ่งสั่งให้ลั่นฆ้องไชยถวายพระฤกษ์ ไพร่พลทหารกองแก้ว จินดายิงปืนจ่ารงค์ คร่ำทองชื่อ “ปราบเวียงจันทร์” สามนัดต่อบอกหนึ่ง เป็นสัญญาได้เพลาเคลื่อนพล นำด้วยกองหน้าพลม้า ทวน ธนู เป็นลำดับไป ตาม ด้วยกระบวนอัฐเสนางคพิริยะพาหนะ พลพยุหแสนยากร จตุรงค์ทวยหาญครบถ้วนตามพิไชยสงคราม

กรมพระราชวังบวรฯ ทรงช้างพระที่นั่งชื่อพังโกสุม สูงหกศอกคืบสี่นิ้ว ผูกเครื่องมั่นกระโจมทอง สี่หน้า หลังคาสีหักทองขวาง แต่งเป็นพระคชาธาร พระศรีภะวังเป็นหมอ หลวงอินทรคชลักษณ์เป็นควาญ พร้อมด้วยเสนางคจตุรังค์บาท ทั้งเสนี สี่เท้าช้าง แลช้างพระที่นั่งชื่อพังเทพกิริณี ผูกเครื่องมั่น ตั้งวอช่อฟ้าหลังคาทอง มีเครื่องสูงราชูปะโภคพร้อมเป็นช้างรอง
เดินทัพได้แปดวันก็บรรลุเถิงเมืองราชสีมา พระยาเกียรติ์ พระราม อันเดิรทัพล่วงหน้ามาก่อนนั้นมาเฝ้า กราบทูล รายงานถวายว่า ” ซึ่งโปรดเกล้าให้ไปตั้งค่ายรักษาด่านอยู่ทางเมืองพิมายนั้น ขัดสนด้วยน้ำที่กองทัพจักได้อาศัยไม่พอกับไพร่พล จักขอพระราช ทานแบ่งกองทัพไปตั้งอยู่ที่ลำห้วยน้ำเชี่ยว เพื่อจักได้อาศัยใกล้น้ำ แลจักได้รักษาลำห้วยลำธารในตำบลนั้นด้วย ”

กรมพระราชวังบวรฯ มีพระราชบัณฑูรโปรดอนุญาตให้พระยาเกียรติ์พระยาราม แบ่งกองทัพรามัญสามร้อย ยกไปตั้งชุมนุมอยู่ที่ตำบลลำห้วยน้ำเชี่ยวตามที่กราบทูลขอ แต่พระยาเสนาภูเบศร์นั้น โปรดให้คุมกองรามัญสองร้อย อยู่รักษาทางเมืองพิมายอย่างเดิม แล้วโปรดให้หลวงภักดีโยธา นายกองส่วยรง คุมพลลาวเมืองนางรองสองร้อยคน เป็นกองลำเลียงน้ำมาส่งให้ใน กองพระยาเสนาภูเบศร์ แลจักได้ระวังทางเมืองนางรองอีกชั้นหนึ่งด้วยหากข้าศึกจักมา

ขณะกรมพระราชวังบวรฯ กำลังประทับอยู่ที่ค่ายเมืองราชสีมานั้น เจ้าพระยาพระคลังก็เดินพตามขึ้นไปภายหลัง กองทัพหลวง เจ้าพระยาพระคลังเขาเฝ้ากรมพระราชวังบวรฯ กราบทูลข้อราชการเสร็จสิ้นทุกประการแล้ว แต่ยังเฝ้าอยู่ในค่ายก็พอดี จมื่นสมุหพิมาน เชิญท้อง ตราพระราชสีห์ฉบับหนึ่งเข้าไปเถิงเมืองราชสีมา ส่งให้เจ้าพระยาพระคลังในค่าย เจ้าพระยาพระคลังได้รู้ ความในท้องตราทั้งสองฉบับ ที่โปรดเกล้าฯ ” เรียกให้กองทัพเจ้าพระยาพระคลังกลับลงไปรักษากรุงเทพฯ จักได้คิดปรับป้อมค่ายเมืองสมุทร ปราการ เพราะได้รู้ข่าวมาแต่เจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่า เรือกำปั่นรบกองทัพอังกฤษ จักยกเข้ามาในกรุงเทพฯ เหตุใดยังไม่รู้แน่ แล ข่าวเล่าลือกันว่าทัพบาดหลวงฝรั่งที่เมืองญวณ ก็จักยกสมทบเข้ามาด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ไว้พระราชหฤทัยแก่ราชการที่เมืองสมุทร ปราการ แก่ผู้ใดจึ่งโปรดเกล้าฯให้หาเจ้าพระยาพระคลังกลับลงไป จัดการรักษาป้อมปากน้ำตามหน้าที่กรมท่าให้ เรียบร้อย
เมื่อเจ้าพระยาพระคลังได้รู้ความตามท้องตรานั้นแล้ว จึ่งกราบถวายบังคมลากรมพระราชวังบวรฯ กลับลงมากรุงเทพฯ ทางดงพระยาไฟ เถิงกรุงเทพฯ เมื่อเดือนหก ขึ้นสิบสองค่ำ

…ยังมีต่อ

Leave a Reply