เทริด ชฎา มงกุฎ ลอมพอก และปันจุเหร็จ

เทริด ชฎา มงกุฎ ลอมพอก และปันจุเหร็จ

large_DSCF0969

ทั้งเทริด, ชฎา, มงกุฎ, ลอมพอก เป็นเครื่องประดับศีรษะทั้งสิ้น มีรูปร่างและจุดประสงค์การใช้ที่ต่างกัน ต่างพัฒนาสืบเนื่องกันมาและต่อยอดในรูปร่างศิลปะจากราชสำนักสู่เครื่องสวมหัวโขน ละคร

เทริด [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า
ชฎา [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
มงกุฎ น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง
สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ
เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล
มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
ลอมพอก น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวม
ลอมพอก นาคสวมลอมพอก.

สมัยลพบุรี
ศิลปะรับวัฒนธรรมขอม ดูได้จากหลักฐานเครื่องประดับศีรษะของพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยดังกล่าว มีการสวมกระบังหน้า (กรอบหน้า) และสำหรับมวยผมจุก ก็มุ่นขมวดไว้บนกลางศีรษะ ตรงนี้เองทำให้เกิดศิลปะทำเป็นทรงกรวยแหลมขึ้นไปบ้าง ทำเป็นทรงดอกบัว ทรงน้ำเต้าเพื่อให้เกิดความสวยงาม

 

เมื่อสมัยสุโขทัย เราก็รับศิลปะเครื่องประดับศีรษะมาและพัฒนาให้กระชับกับศีรษะมากขึ้น โดยทำเป็นทรงกระบอกครอบไว้ เราเรียกว่า “เทริด”
สำหรับมุ่นมวยผมจุก ช่างก็ได้พัฒนาให้เกิดความสวยงามทำเป็นรูปน้ำเต้า ให้เกิดเป็นยอดแหลมขึ้นไป

 

อย่างเทวรูปองค์นี้ สวมเทริด มีทั้งมุ่นผมจุก และไว้ยาวด้านหลัง ซึ่งเทริดลักษณะนี้ได้ถ่ายทอดลงมายังศิลปะสมัยอยุธยา

 

ในสมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มมีการพัฒนาของเทริด ไปสู่ “มงกุฎ” โดยลดแผงบริเวนศีรษะลงเป็นมาลัยรัด และสำหรับมุ่นมวยผม ก็สวมรัดเกล้า โดยออกแบบให้ผมยาวขึ้น ก็รัดด้วยรัดเกล้าเพิ่มเข้าไปเรื่อยๆ จนเป็นยอดแหลม แต่ยังมีครีบข้างอย่างเทริดเหลือร่องรอยไว้

 

ซึ่งก็คือ ผมที่จัดแหลมขึ้นไป แล้วมีเครื่องรัดผมรัดขึ้นไปเป็นชั้นๆ จนกลายเป็นศิลปะเครื่องสวมศีรษะแทน โดยมงกุฎ จะแปลงออกไปเป็น
๑. พระมหาพิไชยมงกุฎ จะมีชั้นรัดเกล้า ๓ ชั้น เป็นต้น
๒. มงกุฎยอดชัย มีมีรัดเกล้า ๑-๒ ชั้น ย่อมกว่าพระมหาพิไชยมงกุฎ
๓. มงกุฎ + ใส่เกี้ยวยอด รวมเรียกว่า มงกุฎเกี้ยวยอด

 

สำหรับ “ชฎา” ก็กลายจากมงกุฏ โดยสังเกตุจากชั้นแรก จะมีชั้นมาลัยรัดเช่นเดียวกัน แต่หลังจากนั้นจะลาดขึ้นไปจนถึงชั้นรัดเกล้าเลย

 

เปรียบเทียบระหว่าง “ชฎา” และ “มงกุฎ”

 

ลอมพอก ก็กลายมาจากการโพกผ้าที่ศีรษะ และได้พัฒนาประดิษฐ์ให้สวยงามจัดให้ยอดแหลมขึ้นไป และประดับดอกไม้ไหวโดยรอบ เป็นเครื่องเกียรติยศสมัยอยุธยา สำหรับชั้นขุนนาง

 

ปันจุเหร็จ กำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากทรงแปลบทพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา แล้วโปรดเกล้าฯให้เล่นละครในราชสำนักชึ้น เพื่อแสงละครเรื่องอิเหนา และปันจุเหร็จ ถูกแปลงมาจากผ้าโพกหัว โดยมีลักษณะด้านหลังเป็นรอยผ้าผูกไว้ด้านหลัง

 

ปันจุเร็จ ก็พัฒนาด้านการละครเรื่อยมา โดยติดกระบังหน้าเข้าไป ติดดอกไม้ไหว และท้ายสุดทำเป็นลวดโปร่งด้วยเงิน ประดับเพชรรัสเซีย เพิ่มพู่ขนนก กลายไปสู่ “ลิเกทรงเครื่อง” ในท้ายสุดครับ

 

ภาพการสวมปันจุเหร็จ สำหรับลิเกทรงเครื่อง สมัยรัชกาลที่ ๕

 

อันนี้เป็นเทริด ที่นักแสดงมโนราห์ ทางปักษ์ใค้ใช้สวมเวลาแสดง
ภาพนี้ถ่ายจาก สถาบันทักษิณคดีศึกษา จ. สงขลา

 

 

ที่มา: http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/04/K10464356/K10464356.html

Leave a Reply