เรื่องใหญ่ของมันทอดห่อเล็ก

เรื่องใหญ่ของมันทอดห่อเล็ก

10500383_1028973850464385_3469208620698436035_n

รูปทรงนี้ กระจายแรงได้ดี การแตกหักเป็นชิ้นเล็กๆของพริงเกิลส์ มีน้อยลงในระหว่างการตัดเก็บและการขนส่ง ประกอบกับพริงเกิลส์ทำจากแป้ง ไม่ได้หั่นมาจากมันเป็นลูก (แบบเลย์)

รูปทรงแบบอานม้า หรือ hyperbolic paraboliod บริษัท Procter & Gamble นำมาใช้ตั้งแต่ 1960s โดยเป็นแนวคิดของนักเคมี Frederic Baur ที่ทางบริษัทจ้างมาในการสร้างนวัตกรรมชิปมันฝรั่งแห่งอนาคตโดยเฉพาะ ซึ่งทำเพื่อลดการแตกหักของชิปมันฝรั่งขึ้นรูป โดยมีแนวคิดที่คล้ายกับกรณีการประยุกต์ใช้รูปทรงอานม้านี้ในทางวิศวกรรมก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมครับ โดยอาคารที่มีความใหญ่ของหลังคาเป็นพิเศษ อย่างสนามกีฬาและโดมต่างๆ เขาต้องการสร้างให้เป็นโครงสร้างที่เรียกว่า Tensile structure

Tenstile structure คิดค้นขึ้นครั้งแรกโดยวิศวกรชาวรัสเซีย Vladimir Shukhov ใช้สร้างหลังคากระโจมในงาน Nizhny Novgorod Fair ปี 1896 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 27000 ตารางเมตร โดยไม่พังลงมา เพราะแรงกดที่โครงสร้างได้รับ จะกระจายไปในแนวแรงดึงครับ และทรงอานม้า ซึ่งพื้นผิวมีทั้งโค้งลงและขึ้นในเวลาเดียวกัน จะเป็นหนึ่งในรูปทรงแบบนี้ ที่รับแรงได้ดีที่สุดครับ

ในแง่ของการเรียงเป็นชั้นอาจมีผลในแง่หนึ่งที่รองลงมาในการยึดไม่ให้มันเคลื่อนไหวมากในแนวตั้งครับ แต่สิ่งที่ีมีผลมากกว่า คือความโค้ง ซึ่งคู่แข่งอย่าง “เลย์ Stax” ทำความโค้งแตกต่างออกไป ทำให้เราเห็นว่ามีชิ้นส่วนที่แตกหักเสียหายในห่อมากกว่า แม้ว่าจะอาศัยแนวคิดที่คล้ายกัน (คาดว่าทำความโค้งเดียวกับพริงเกิลส์ไม่ได้เพราะอาจถูกฟ้องสิทธิบัตร)

สำหรับความโค้งของพริงเกิลส์ บริษัทพรอกเตอร์แอนด์แกมเบิลส์ ก็มีการปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นอยู่ทุกๆปี โดยอาศัยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในการคำนวณรูปร่างของแม่พิมพ์ครับ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ากาตลาดถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์ต่อปีนี้ ยังคงดีขึ้นเรื่อยๆต่อไป

ที่มา: https://www.facebook.com/sciencedump

Leave a Reply