มนุษย์อวกาศผู้ตกลงมาจากอวกาศ

มนุษย์อวกาศผู้ตกลงมาจากอวกาศ

outer-space-flight-critical-situations-15

วันที่ 24 เมษายน ปี ค.ศ. 1967 เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์โลก เมื่อยานอวกาศของสหภาพโซเวียตนามว่า “โซยุซ 1 (Soyuz 1)” ได้สูญเสียการควบคุมและร่วงลงจากชั้นวงโคจรลงมาสู่พื้นโลกพร้อมกับ “Vladimir Komarov” มนุษย์อวกาศของสหภาพโซเวียต อุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ย้อนกลับไปในยุคสมัยนั้น สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตต่างแข่งขันกันเป็นเจ้าแห่งอวกาศ ต่างคนต่างรีบชิงความเป็นที่หนึ่งเพื่อจะไปยังดินแดนที่ยังไม่เคยมีใครย่างก้าวไปถึงมาก่อน จนกระทั่ง สหภาพโซเวียตสามารถส่ง “ยูริ กาการิน” มนุษย์คนแรกของโลกขึ้นไปบนอวกาศได้สำเร็จเมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีค.ศ. 1961 แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะแสดงความเป็นที่หนึ่งเพราะเป้าหมายใหญ่จริงๆคือ การส่งคนไปลงที่ดวงจันทร์ เช่นเดียวกับโครงการ Gemini ของสหรัฐอเมริกาที่จะส่งคนไปดวงจันทร์เหมือนกัน และแล้ว โครงการ Soyuz ก็ถือกำเนิดขึ้น

ในเที่ยวบินแรกของยานอวกาศ Soyuz 1 นั้น รายละเอียดต่างๆถูกเก็บเป็นความลับจนกระทั่งวันที่ 20 เมษายน ปี ค.ศ. 1967 ชื่อนักบินที่เตรียมไว้ 2 คนก็ประกาศออกไป นั่นก็คือ “วลาดิเมีย โคมารอฟ (Vladimir Komarov)” เป็นนักบินหลัก และ “ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin)” วีรบุรุษของสหภาพโซเวียตที่เคยไปเยือนอวกาศมาแล้วครั้งนึง แต่คราวนี้ เค้ามาในฐานะนักบินสำรอง และกำหนดการปล่อยยานนั้นคือวันที่ 23 เมษายน ปี ค.ศ. 1967

กำหนดการบินของ Soyuz 1 ค่อนข้างวุ่นวายและมีปัญหามาก อีกทั้งตัวยานอวกาศเองก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เหล่าวิศวกรจึงต้องการทดสอบยานอวกาศแบบไม่มีคนขับก่อนเพื่อเช็คความปลอดภัย ซึ่งการทดสอบนี้ก็ดำเนินมาเป็นระยะเวลานานจน Dimitry Ustinov หนึ่งในคณะกรรมการบริหารสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์ทนไม่ไหว เลยกำหนดเส้นตายให้ส่งขึ้นไปบนอวกาศซักที แถมยังกดดันให้ Komarov ขึ้นบินด้วย

ความตึงเครียดนี้ไม่ได้ตกอยู่ที่วิศวกรเพียงคนเดียว เหล่าเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องรวม 203 ชีวิตต่างทำงานกันทั้งวันทั้งคืนตลอดทั้งอาทิตย์ก่อนวันปล่อยจริง และได้ทำรายงานจำนวนหลายสิบหน้าที่เกี่ยวกับความเสียงในการปล่อยยานครั้งนี้ส่งให้กับ “Venyamin Russayev” เจ้าหน้าที่ KGB ที่ทำหน้าที่คุ้มกัน Komarov และเป็นทั้งเพื่อนสนิท ที่รับอาสาจะเอารายงานฉบับนี้ไปส่งให้เบื้องบน

ก่อนวันปล่อยยาน Soyuz 1, Russayev เข้าใจถึงสถานการณ์อันตึงเครียดครั้งนี้ดี เช่นเดียวกับ Komarov เค้าได้บอกกับเพื่อนสนิททิ้งท้ายไว้ว่า “นี่คงเป็นการเดินทางตั๋วเที่ยวเดียวที่ไม่มีวันกลับ” และได้อธิบายต่ออีกว่า ถ้าหากปฏิเสธการขึ้นบินครั้งนี้ไป ยูริ กาการิน ก็ต้องถูกมาแทนที่ในฐานะนักบินสำรอง และเค้าทำใจไม่ได้ที่จะต้องส่งวีรบุรุษของชาติและเพื่อนรักอีกคนขึ้นไปทำหน้าที่แทน ดังนั้น เค้าจึงมีเพียงทางเลือกเดียวคือ การขึ้นบินด้วยตัวเองเท่านั้น หลังจากนั้น Russayev ก็ได้ส่งรายงานไปให้เบื้องบน แต่ว่าไม่มีอะไรตอบกลับมา แถมเค้ายังถูกปลดจากภารกิจโครงการอวกาศนี้ด้วย

และแล้วก็มาถึงวันที่ 23 เมษายน เวลา ตี 3:35 ยาน Soyuz 1 พร้อมกับนักบิน Komarov ก็ถูกปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทุกอย่างดูเป็นปกติ จนกระทั่งเข้าสู่ชั้นวงโคจร ปัญหาก็เริ่มเกิดขึ้น เมื่อแผงโซล่าเซลล์ข้างหนึ่งไม่กางออก Komarov พยายามหาวิธีกางด้วยระบบ manual แทนแต่ก็ไร้ผล จากนั้น ระบบนำทาง, ระบบควบคุมความสูง และระบบเครื่องยนต์ก็ขัดข้องตามมาเป็นลำดับ เหล่าทีมวิศวกรที่ภาคพื้นดินต่างหาวิธีแก้และคอยติดต่อกับ Komarovตลอดเวลา

จนเวลาล่วงเข้าไป 10 โมงเช้า ทีมวิศวกรก็ได้เตรียมแผนที่จะพาตัว Komarov ลงมาอย่างปลอดภัยก่อนที่แบตเตอรรี่จะหมด Komarov ก็ยังคงทำตามที่ฝึกอย่างเคร่งครัด พยายามติดเครื่องจุดระเบิดไอพ่นและรักษาระดับความสูงเอาไว้

จนกระทั่งวันที่ 24 เมษายน ก่อนเวลา 6:20 น. นิดๆ Komarov ก็จุดเครื่องยนต์ได้สำเร็จ แต่ทว่าสูญเสียการทรงตัวเนื่องจากแผงโซล่าเซลล์ข้างหนึ่งที่ไม่กางออกเลยทำให้เสียสมดุล ส่วนร่มหลักก็ไม่ทำงานและร่มฉุกเฉินก็ไปพันกับร่มหลักทำให้ไม่สามารถกางออกได้ ไม่นาน ตัวยานก็เริ่มหมุนควงร่วงลงมาจากอวกาศ ขณะเดียวกันทางสหรัฐอเมริกาก็ได้ดักฟังและได้ยินการสื่อสารในช่วงนาทีสุดท้าย พอดีกับช่วงที่ Alexei Kosygin ประธานสภา ได้เดินทางมาคุยกับ Komarov ผ่าน video conference พร้อมกับร้องไห้และยกย่องเค้าในฐานะวีรบุรุษ ไม่นานนัก ภรรยาของ Komarov ก็มาถึง ทั้ง 2 ได้คุยสั่งเสียกันและบอกลาเป็นครั้งสุดท้าย

ในช่วงตอนท้ายของการสนทนา เสียงของ Komarov ได้แสดงถึงอาการแตกตื่นตกใจ พร้อมกับประนามเรื่องสงครามเย็น ทางฝั่งอเมริกาที่ดักฟังอยู่ไม่สามารถช่วยอะไรได้นอกจาก รู้สึกหดหู่และเสียใจในเหตุการณ์ครั้งนี้ การติดต่อครั้งสุดท้าย Komarov ได้ตะโกนอย่างสับสนและบ้าคลั่งเมื่อรู้ว่าโอกาสรอดชีวิตของเค้าไม่มีอีกแล้ว ก่อนจะดับหายไป

ยาน Soyuz 1 พุ่งกระแทกสู่พื้นโลกด้วยความเร็วพอๆกับอุกาบาตขนาด 2.8 ตัน อุปกรณ์ดับเพลิงไม่สามารถดับไฟที่ลุกท่วมยานได้ ดังนั้น หน่วยกู้ภัยจึงใช้วิธีใช้ดินกลบไปยังบริเวณที่ไฟไหม้แทน เมื่อไฟดับหมด หน่วยกู้ภัยจึงเริ่มแงะประตูยานอวกาศออก ภายในนั้นพบศพของ Komarov ที่ไหม้จนไม่เหลือเค้าโครงเดิมอยู่ตรงที่นั่งนักบินหลักกลางยานพร้อมกับสวมหูฟังที่ใช้คุยกับภาคพื้นดินจนถึงวาระสุดท้าย

 

ที่มา: unigang.com

Leave a Reply