เจ้าพ่อประตูผา

เจ้าพ่อประตูผา

picture-121255041057

เจ้าพ่อประตูผาหรือ”พระยามือเหล็ก” เป็นคนบ้านต้า (ปัจจุบันคือบ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง) เป็นเด็กกำพร้าบิดามารดา บวชเรียนป็นศิษย์ของเจ้าอธิการวัดนายาง อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้ศึกษาวิชาอยู่ยงคงกระพัน สามารถใช้แขนแทนโล่ห์ได้ เมื่อลาสิกขาออกมา ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หนานข้อมือเหล็ก”

ต่อมาไปเป็นทหารเมืองเขลางค์ (ลำปาง) รับใช้เจ้าเมืองลำปางขณะนั้นคือ เจ้าลิ้นก่าน (ลิ้นสีดำ) เพราะมีนิสัยกล้าหาญและมีฝีมือในการรบ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยามือเหล็ก

ต่อมาเมืองเขลางค์ถูกทัพพม่าซึ่งมีท้าวมหายศซึ่งยึดครองเมืองลำพูนรุกราน เจ้าลิ้นก่านพร้อมกับทหารจำนวนหนึ่งและพระยามือเหล็กจึงหนีมาตั้งหลักที่ดอยประตูผา และได้มอบหมายให้ขุนนาง 4 คนคือ แสนเทพ แสนหนังสือ แสนบุญเรือน และจเรน้อย ดูแลรักษาเมืองอยู่ ขุนนางทั้งสี่ไม่กล้าต่อสู้กับทหารพม่าซึ่งกำลังจะเข้าบุกเมือง เจ้าอธิการวัดนายางจึงรวบรวมชาวบ้านเข้าต่อสู้สกัดทัพพม่า แต่ก็สู้ไม่ได้ต้องแตกหนีกันไป

ท้าวมหายศแม่ทัพพม่าจึงส่ง ขุนนาง3คนคือ หารฟ้าฟื้น หารฟ้าแมบ และหาญฟ้าง้ำ เข้ามาเจรจากับฝ่ายเมืองเขลางค์ให้ยอมแพ้ แต่ก็ตกลงกันไม่ได้ พม่าจึงบุกเข้าเมืองและสังหารขุนนางทั้งสี่ แต่จเรน้อยหนีรอดไปได้และไปสมทบกับเจ้าลิ้นก่าน ทหารพม่าไล่ติดตามมาทันที่ดอยประตูผา ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นหน้าผาสูงชัน มีทางเข้า ออก เพียงทางเดียว

พญาข้อมือเหล็กจึงให้จเรน้อยพาเจ้าลิ้นก่านไปหลบอยู่ในถ้ำ และได้เข้าต่อสู้กับทหารพม่าอย่างกล้าหารโดยใช้ดาบสองมือ ทหารพม่าล้มตายลงเป็นอันมาก จนทหารพม่าล่าถอยไปไม่กล้าบุกต่อ พญาข้อมือเหล็กอ่อนแรงถือดาบนั่งพิงหน้าผาคุมเชิงอยู่จนสิ้นใจ ฝ่ายทหารพม่าก็ไม่กล้าบุกเข้ามาเพราะนึกว่าเป็นกลอุบายจึงล่าถอยกลับเมืองเขลางค์ เมื่อเมื่อเจ้าลิ้นก่านและจเรน้อยออกมาจึงพบร่างพญาข้อมือเหล็กสิ้นใจพิงหน้าผาอยู่ จึงได้ตั้งศาลเพียงตาและเชิญดวงวิญญาณของพญาข้อมือเหล็กมาสิงสถิตอยู่ เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงความดีและความกล้าหาญไว้ให้บรรพชนรุ่นหลังได้รำลึกถึง โดยตั้งชื่อว่า”ศาลพญาข้อมือเหล็ก” ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า”ศาลเจ้าพ่อประตูผา”

ที่มา: http://www.thamnaai.com

Leave a Reply