หิรันตยักษ์ พญายักษ์แห่งยอดเขาจักรวาล ตั้งโรงพิธีบนยอดเขาวินันตกคีรี บูชาพระอิศวร แห่งเขาไกรลาส จนได้รับพรให้มีฤทธิ์เดชมหาศาลสามารถม้วนแผ่นดินได้ ด้วยความกำเริบคิดว่าตนเองมีฤทธิ์เดชไม่มีผู้ใดทัดเทียม แม้แต่ฤาษี นักพรต เทวดา ต่างก็พากันเกรงกลัวในอิทธิฤทธิ์ ว่าแล้วหิรันตยักษ์ก้แสดงฤทธิ์เดชให้ทั้งสามโลกได้รับรู้ด้วยการ จับผืนแผ่นดินม้วนแล้วหนีบเข้ารักแร้เหาะไปยังเมืองบาดาล เกิดเป็นเรื่องราวใหญ่โตเดือดร้อนไปทั่ว จนเรื่องถึงหูพระอิศวรผู้มอบพรวิเศษให้ พระอิศวรจึงมีบัญชาการ มอบหมายให้ พระนารายณ์ไปปราบหิรันตยักษ์ Read More
ตรีบูรัม
เมืองโสฬสซึ่งเป็นเมืองอสูร ปกครองโดย “ตรีบูรัม” (บางทีเรียก ตรีปุรัม) เป็นราชาอสูรผู้เกรียงไกร ใครๆ ก็เกรงขามในฤทธิ์เดช ครั้งหนึ่ง ตรีบูรัมต้องการที่จะมีฤทธิ์เดชที่เหนือกว่าเทพเทวาทั้งปวง แม้แต่พระนารายณ์ก็ไม่อาจเอาชนะได้ จึงจัดทำพิธีกองกูณฑ์อัคคี ใต้ต้นรังใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำสารภู ใช้เวลานานถึงเจ็ดปีเจ็ดวัน จึงสำเร็จพิธี Read More
สาวิตรี ผู้คืนชีพสามีจากยมราช
สาวิตรี เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โดยเรื่องของนางสาวิตรีเป็นอุปขยาน (เรื่องแทรก)ในมหากาพย์มหาภารตะ ถูกหยิบยกนำมากล่าวถึงเมื่อครั้งที่นางเทราปตีโดนฉุดไป
ซัมบัล น้ำพริกที่น่ารู้จัก
ซัมบัล (Sambal) ซอสที่ทำมาจากพริกนี้นิยมกินกันมากในอาหารอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซัมบัลเป็นทั้งซอส เครื่องเคียง และเครื่องจิ้ม ในตำราอาหารบางเล่มก็จัดไว้ในประเภทน้ำพริก ช่วยเพิ่มรสให้กับอาหาร ทำมาจากพริกหลายชนิด เช่น พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูสวน พริกของแต่ละท้องถิ่น พริกคาเยน หรือพริกฮานาเบโร บดผสมรวมกับน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าว เกลือ และน้ำตาล
ศกุนตลา
“ศกุนตลา” …เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างศกุนตลาธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะ เป็นผู้มีความงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง กับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม แต่ความรักของคนทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส
อรหัน ไม่ใช่พระ
อรหัน เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี
อรหัน มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “จิงโจ้” มักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น Read More
พระอัญญาโกณฑัญญะหายไปไหน?
ทุกคนต่างรู้จักพระอัญญาโกณฑัญญะ โดยทราบว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรก และเป็นพระรูปแรกที่บรรลุธรรมหลังจากได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตร และบทถัดมา แต่ว่าเราไม่ค่อยทราบกันเลยว่าท่านหายไปไหนหลังจากบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว
Read More
เทศกาลกินผักมงคล 7 ชนิด (七樣菜)
ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะมีเทศกาลอื่นๆ รวมอยู่ด้วยมากมายหลายเทศกาล โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนวันตรุษจีนยาวไปจนถึงวันเทศกาลง้วงเซียว (元宵節) หรือที่ชาวไทยเรารู้จักกันว่าวันเทศกาลชาวนาหรือเทศกาลโคมไฟ อันจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 1 (正月大 十五) ตามปฏิทินจันทรคติจีนและถือว่าเป็นวันสิ้นสุดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ของ ชาวจีนด้วย
มุกตลก หรือ มุขตลก
เนื่องจากมีผู้สับสนเรื่องการใช้คำ “มุกตลก” และ “มุขตลก” ว่าที่ถูกต้องควรสะกดด้วย “ก” หรือ “ข” นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอชี้แจงถึงเหตุผลที่เก็บคำ “มุกตลก” ที่สะกดด้วย “ก” โดยมีที่มาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้
– กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า
เครื่องราชกกุธภัณฑ์
กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลีมาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร หรือเรียกรวมกันว่า “เบญจราชกกุธภัณฑ์”