Category: 3Thai

หมอกาฬโรค หรือ หมออีกาดำ

หมอกาฬโรคหรือหมออีกาดำ (Plague Doctor) เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญต่อยุโรปช่วงยุคกลางเป็นอย่างมาก ตั้งเเต่คริสต์ศตวรรษที่ 13-17 หมอกาฬโรคเป็นเเพทย์ที่คอยรักษาผู้ป่วยกาฬโรคโดยเฉพาะ จัดเป็นเเพทย์เฉพาะทางในสมัยนั้น พวกเขามักเป็นเเพทย์ที่จบใหม่หรือเเพทย์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพสักเท่าไหร่ หมอกาฬโรคบางคนจึงมีประสบการณ์ด้านการเเพทย์น้อยมาก

Read More

ฝนโบกขรพรรษ

47

ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระประยูรญาติ เมื่อพระองค์เสด็จถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ฝ่ายพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประธานเสด็จมาต้อนรับ ต่างก็ยังมีทิฐิมานะแรงกล้าไม่ยอมนอบน้อมนมัสการพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่าพระพุทธองค์มีวัยอ่อนกว่าตน พระพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุดังนั้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จลอยขึ้นไปจงกรมอยู่บนอากาศ ให้ธุลีละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรเหล่าพระประยูรญาติลำดับนั้น หมู่พระประยูรญาติต่างพากันคลายทิฐิมานะ ประคองอัญชลีนมัสการชื่นชมโสมนัสด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธองค์ ขณะนั้น “ฝนโบกขรพรรษ” ก็ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์

Read More

อภยปริตร(พระคาถายันทุน)

slide2

บทสวด  “อภัยปริตร”  พระพุทธมนต์ เป็นปริตรแห่งการให้อภัย  และอโหสิกรรม  ในเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในชีวิตและสังคม

เนื้อหาของบท อภยปริตร กล่าวถึง การตั้งจิตน้อมเอาอานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัย ช่วยบําบัดปัดเป่าลางร้ายอันเกิดจากสิ่งที่่ทําให้ไม่สบายใจ บาปสงเคราะห์ ฝันร้าย และสิ่งอันเป็นอัปมงคลทั้งหลาย ทั้งปวงให้พินาศไป

นอกจากมีความสั้น-ยาวพอดีๆ  คำสวดง่าย  บุรพาจารย์ท่านประพันธ์ขึ้นเพื่อน้อมเอาพระรัตนตรัยขจัดปัดเป่าลางร้ายต่างๆ  ให้สิ้นไป

 

Read More

ตาลปัตร

20120625164754mRjU

ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด) ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล, พัดใบลาน

ตาลปัตร ของเดิมเป็นพัดที่ทำจากใบตาลหรือใบลานสำหรับพัดตัวเองเวลาร้อนหรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระและคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นและใช้บังหน้าเวลาทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร และแม้ภายหลังจะใช้ผ้าสีต่างๆ หุ้มลวดหรือไม้ไผ่ซึ่งขึ้นรูปเป็นพัดก็อนุโลมเรียกว่าตาลปัตร

ในพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่สองได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองเมืองราชคฤห์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงนับถือ ชฎิลสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงไปโปรดชฎิลสามพี่น้องก่อน เมื่อทรงแสดงธรรมจนกระทั่งชฎิลสามพี่น้องละความเชื่อดังเดิมของตน ยอมเป็นสาวกของพระองค์แล้ว พระองค์ก็ทรงพาชฏิลทั้งสามพร้อมสาวกอีกพันรูป เสด็จไปประทับยัง ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองราชคฤห์

Read More

พระนางศุภยาลัต ราชินีสุดโหดในประวัติศาสตร์พม่า

C5k5tOFUYAAJgkd

พระนางศุภยาลัต (พม่าออกเสียง: ซุพะย๊าละ) ประสูติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา เป็นราชบุตรีของพระเจ้ามินดง กับมเหสีรอง พระนางชินพยูมาชิน (นางพญาช้างขาว หรือที่รู้จักกันในนามพระนางอเลนันดอ)

พระนางศุภยาลัตมีพระเชษฐภคินีคือ พระนางศุภยาคยี และมีพระขนิษฐาคือเจ้าหญิงศุภยากเล

อุปนิสัยของพระนางศุภยลัตมีลักษณะเหมือนพระราชมารดา คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง เชื้อสายดั้งเดิมเป็นสามัญชน เนื่องจากยายของพระนางเป็นแม่ค้าขายของในตลาดมาก่อน พระนางศุภยลัตจึงได้เป็นพระราชินีใน พระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า

Read More

2508 ปิดตลาดท่าเรือปล้น

559000004464407

        พ.ศ. ๒๕๐๘
       ตลาดท่าเรือ ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเป็นชุมชนที่ไม่ใหญ่โตนัก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มีเพียงห้องแถวไม้ชั้นเดียวตั้งเรียงรายอยู่สองฟากถนนที่ตัดมุ่งตรงไปยังสถานีรถไฟ แต่การค้าของตลาดท่าเรือก็คึกคักพอสมควร มีสาขาธนาคารเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ มีร้านทองถึง ๕ ร้าน แต่ละร้านก็แขวนทองโชว์เต็มตู้ประชันกัน โดยไม่คิดว่าจะมีโจรที่ไหนกล้ามาปล้น เพราะอยู่กลางตลาด ห่างจากสถานีตำรวจและที่ว่าการอำเภอประมาณ ๑๐๐ เมตรเท่านั้น
       แต่แล้วในเย็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๘ ราว ๑๖.๒๐ ก็มีรถเมล์สองแถวสีเทาคันหนึ่งวิ่งเข้ามาอย่างช้าๆ จอดที่หน้าโรงแรมตั้งซาฮะ ภายในรถมีชายฉกรรจ์สิบกว่าคน อาวุธครบมือ แต่งกายคล้ายเครื่องแบบครึ่งท่อน นุ่งกางเกงสีกากี ผู้คนในตลาดเห็นก็นึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับผู้ร้ายมา
       ทันทีที่รถจอด ชายคนหนึ่งถือปืนคาร์ไบน์และยังมีถุงผ้าหูรูดห้อยติดข้อมือ กระโดดลงมาเป็นคนแรก แล้วยิงปืนขึ้นฟ้า ๑ นัด ประกาศก้องว่า “อ้ายเสือบุก!”

Read More

พระสุหร่าย

c0854c9a71fdd76d656e30a1fcb8f53c

การใช้น้ำประพรมเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่บุคคลหรือสถานที่นั้นเป็นคตินิยมสืบเนื่องกันมาช้านาน ในพระพุทธศาสนาตามพระบาลีก็ได้กล่าวถึงการเสกน้ำพระพุทธมนต์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประพรมเพื่อระงับโรคภัย ส่วนคติพราหมณ์ก็มีการเสกน้ำเทพมนตร์ด้วยมนตร์คาถาต่างๆ จากคัมภีร์พระเวท และไม่เพียงแต่ในแถบทวีปเอเชียเท่านั้นที่นิยมการประพรมน้ำ หากแต่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกและศาสนาอิสลาม ก็ยังปรากฏมีการประพรมน้ำในศาสนพิธีให้เห็นอยู่เนืองๆ

เท่าที่ปรากฏอยู่ในเวลานี้ ในพุทธศาสนพิธีนิยมใช้มัดหญ้าคาหรือกิ่งมะยมจุ่มน้ำพระพุทธมนต์เพื่อประพรม อย่างไรก็ดีวิธีประพรมน้ำในพิธีแบ็พทิสต์ (Baptism) ของคริสต์ศาสนาในบางท้องที่รวมไปถึงการประพรมน้ำบนมือคู่บ่าวสาวในพิธีแต่งงานของชาวมุสลิมแถบมลายูนั้น มีอุปกรณ์พิเศษที่ต่างออกไปจากพุทธศาสนา อุปกรณ์นั้นมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Rosewater Sprinkler” หรือที่คนไทยเรียกว่า “สุหร่าย” หรือ “เต้าสุหร่าย” เป็นภาชนะคล้ายขวดคอสูง ที่ปลายปากขวดมีรูเล็กๆ สำหรับให้น้ำกระเซ็นออกมาเป็นฝอยเวลาสลัดหรือฟาด

Read More

กุททาลบัณฑิต

maxresdefault3

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุงพาราณสี.พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคนปลูกผัก ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วได้นามว่า “กุททาลบัณฑิต”.

ท่านกุททาลบัณฑิตกระทำการฟื้นดินด้วยจอบ เพาะปลูกพืชพันธ์และผัก มีน้ำเต้า ฟักเขียว ฟักเหลืองเป็นต้น เก็บผักเหล่านั้นขาย เลี้ยงชีพด้วยการเบียดกรอ. แท้จริง ท่านกุททาลบัณฑิต นอกจากจอบเล่มเดียวเท่านั้น ทรัพย์สมบัติอย่างอื่นไม่มีเลย.

Read More

มรณสักขีแห่งสองคอน

E8085335-28

100 กว่าปีก่อน บ้านสองคอนถูกบุกเบิกโดยข้าราชการยศท่านขุน พร้อมข้าทาสบริวารอีกหลายสิบชีวิต แต่อยู่ไปอยู่มา ผู้คนก็เริ่มเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจาก “ผีดุ” หรือ “เจ้าที่แรง” จึงมีผู้เชิญบาทหลวงฝรั่งที่นครพนม ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการ “ไม่กลัวผี” ให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา

หลวงพ่อท่านนั้นแก้ปัญหาด้วยการรักษาอาการป่วยแก่ชาวบ้าน แล้วจึงสอนให้พวกเขารับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์
นอกจากนี้ ยังมีคนอีกสองกลุ่มที่ขอมาอาศัยในบ้านสองคอน และยอมเข้ารีตเป็นคริสตชน นั่นก็คือ ชาวบ้านซึ่งถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านอื่น เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผีปอบ” และบรรดาผู้เคยตกเป็นทาส ที่ได้รับการไถ่ตัวจากบาทหลวง

Read More

สดับปกรณ์

27.10.4

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ในสาส์นสมเด็จถึงที่มาของการ บังสุกุล และสดับปกรณ์ ว่ามาจากพุทธประวัติความว่า

“ขอทูลเปนเรื่องปกิรณกะต่อไปอีกเรื่อง 1 วันหม่อมฉันไปทำบุญที่หน้าพระศพสมเด็จกรมพระสวัสดิฯไปนึกขึ้นว่าการที่พระสงฆ์ชักผ้าสวด “อนิจจา วัฏสังขารา” นั้นเราเรียกเปน 2 อย่าง

ถ้าพระศพเจ้านายเรียกเปนราชาศัพท์ว่า “สดัปกรณ์” ถ้ามิใช่ศพเจ้าเรียกว่า “บังสกุล” ที่จริงผิดถนัดทีเดียว เพราะบังสกุลกับสดัปกรณ์เปนการต่างกัน Read More