การทดลองเริ่มขึ้นอย่างแท้จริงเมื่ออาสาสมัครที่รับบทเป็นนักโทษถูกบุกเข้าไปจับกุมตัวถึงบ้านในข้อหาปล้นอาวุธและลักทรัพย์ โดยการจับกุมครั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากตำรวจจริง การจับกุม การถูกค้นตัว การสอบประวัติ พิมพ์ลายนิ้วมือ ถ่ายรูปผู้ต้องหา ขึ้นทะเบียนนักโทษ และส่งตัวเข้าเรือนจำทุกอย่างทำตามขั้นตอนของจริงที่ผู้ต้องหาทุกคนพึงเจอ ทั้งนี้เพื่อให้ทุกอย่างสมจริงมากที่สุด การดำเนินการขั้นต้นนี้จึงไม่มีการแจ้งล่วงหน้าแก่ตัวอาสาสมัครที่เป็นนักโทษแต่อย่างใด Read More
คุกจำลอง Stanford ตอนที่ 1
The Stanford Prison Experiment หรือ SPE สามารถสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นการทดลองเพื่อศึกษาผลกระทบทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความประพฤติและการตอบสนองในการเป็นนักโทษและผู้คุม การทดลองนี้ได้ถูกจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Stanford ในระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม ปี 1971 (แทบจะเป็นช่วงที่เหตุการณ์ที่หมีลายกำลังเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกานั่นเอง) ผู้นำการทดลองคืออาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาชื่อ Philip Zimbardo เงินสนับสนุนในโครงการนี้มาจาก the US Office of Naval Research เพื่อประโยชน์ของ the US Navy กับ Marine Corps ในการสืบสวนความเป็นไปได้ของสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างทหารผู้คุมและนักโทษในอดีต Read More
ทุ่งสังหาร นรกบนดินในยุคเขมรแดง
คำว่า genocide เป็นคำที่รุนแรง มันมากกว่าคำว่า murder ที่แปลว่าการฆ่า หรือฆาตกรรม และมากกว่าคำว่า kill ที่แปลว่า การฆ่า genocide เป็นคำที่พูดถึงการฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำให้ชาติใดชาติหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสูญพันธุ์ให้ได้
อนุสรณ์นี้หากมองดูเพียงภายนอกแล้ว หลายคนอาจจะคิดว่ามันก็คืออนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเอกราชของชาวเขมรเท่านั้น แต่ใครจะรู้ว่าภายในมันกลับบรรจุไว้ด้วยเรื่องราวอันโหดเหี้ยมและภาพอันน่าสะพรึงกลัวที่ไม่มีวันจะลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวเขมรได้เลย เพราะภายในอนุสรณ์สถานเจืองเอ็กนั้นคือสถานที่เก็บหัวกะโหลกของชาวเขมร เหยื่อของการสังหารโหดที่เรียกว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา มันจึงเป็นเสมือนสถานที่แสดงถึงความโหดร้ายและระลึกถึงผู้เสียชีวิตชาวเขมรที่ต้องดับดิ้นลงไปด้วยน้ำมือของคนชาติเดียวกัน
คุกตวลสเลง ความป่าเถื่อนที่โลกต้องจารึก
ตำนานสังหารที่โลกไม่เคยลืม
บทบันทึกความเลวร้ายที่ปรากฎในประวัติศาสตร์
ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ
โศกนาฏกรรม “กัมพูชา” ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518
ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความโหดเหี้ยม
ปฏิบัติการ Market Garden การจู่โจมที่ ‘ล้มเหลวที่สุด’ ของฝ่ายสัมพันธมิตร
ถ้าพูดถึงปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนอาจนึกถึงวันยกพลขึ้นบกหรือวันดีเดย์ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ซึ่งปฏิบัติการนี้ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในเวลาต่อมา
แต่รู้หรือไม่ เพียงไม่กี่เดือนหลังจากปฏิบัติการดีเดย์ พวกเขาต้องพบกับปฏิบัติการที่ล้มเหลวที่สุดครั้งหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตร
แค่นี้….ชีวิต
เวลาของวันหนึ่งนั้นสั้นมาก
สั้นจนยังไม่ทันได้กล่าวอรุณสวัสดิ์
พระอาทิตย์ก็พลันตกดินเสียแล้ว
เวลาของหนึ่งปีนั้นก็สั้นมาก
สั้นจนไม่รู้ว่าฤดูหนาวมาเยือนเมื่อไหร่
ฤดูร้อนก็เข้ามาแทนที่เสียแล้ว
หมอกาฬโรค หรือ หมออีกาดำ
หมอกาฬโรคหรือหมออีกาดำ (Plague Doctor) เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญต่อยุโรปช่วงยุคกลางเป็นอย่างมาก ตั้งเเต่คริสต์ศตวรรษที่ 13-17 หมอกาฬโรคเป็นเเพทย์ที่คอยรักษาผู้ป่วยกาฬโรคโดยเฉพาะ จัดเป็นเเพทย์เฉพาะทางในสมัยนั้น พวกเขามักเป็นเเพทย์ที่จบใหม่หรือเเพทย์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพสักเท่าไหร่ หมอกาฬโรคบางคนจึงมีประสบการณ์ด้านการเเพทย์น้อยมาก
ฝนโบกขรพรรษ
ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพระประยูรญาติ เมื่อพระองค์เสด็จถึงพระนครกบิลพัสดุ์แล้ว ฝ่ายพระประยูรญาติมีพระเจ้าสุทโธทนะเป็นประธานเสด็จมาต้อนรับ ต่างก็ยังมีทิฐิมานะแรงกล้าไม่ยอมนอบน้อมนมัสการพระบรมศาสดา ด้วยเห็นว่าพระพุทธองค์มีวัยอ่อนกว่าตน พระพุทธองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุดังนั้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์เสด็จลอยขึ้นไปจงกรมอยู่บนอากาศ ให้ธุลีละอองพระบาทหล่นลงมาบนพระเศียรเหล่าพระประยูรญาติลำดับนั้น หมู่พระประยูรญาติต่างพากันคลายทิฐิมานะ ประคองอัญชลีนมัสการชื่นชมโสมนัสด้วยบุญญาภินิหารของพระพุทธองค์ ขณะนั้น “ฝนโบกขรพรรษ” ก็ตกลงมาเป็นที่น่าอัศจรรย์
อภยปริตร(พระคาถายันทุน)
บทสวด “อภัยปริตร” พระพุทธมนต์ เป็นปริตรแห่งการให้อภัย และอโหสิกรรม ในเหตุการณ์ที่ทําให้เกิดความขัดแย้งในชีวิตและสังคม
เนื้อหาของบท อภยปริตร กล่าวถึง การตั้งจิตน้อมเอาอานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัย ช่วยบําบัดปัดเป่าลางร้ายอันเกิดจากสิ่งที่่ทําให้ไม่สบายใจ บาปสงเคราะห์ ฝันร้าย และสิ่งอันเป็นอัปมงคลทั้งหลาย ทั้งปวงให้พินาศไป
นอกจากมีความสั้น-ยาวพอดีๆ คำสวดง่าย บุรพาจารย์ท่านประพันธ์ขึ้นเพื่อน้อมเอาพระรัตนตรัยขจัดปัดเป่าลางร้ายต่างๆ ให้สิ้นไป
ตาลปัตร
ตาลปัตร (อ่านว่า ตาละปัด) ตามรูปศัพท์แปลว่า พัดใบตาล, พัดใบลาน
ตาลปัตร ของเดิมเป็นพัดที่ทำจากใบตาลหรือใบลานสำหรับพัดตัวเองเวลาร้อนหรือพัดไฟ ใช้กันทั้งพระและคฤหัสถ์ ต่อมามีการต่อด้ามให้ยาวขึ้นและใช้บังหน้าเวลาทำพิธีทางศาสนาของพระสงฆ์ เช่นในเวลาให้ศีลและให้พร และแม้ภายหลังจะใช้ผ้าสีต่างๆ หุ้มลวดหรือไม้ไผ่ซึ่งขึ้นรูปเป็นพัดก็อนุโลมเรียกว่าตาลปัตร
ในพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่สองได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ผู้ครองเมืองราชคฤห์ แต่เนื่องจากในเวลานั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงนับถือ ชฎิลสามพี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงไปโปรดชฎิลสามพี่น้องก่อน เมื่อทรงแสดงธรรมจนกระทั่งชฎิลสามพี่น้องละความเชื่อดังเดิมของตน ยอมเป็นสาวกของพระองค์แล้ว พระองค์ก็ทรงพาชฏิลทั้งสามพร้อมสาวกอีกพันรูป เสด็จไปประทับยัง ลัฏฐิวัน (สวนตาลหนุ่ม) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองราชคฤห์