Tag: ประวัติศาสตร์

พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Epilogue “Nothing Ever Ends”

ตำนานยุทธหัตถี
พ.ศ. ๒๑๓๕ หลังจากพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา พระองค์ทรงพิโรธเหล่าทหารที่ตามเสด็จมาอารักขาไม่ทัน คิดว่าเพราะมีใจขลาด ยำเกรงศัตรูยิ่งกว่าพระองค์ จึงจะลงโทษหนัก หากสมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ในยุคนั้นได้ทูลทัดทานว่า ที่ข้าราชการเหล่านี้จะเกรงข้าศึกกว่าพระองค์นั้นเห็นไม่เป็นได้ แต่น่าจะเกิดจากเหตุบันดาลให้เข้าไปมีชัยชนะโดยลำพัง
ด้วยการทำยุทธหัตถีโดยกษัตริย์ต่อกษัตริย์นี้เป็นโอกาสที่เกิดขึ้นได้ยาก หากกษัตริย์ใดกระทำ แม้เป็นฝ่ายแพ้ก็จะมีชื่อเสียงว่าสมชายชาติทหาร หากชนะก็จะมีเกียรติยศเลื่องลือไปทั่ว

พระนเรศวรทำยุทธหัตถี

Read More

พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Part III Carnage

ปี 2002 ขณะที่ความฝันของการเป็นรัฐโดยชอบธรรมเข้าใกล้ความเป็นจริงที่สุดนั้น ประภาการันทราบดีว่าเขาต้องสลัดภาพลักษณ์ “ผู้ก่อการร้าย” ให้พ้นเสียก่อน จึงจะขึ้นเป็นผู้นำของรัฐเกิดใหม่ได้อย่างสง่างาม
ด้วยเหตุนี้ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ประภาการันจึงได้จัดงานแถลงข่าวขึ้นที่เมืองคิลินอชชิ และเชื้อเชิญสื่อมวลชนจากสำนักข่าวชื่อดังทั่วโลก เช่น BBC, CNN, New York Time มาให้สัมภาษณ์
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
งานแถลงข่าวของประภาการัน
ในวันนั้น ประภาการันใช้โทนเสียงที่อ่อนลง เขาพูดถึงเรื่องราวการต่อสู้เพื่อกู้ชาติที่กล้าหาญและสวยงาม เขาปฏิเสธการสังหารหมู่ หรือการก่อการร้ายใดๆ เปรียบเทียบมันกับความชั่วร้ายของฝ่ายรัฐบาล และบอกว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นในสงคราม
เหตุการณ์เป็นไปด้วยดีจนกระทั่งมีนักข่าวคนหนึ่งถามว่า “คุณคิดอย่างไรกับการลอบสังหารนายกรัฐมนตรี ราจีฟ คานธีของอินเดีย?”

Read More

พยัคฆ์ทมิฬ สิ้นชาติ: Part I The New Justice

ประเทศศรีลังกา เป็นเกาะเล็กๆที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย มีขนาดประมาณ 1 ใน 8 ของประเทศไทยประมาณ มีประชากรราว 20 ล้านคน ร้อยละ 75 เป็นชาวสิงหล ร้อยละ 11 เป็นชาวทมิฬศรีลังกา นอกนั้นเป็นชาวมัวร์ มาเลย์ อินเดีย ชาวยุโรปและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ

ท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองในศรีลังกา ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างชาวสิงหลซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ กับชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ โดยกลุ่มกบฏพยัคฆ์ทมิฬต้องการจะตั้งประเทศของพวกตนชื่อว่า “อีแลม” ขึ้นทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศศรีลังกา
เรื่องนี้พึ่งจะจบลงเมื่อมี 2009 โดยฝ่ายรัฐบาลปราบปรามกบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลมจนราบคาบ เป็นการยุติสงครามที่ดำเนินมากว่าสามสิบปี

Read More

ธนบัตรไทยถีบ

ช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลไทยขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นพิมพ์ธนบัตรให้ เนื่องจากไม่สามารถติดต่อพิมพ์ธนบัตรจากประเทศอื่นได้ ครั้นสงครามทวีความรุนแรงขึ้น การขนส่งจากประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถทำได้โดยสะดวก ประกอบกับช่วงนั้นญี่ปุ่นบุกยึดเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ปรากฎว่ามีโรงพิมพ์เอกชนของเนเธอแลนด์ สร้างไว้ที่จากาตาร์ญี่ปุ่นจึงใช้โรงพิมพ์นี้พิมพ์ธนบัตรราคา 10 บาท โดยไม่ได้พิมพ์หมวดหมายเลขและลายมือชื่อรัฐมนตรีกรทรวงการคลัง เมื่อพิมพ์เสร็จก็ขนส่งไปไว้ที่สิงคโปร์(โชนัน)แล้วขนส่งทางรถไฟมายังกรุงเทพฯ  เพื่อมาส่งให้รัฐบาลไทยจัดพิมพ์หมายเลขและลายเซ็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง

_DSF2941-horz

ธนบัตรที่พิมพ์มาโดยไม่มีหมายเลขและลายเซ็นต์

Read More

จำกัด พลางกูร

หลังจากญี่ปุ่นบุกไทยในปลายปี 2484 ต้นปี 2485 รัฐบาลไทยก็ประกาศสงครามกับฝ่ายพันธมิตร (อังกฤษและสหรัฐอเมริกา) และร่วมรบกับญี่ปุ่น ประชาชนไทยทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากที่รักชาติไม่พอใจ และร่วมกันสร้างองค์กรต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ โดยมีหลวงประดิษฐ์ มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ เป็นหัวหน้า

Read More