เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอยหรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึ๋งเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย
คันคากรบพญาแถน สงครามตามล่าหาน้ำ
(ซ้าย) กบตัวเดียวบนหน้ากลองทองมโหระทึก พบที่ ต. ท่าเรือ อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช (กลาง) กบซ้อนกัน 2 ตัว บนหน้ากลองทองมโหระทึก จากอุษาคเนย์ (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ The Shanghai Museum ป้ายจัดแสดงระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1000) (ขวา) กบซ้อนกัน 3 ตัว บนหน้ากลองทองมโหระทึก
เมื่อฝนแล้ง น้ำแห้งขอดหาย บรรพชนคนอุษาคเนย์ดึกดำบรรพ์ 3,000 ปีมาแล้ว มีพิธีขอฝนจากสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ครึ่งน้ำครึ่งบก เช่น คันคาก หรือคางคก และกบ
[คันคาก เป็นคำลาวสองฝั่งโขง ตรงกับคางคกของไทย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง]
เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกน้ำนองทั่วไป ให้ความเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์แก่ผู้คนทุกชนเผ่าที่มีหลักแหล่งอยู่เขตมรสุม แล้วทำนาทำไร่โดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น เรียกนาทางฟ้า เพราะยังล้าหลังทางเทคโนโลยี
คนดั้งเดิมลุ่มน้ำโขง จึงผูกนิทานพญาคันคาก เพื่อเพิ่มพลังให้ชุมชนร่วมกันต่อสู้แก้ไขความแห้งแล้ง
ซึ่งเป็นวรรณกรรมคำบอกเล่าคลาสสิคสุดยอดที่สุดของตระกูลไทย-ลาว (แต่ไม่ได้รับยกย่องจากระบบการศึกษาไทย) จะสรุปย่อที่สุดมาไว้ดังนี้
การนับศักราช
ศักราชช่วงเวลาที่จัดตั้งขึ้นตามการอ้างอิงของช่วงเวลานั้น โดยแบ่งได้ตามการอ้างอิงหรือการเรียก เช่น
พุทธศักราช (พ.ศ.) – เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0
พระสงฆ์ไทยทำไมต้องโกนคิ้ว
ในพระวินัยไม่มีบัญญัติว่าพระภิกษุต้องโกนคิ้ว แต่มีพระบัญญัติว่าห้ามพระภิกษุบวชให้กับคนที่ไม่มีคิ้ว สำหรับในเมืองไทยเรื่องการโกนคิ้ว เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในยุคที่มีสงคราม มีคนต่างชาติปลอมเข้ามาบวช ทางบ้านเมืองขอให้พระภิกษุในยุคนั้นโกนคิ้ว เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างกันของพระภิกษุไทยกับคนปลอมเข้ามาบวชเท่านั้น จึงมีประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันว่า เวลาบวชโกนทั้งผมและคิ้ว แต่ผู้ที่ไม่โกนไม่เป็นอาบัติตามพระวินัย
การเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติ
การอ่านวัน เดือนทางจันทรคติการเขียนวัน เดือนทางจันทรคติ ประกอบด้วย เลข 3 ตำแหน่ง ดังนี้
1. เลขตำแหน่งที่ 1 หมายถึงวัน มี 7 เลข คือ
๑ หมายถึง วันอาทิตย์ ๒ หมายถึง วันจันทร์
๓ หมายถึง วันอังคาร ๔ หมายถึง วันพุธ
๕ หมายถึง วันพฤหัส ๖ หมายถึง วันศุกร์
๗ หมายถึง วันเสาร์
เทริด ชฎา มงกุฎ ลอมพอก และปันจุเหร็จ
ทั้งเทริด, ชฎา, มงกุฎ, ลอมพอก เป็นเครื่องประดับศีรษะทั้งสิ้น มีรูปร่างและจุดประสงค์การใช้ที่ต่างกัน ต่างพัฒนาสืบเนื่องกันมาและต่อยอดในรูปร่างศิลปะจากราชสำนักสู่เครื่องสวมหัวโขน ละคร
เทริด [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า
ชฎา [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
มงกุฎ น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง
สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ
เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล
มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
ลอมพอก น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวม
ลอมพอก นาคสวมลอมพอก.
เหตุใดจึงห้ามเหยียบธรณีประตู
เคยได้ยินคนโบราณบอกว่า เวลาเข้าวัด เข้าโบสถ์หรือเข้าบ้าน ห้ามเหยียบธรณีประตู ทำไมจึงห้ามเช่นนั้น
บุญข้าวสาก
ในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบของทุกปีนั้นหลังจากการทำนาแล้วเสร็จแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานของประเทศไทยเรา ก็จะทำบุญตามประเพณีที่เคยสืบต่อกันมา โดยนำภัตตาหารคาว-หวานไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร
และเหตุที่เรียกว่า”บุญข้าวสาก” หรือ “สลาก” ก็เนื่องจากว่า ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนต่างก็นำสำรับอาหารคาว-หวาน ไปถวายพระสงฆ์นั่นเอง เพื่อให้ชาวบ้านถวายสำรับได้ทั่วถึง และไม่เจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด จึงมีการจับสลากโดยการเขียนชื่อผู้ที่จะถวายสำรับลงในบาตร แล้วให้พระภิกษุแต่ละรูปจับสลากชื่อของชาวบ้านที่ต้องการถวายสำรับ ถ้าพระภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อใคร ผู้นั้นก็นำสำรับกับข้าวของตนไปถวายพระภิกษุรูปนั้น
ซึ่งในเรื่องนี้ ก็มีตำนาน-นิทานเล่าสืบทอดกันมาว่า