Tag: ไทย

พญานกแขกเต้ายอดกตัญญู (สาลิเกทารชาดก)

1300677500-218-1097_resize

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อสาลินทิยะ ในเมืองราชคฤห์ โกลิยพราหมณ์มีไร่ข้าวสาลีประมาณ ๑,๐๐๐ ไร่ มอบให้ลูกจ้างกั้นรั้วดูแลรักษาอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ในที่ไม่ไกลจากไร่นั้น ภูเขาลูกหนึ่งไป มีป่างิ้วใหญ่อยู่แห่งหนึ่ง พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญานกแขกเต้ามีบริวารหลายร้อยตัวอาศัยอยู่ในป่างิ้วนั้น พญานกแขกเต้ามีพ่อแม่ที่แก่เฒ่าอยู่คู่หนึ่งเมื่อพาบริวารออกหากินอิ่มแล้ว ก็จะคาบอาหารกลับมาให้พ่อแม่กินด้วยเป็นประจำ

Read More

พญาลิงผู้เสียสละ (มหากปิชาดก)

03-020

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาลิง มีพละกำลังมากเท่าช้าง ๕ เชือก มีลิงบริวารประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ ในที่ไม่ไกลจากนั้น มีต้นมะม่วงต้นใหญ่สูงเทียมยอดเขาต้นหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีผลอร่อย หวานหอมคล้ายผลไม้ทิพย์ มีผลโตเท่าหม้อ ผลมะม่วงส่วนหนึ่งหล่นลงบนบก อีกส่วนหนึ่งหล่นลงแม่น้ำ

Read More

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ ฯ (2)

news_172.0

จาก “สถานกาแฟนรสิงห์” ถึง “หมุดคณะราษฎร”

“การก้าวออกมาจากร่มเงาของต้นโศกที่มืดครึ้มอยู่ในขณะนั้น เขาได้ก้าวออกมาปรากฏตนท่ามกลางแถวทหาร พร้อมด้วยการอ่านแถลงการณ์ยืดยาว ซึ่งสรุปแล้ว คือการประกาศยึดอำนาจการปกครอง จากพระมหากษัตริย์พระองค์นั้นโดยสิ้นเชิง”

หนังสือ ๑๐๐ ปี พระยาพหลฯ ได้ให้รายละเอียด บรรยากาศ และอารมณ์ เพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ไม่ได้อ้างอิงหลักฐานว่าได้มาจากที่ใด

“ครั้นถึงเวลาย่ำรุ่งเศษ นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ในเครื่องแบบยศตำแหน่งจเรทหารปืนใหญ่ ก็ก้าวจากใต้ต้นโศกด้านสนามเสือป่า ซึ่งยืนรออยู่ท่ามกลางนายทหารผู้ใหญ่ด้วยกัน ไปปรากฏตัวเบื้องหน้าแถวทหาร โดยมีผู้บอกทำความเคารพแล้ว ก็คลี่กระดาษออกมาอ่านด้วยเสียงอันดัง แต่มิได้ขึ้นต้นแบบทักทหารเหล่านั้นเลย เพราะฝ่ายพลเรือนเขียนให้อย่างนั้น”

Read More

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ (๑)

news_172.3

อยากรู้ “ย่ำรุ่ง” คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไรแน่?

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเรื่อง “เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕” ลงใน หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน ปี ๒๔๘๔ จำนวน ๑๖ ตอน โดยอาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บวกกับตอนที่ ๑๗ เป็นการสัมภาษณ์ พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ อีก ๑ ตอน เมื่อมีการพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปี ๒๔๙๐

เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติการยึดอำนาจของคณะผู้ก่อการฯ เกือบจะทุกแง่มุม เรารู้แม้กระทั่งว่าคืนวันที่ ๒๓ มิถุนายน พระยาพหลฯ เข้านอนตอนตี ๒ และหลับสนิท แม้ว่าวันรุ่งขึ้นคือวันคอขาดบาดตายของตัวเองก็ตาม

Read More

"ดาบแชน" นักกู้ระเบิดพันลูกแห่งนราธิวาส

74750

“มีอยู่วันหนึ่งผมเอนหลังนอน บนรถ 191 จากนั้นได้ยินเสียงตูมดังสนั่น พอสะดุ้งตื่นขึ้นมาก็รีบคลำตามร่างกายว่าอยู่ครบหรือเปล่า ปรากฏว่าโชคดีที่แค่ฝันไป” นี่คือคำพูดของ ร.ต.ต.แชน วรงค์ไพสิฐ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ เหยี่ยวดง 60 รับผิดชอบการตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด หรืออีโอดี ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรจ.นราธิวาส

หากเอ่ยนามร้อยตำรวจตรีแชน หรือหมวดแชน อาจไม่คุ้นหูกันนัก แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘ดาบแชน’ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเขาคือนักเก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เขาผ่านประสบการณ์ ตรวจสอบและเก็บกู้วัตถุระเบิด เอาชีวิตเข้าเสี่ยงความเป็นความตายมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ครั้ง เพื่อความสงบสุขของพี่น้องร่วมแผ่นดินเกิด

Read More

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า…สงครามที่ถูกลืม


สงครามบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาท ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดนที่อ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ
ลาวได้ส่ง กำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน เกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างหนักหน่วงในช่วงเดือนธันวาคม 2530 ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2531 มีการหยุดยิงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531

Read More

บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 7

พระองค์เจ้าขุนเณร ปรมาจารย์การรบกองโจร แห่งศึกลาดหญ้า

ศึกละแวก

กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีบริรักษ์ แม่ทัพใหญ่ ได้รู้ข่าวที่กองม้าเร็วคอยเหตุมากราบทูลนั้นแล้ว ก็ทรง พระวิตกเกรงเกลือกว่าสยามจักทำการรักษาค่ายไว้ไม่ได้ ก็จักเสียค่ายแก่ทัพลาวครั้งนี้เหมือนเสียค่ายหลวงด้วย เพราะค่ายหลวงตั้งชิดกับ ค่ายหน้า เพราะฉนั้นกรมหมื่นทั้งสองพระองค์จึ่งรีบร่งยกกองทัพขึ้นไปโดยเร็ว ปรารถนาจักช่วยทัพหน้าที่ถูกข้าศึก ลาวล้อมไว้นั้นให้ทัน ท่วงที จึ่งไม่ทันทรงระวังสองข้างทางที่เสด็จขึ้นไป แต่พอทัพกรมหมื่นทั้งสองพระองค์เถิงกลางทางในป่าดงตะเคียน อันเป็นที่ซุ่มกำลัง ของ ทัพลาว กองทัพสยามจึ่งเข้าสู่วงล้อมของทหารไพร่พลลาว

Read More

บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 6

โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาราชสุภาวดี เป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายตะวันออก

v-suranaree

ทางเจ้าพระยานครราชสีมา เมื่อหนีออกจากเมืองขุขันธ์นั้นได้ไปตั้งพักพล ครัวสยามอยู่ในกลางป่า ครั้นรู้ว่าบ้านเมืองของตนเสียแล้วแก่เจ้าอนุ คิดจักยกกองทัพกลับมาสู้รบกับลาวบ้างก็ไม่ได้ เพราะคนในกองทัพของตนรู้ว่า บ้านเมืองแตกเสีย แก่ลาวแล้ว ไพร่พลจากเมืองราชสีมาที่หนีเข้าป่า ก็ตามมาพบครอบครัวมากนัก เหลืออยู่แต่คนที่สนิทติดตามหาตน อยู่ประมาณ สองร้อยเศษ น้อยตัวนักจักคิดกู้บ้านกู้เมืองคืนจากลาวล้วนคิดแต่หนีเอาตัวรอดไปกับครัวตน

Read More

ประวัติของบัตรอวยพรวันปีใหม่ (ส.ค.ส.)

สคส002

เอนก นาวิกมูล นักค้นคว้าประวัติศาสตร์ เขียนไว้ว่า ธรรมเนียมการส่ง ส.ค.ส. เป็นเรื่องที่ไทยเราได้รับแบบอย่างมาจากฝรั่ง พระมหากษัตริย์ของไทยที่ทรงเริ่มส่ง ส.ค.ส. และอาจเป็นบุคคลแรกในประเทศที่ส่ง ส.ค.ส. คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หลักฐานเก่าที่สุดคือหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ ฉบับวันที่ 13 ม.ค.2409 ในโอกาสขึ้นปีใหม่ ปี ค.ศ.1866 หรือตรงกับ พ.ศ.2409

Read More

บันทึกลับเจ้าพระยาบดินทร์เดชาฯ ตอน 5

การรวมพล จัดทัพที่เมืองสระบุรี เพื่อโจมตีทัพลาวเจ้าอนุ

527395_443915305646100_1322018412_n

พระยาสุริยภักดี(ป้อม) ไปราชการสักเลขเมืองลาว กลับมาพบเจ้าอนุ ๆ ยอมปล่อยให้กลับลงมากรุงเทพฯนั้น พระสุริยภักดีลงมาเถิงกรุงเก่า ก็พบเรือพระที่นังกรมพระราชวังบวรฯ ทอดประทับอยู่ จึ่งแวะเข้ากราบทูลชี้แจง การที่ตนได้ไปมาประสบ เหตุด้วยเจ้าอนุทุกประการ แล้วก็รีบล่องเรือลงมากรุงเทพฯ เข้าเฝ้าพระกรุณาในท้องพระโรง กราบบังคมทูลมูลเหตุแลประพฤติเหตุ แล้ว ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า “เมื่อลงมาเถิงกรุงเก่าพบกรมพระราชวังบวรฯ ที่นั้น ได้กราบทูลพฤติเหตุทุกประการแล้ว กรมพระราชวังฯ ได้ทรงรู้การที่เจ้าอนุ ตั้งค่ายทางไปมาทุกอย่างทุกประการ ตามที่ข้าพระพุทธเจ้า ได้เหนมาแล้ว”

Read More