เรื่อง ขนมแชงมา หรือ ขนมแฉ่งม้า เป็นเรื่องที่ควรศึกษา และค้นคว้าหาข้อยุติให้ได้ น่าเสียดายที่ คนไทยในปัจจุบัน ไม่สู้จะสนใจ เรื่องอาหารหวานคาว ของบรรพบุรุษนัก นับวันประวัติตำนาน แม้กระทั่ง สูตรวิธีปรุง ทั้งหลาย กำลังถูกลืมเลือน ไปตามกาลเวลา ฉะนั้น จึงอย่าได้แปลกใจเลยว่า เด็กเล็กสมัยนี้ รู้จัก ขนมเค้ก ขนมคุ้กกี้ มากกว่าขนมเรไร ขนมสอดไส้ ฯลฯ หรือแม้แต่ ขนมแชงมา
นักปฏิวัติแห่งกรุงศรี : กรมหมื่นเทพพิพิธ ไม่ชนะ ไม่ตาย ไม่เลิก
จิตรกรรมโครงประกอบภาพเรื่อง พระราชพงศาวดารแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระตอน “ช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง” แสดงเหตุการณ์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเสด็จประพาสจับช้างป่าและพระมหาอุปราช (หรือพระอนุชาธิราช ต่อมาขึ้นสู่ราชบัลลังก์ในนาม พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดาของกรมหมื่นเทพพิพิธ คิดกบฏไสช้างเข้าแทงช้างพระที่นั่ง (ภาพจากจิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม 2 จัดพิมพ์โดยสำนักพระราชวัง พ.ศ.2536)
ไทยเรามีสำนวนอยู่บทหนึ่งว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” หมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างที่เคยเกิดมาแล้ว ซึ่งคล้ายกับสำนวนฝรั่งที่ว่า “the only new thing is the history that you don′t know” เรื่องราวใหม่ก็คือประวัติศาสตร์ที่เราไม่รู้
ตอนเป็นเด็กๆ ฟังผู้ใหญ่พูดสองสำนวนนี้ก็คิดค้านอยู่ประจำ พอเป็นผู้ใหญ่เริ่มเห็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองหลายหนก็ยอมรับ และคล้อยตามว่าสำนวนนี้ “จริง” ขึ้นทุกวัน
มัทนะพาธา ตำนานแห่งดอกกุหลาบ
ความรักเหมือนโรคา บันดาลตาให้มืดมน
ไม่ยินและไม่ยล อุปสรรคใดใด
ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้
ก็โลดออกจากคอกไป บ ยอมอยู่ ณ ที่ขัง
ถึงหากจะผูกไว้ ก็ดึงไปด้วยกำลัง
ยิ่งห้ามก็ยิ่งคลั่ง บ หวนคิดถึงเจ็บกาย
4 เรือดำน้ำของไทย ในประวัติศาสตร์
เรือดำน้ำ เป็นกำลังสำคัญใน การป้องกันประเทศทางทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง เรือดำน้ำ ได้อยู่ในแนวความคิดของ กองทัพเรือไทย มาตั้งแต่ พ.ศ.2453 แล้ว เห็นได้จากโครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ พ.ศ.2453
โครงการจัดสร้างกำลังทางเรือ นี้มีคณะกรรมการอันประกอบด้วย
นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ (ต่อมาเป็น นายพลเรือเอก กรมหลวงฯ)
นายพลเรือตรี พระยาราชวังสวรรค์ (ฉ่าง แสง-ชูโต ต่อมาเป็นนายพลเรือเอก พระยามหาโยธา)
นายพลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (ต่อมาได้เป็นนายพลเรือเอก กรมหลวงฯ)
มหาวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก
ตำบลตะลุมพุก ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 18 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 29.14 ตารางกิโลเมตร หรือ 10,212.50 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1-5 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ ใช้ประโยชน์ในการปลูกมะพร้าว และเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ตำบลแหลมตะลุมพุก อันเป็นแหลม ที่ยื่นออกไปในทะเลอย่างโดดเดี่ยว ปราศจากภูเขาบัง
พระราชธิดา ร.5 ผู้ไม่เคยออกนอกพระบรมมหาราชวัง
พระองค์เจ้าหญิงผ่องประไพ พระราชธิดาพระองค์แรกในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ พระราชธิดาผู้อาภัพที่สุดในพระบรมวงศานุวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2410 มีพระชนม์ยืนยาวมาจนถึงรัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์เมื่อ 11 มีนาคม 2485 พระชันษา 75 ปี ภายในพระบรมมหาราชวัง
ชามตราไก่
ชามไก่กำเนิดในเมืองจีนเมื่อกว่าร้อยปี ฝีมือชาวจีนแคะ ตำบลกอปีอำเภอไท้ปูมณฑลกวางตุ้ง แต่เดิมชามตราไก่ไม่ปรากฏการเขียนลายเป็นเพียงชามขาวธรรมดา เมื่อผลิตเสร็จได้จัดส่งมาเขียนลายเผาสีบนเคลือบ ที่ตำบลปังเคย แต้จิ๋ว หลังจากนั้นจึงกลายเป็นชามตราไก่สำเร็จรูปและส่งออกจำหน่ายในตลาดทั่วไป
ยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ไทย
การกระทำยุทธหัตถีเป็นประเพณีสงครามที่รับมาจากอินเดีย โดยช้างที่ใช้ เรียกว่า “ช้างศึก” โดยมากจะนิยมเลือกใช้ช้างพลายที่กำลังตกมัน ดุร้าย ก่อนออกทำสงครามจะกรอกเหล้าเพื่อให้ช้างเมา เกิดความฮึกเหิมเต็มที่ โดยจะแต่งช้างให้พร้อมในการรบ เช่น ใส่เกราะที่งวงหรืองาเพื่อรื้อทำลายค่ายคูของฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า “ช้างกระทืบโรง” หรือล่ามโซ่หรือหนามแหลมที่เท้าทั้งสี่ ใช้ผ้าสีแดงผืนใหญ่ปิดตาช้างให้เห็นแต่เฉพาะด้านหน้าเพื่อไม่ให้ช้างตกใจและเสียสมาธิ เรียกว่า “ผ้าหน้าราหู”
ไข่ครอบ
ไข่ครอบเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีวิธีการทำโดยนำไข่เป็ดมาล้างเปลือกให้สะอาด ต่อยตรงปลายฟองไข่ด้านหนึ่งให้แตกแล้วค่อย ๆ ปอกเปลือกออกประมาณ 1/4 ของฟองไข่ โดยให้ปากฟองไข่ที่ปอกนั้นเสมอกัน เทไข่ลงในภาชนะ แล้วเอาเฉพาะไข่แดง 2 ฟองใส่ลงไปในเปลือกไข่นั้นตามเดิมแล้วเยาะเกลือป่นละเอียดพอสมควร นำเปลือกไข่อีกฟองหนึ่งซึ่งปอกเปลือกให้เหลือประมาณครึ่งฟองมาครอบเปลือกไข่ที่บรรจุไข่ 2 ฟองนั้นอยู่ วางหมักไว้ประมาณ 1 คืน เพื่อให้ความเค็มได้ซึมเข้าในไข่แดง แล้วจึงนำไปนึ่งให้สุก โดยอาจนำไปนึ่งในลักษณะที่เปลือกไข่ครอบกันอยู่นั้น หรือแยกเปลือกไข่ที่ใช้ครอบออกก็ได้ เมื่อนึ่งสุกก็รับประทานได้
ไอ้ด่างบางมุด.. ตำนานของจระเข้ "ดุร้าย" ที่สุด
หากย้อนกลับไป ๔๐ ปีที่แล้วสมัยที่เมืองไทยยังใช้เส้นทางน้ำเป็นทางสายหลัก และบางแห่งก็มีจระเข้ชุกชุมตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ชาวบ้านทั่วไปมีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับน้ำ แต่จู่ๆกลับเกิดข่าวสะเทือนขวัญพาดหัวข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ โดยเริ่มออกอาละวาดตั้งแต่ต้นเดือนกันยา คลองบางมุด บ้านหนองไก่ปิ้ง ต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพร
จาก คำบอกเล่าของชาวบ้าน จระเข้ตัวนี้มีขนาดใหญ่มาก และดุร้ายถึงขั้นไล่กัดผู้คนที่เดินริมตลิ่ง และไล่กัดเรือที่สัญจรไปมา จนชาวบ้านไม่กล้าพายเรือหรือเดินเลาะริมตลิ่ง ต่อมาในกลางเดือนกันยายน เย็นวันหนึ่ง นายอุดม ชาวบ้าน ต.นาขา ลงอาบน้ำในคลอง ถูกจระเข้ยักษ์คาบไปกินต่อหน้าต่อตา ต่อหน้าชาวบ้านนับสิบ รุ่งเช้าพบศพนายอุดมลอยขึ้นมา ปรากฏว่าถูกกินเฉพาะส่วนท้อง ๒ – ๓ วันต่อมา นายอิน ชาวเขมรบ้านเดิมอยู่ จ.ตราด มาตั้งรกรากที่คลองบางมุด ได้นำเรือเล็กไปตัดจากเพื่อนำมามุงหลังคาบ้าน ขณะยืนตัดกิ่งจากอยู่ในเรือ จระเข้ยักษ์ ได้พุ่งตัวขึ้นมาบนเรือคาบขานายอินตกลงไปในน้ำ นายอินดิ้นและเกาะแคมเรือร้องให้ภรรยาซึ่งอยู่บนฝั่งช่วย เธอพยายามกระพุ่มน้ำและส่งเสียงไล่ แต่ไม่เป็นผล จระเข้ยักษ์ได้คาบนายอินจมหายลงไปใต้ท้องน้ำต่อหน้าต่อตา รุ่งขึ้นศพนายอินลอยขึ้นมา ก็พบว่าถูกกินเฉพาะส่วนท้องเช่นเดียวกับนายอุดม