คว่ำบาตร

คว่ำบาตร

bbatkrum

“คว่ำบาตร” คือการประกาศตัดสัมพันธ์ กับผู้ที่ ทำผิดทางศาสนา อย่างแรง คฤหัสถ์ ที่ถูกสงฆ์คว่ำบาตร
คือผู้ทำความผิดแปดอย่าง ได้แก่

๑. ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์
๒. ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์
๓. ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้
๔. ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
๕. ยุยงให้สงฆ์แตกกัน
๖. ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า
๗. ตำหนิติเตียนพระธรรม
๘. ตำหนิติเตียนพระสงฆ์

ผู้ใดเป็นอุบาสกอยู่แล้ว ยังทำความพยายามอย่างนี้ สงฆ์เห็นว่า หากจะติดต่ออยู่ ก็กำเริบทำความเสื่อมเสียแก่ พระศาสนายิ่งขึ้น ก็ทำพิธีคว่ำบาตรเสีย

พิธีคว่ำบาตรนั้น สงฆ์ทั้งหมด จะประชุมกัน รูปหนึ่ง ประกาศความผิด ของผู้ที่จะคว่ำบาตร แล้วประกาศคว่ำบาตร สองครั้ง (ญัตติทุติยกรรม) เมื่อคว่ำบาตรแล้ว ภิกษุสามเณร จะต้องงดรับบิณฑบาตของเขา งดรับของทุกอย่าง งดการติดต่อทั้งสิ้น จนกว่าเขา จะสำนึกผิด มาขอขมาสงฆ์ สงฆ์จึงทำพิธี หงายบาตรให้ โดยมีการประชุมสงฆ์ ทำนองเดียวกับ ตอนคว่ำบาตร แต่ตอนหงายบาตร ให้อุบาสกผู้นั้น อยู่ในที่ประชุมสงฆ์ด้วย

ต่อมา “คว่ำบาตร” กลายเป็นสำนวน มีความหมายถึง การตัดออกจาก สมาคม ไม่คบหาด้วย พระ จึงไม่ได้เป็นฝ่าย คว่ำบาตร ต่อคฤหัสถ์เท่านั้น คฤหัสถ์ก็สามารถ \”คว่ำบาตร\” ไม่ตักบาตรทำบุญกับพระที่ตนเห็นว่า มีวัตรปฏิบัติ ไม่เหมาะไม่ควรได้

ที่มา: สารานุกรมไทย เล่มที่ ๑๔ (อนุภาค) ของ อุทัย สินธุสาร

Leave a Reply