เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอยหรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึ๋งเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย
ป้อมเกาลูน
ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งเคยมีแดนเถื่อนอันแออัด สกปรกวุ่นวาย ไร้กฎหมาย เกิดขึ้นกลางเมืองอันเจริญรุ่งเรืองอย่างฮ่องกง
สถานที่แห่งนั้นเรียกว่า “ป้อมเกาลูน” (Kowloon Walled City) แต่เดิมมันเคยเป็นป้อมซึ่งรัฐบาลจีนสมัยซ่งตั้งขึ้นมาควบคุมการค้าเกลือท้องถิ่น มีเนื้อที่ 16 ไร่ 1 งาน จุทหารได้ราว 700 คน จากนั้นแต่ละราชวงศ์ก็มักใช้มันเป็นที่ทำการรัฐบาลเรื่อยมา จนเมื่อจีนรบแพ้สงครามฝิ่น ต้องส่งมอบฮ่องกงให้อังกฤษ ตามสัญญาที่ทำกันนั้นพื้นที่ปกครองของอังกฤษไม่นับรวมป้อมแห่งนี้ด้วย
พระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกทำลาย
เหตุการณ์วันพระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกทำลาย
ค่ำคืนของวันที่ 5 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1860 ตรงกับรัชสมัยเสียนฟงที่ 10 กองทัพพันธมิตร ได้บุกเข้าปักกิ่ง แล้วไปยึดเอาพระราชวังหยวนหมิงหยวนเป็นที่มั่น
เช้าของวันที่ 6 ตุลาคม ทหารในกองทัพพันธมิตร ก็ได้เข้ารื้อค้นฉกฉวยสมบัติ และทำลายทรัพย์สินภายในพระราชวัง
เหตุผลเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาล ยอมจำนนและลงนามในสนธิสัญญา Read More
ผานกู่ เทพบิดรแห่งชนชาติชาวจีน
เมื่อแรกเริ่มไม่มีสิ่งใดในจักรวาลเลยนอกจากความสับสนวุ่นวาย ต่อมาความวุ่นวายนั้นรวมตัวกันเข้าเป็นไข่จักรวาลใบหนึ่งเป็นเวลา 18,000 ปี ภายในนั้นคือหยินและหยางที่สมบูรณ์แบบและสมดุล
ผานกู่ถือกำเนิดในไข่ใบนั้น คำพรรณนาถึงผานกู่มักว่าเป็นยักษ์มีขนดก มีเขาอยู่บนศีรษะ ร่างคลุมไปด้วยขน
ตำนานเกี๊ยว
ในช่วงตรุษจีนที่จีนแผ่นดินใหญ่จะมีธรรมเนียมห่อเกี๊ยวกินเกี๊ยวเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะเกี๊ยวมักมีรูปร่างเหมือนก้อนตำลึงทอง บางที่ยังยัดเงินเข้าไปในไส้ถือเคล็ดให้รวยยกกำลังสอง แต่เวลากินต้องระวังเป็นพิเศษ
เกี๊ยว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เจียวจึ ญี่ปุ่นรับไปเรียกตามจีนว่า เกี๊ยวซ่า ที่จริงคำว่า เกี๊ยวกับคำว่าเจี่ยวเป็นคำเดียวกันคำแรกเป็นสำเนียงโบราณหรือสำเนียงทางใต้ และไทยกับญี่ปุ่นรับมาใช้ สรุปก็คือ เจียวจึ เกี๊ยวซ่า และชายสี่หมี่เกี๊ยวบ้านเราก็บรรพชนเดียวกันนั่นเอง
เจียชิ่ง จักรพรรดิธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
จักรพรรดิชิงเหรินจง หรือจักรพรรดิเจียชิ่ง (Jiaqing Emperor ค.ศ.1760 – 1820) รัชกาลที่เจ็ดแห่งต้าชิง พระนามเดิม อ้ายซินเจว๋หลัวหยงเหยี่ยน พระองค์ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 15 ของจักรพรรดิเฉียนหลง ที่ประสูติจากพระสนมแซ่เว่ย ซึ่งเป็นชาวฮั่นที่มาจากกองธงฮั่น
ดูจากพระชาติกำเนิดของพระองค์ซึ่งไม่ใช่ลูกคนโต แถมยังมีเลือดชาวฮั่น ทำให้เห็นว่า โอกาสที่หยงเหยี่ยนจะได้เป็นรัชทายาทนั้นน้อยแสนน้อย แต่ทว่า เฉียนหลงก็ทรงตัดสินพระทัยเลือกเขาเป็นรัชทายาท
ไม่อาจเห็นได้ด้วยตา
วันหนึ่ง ขงจื๊อ เมธีจีน พร้อมศิษยานุศิษย์
เดินทางรอนแรมลี้ภัยการเมืองอยู่กลางป่า
พอได้เวลาอาหาร ลูกศิษย์เตรียมตักข้าวใส่จานพร้อมสำรับอาหาร
ขณะกำลังตักข้าวอยู่ห่างๆ นั้น ท่านขงจื๊อสังเกตเห็นว่า
ลูกศิษย์หยิบข้าวจากจานของท่านขึ้นมาใส่ปากเคี้ยว
ท่านจึงสอนและชี้ให้เห็นว่า
การหยิบอาหารจากสำรับของครูบาอาจารย์
มารับประทานก่อนได้รับอนุญาตนั้น
แสดงถึงความ “อนารยะ” ที่น่าตำหนิอย่างยิ่ง
Read More
กบฏไท่ผิง (1851-1864)
ในช่วงศตวรรษที่สิบเก้า ประเทศจีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิงของชนเผ่าแมนจู ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว การบริหารปกครองแผ่นดินกำลังเสื่อมลงเนื่องจากองค์จักรพรรดิทรงไร้ความสามารถ จนทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับความทุกข์ยากจากการขูดรีดและกดขี่ของพวกขุนนางกับเจ้าที่ดิน
ความทุกข์ยากที่ประชาชนได้รับ นำไปสู่การก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งแม้ในที่สุด กบฏเหล่านั้นจะถูกปราบปรามโดยทางการจนราบคาบ แต่ก็ส่งผลให้รากฐานการปกครองของราชวงศ์ชิงต้องสั่นคลอน และการกบฏที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ชิงหรืออาจจะเป็นหนึ่งในการกบฏที่รุนแรงที่สุดของประวัติศาสตร์โลก ก็คือ กบฏไท่ผิง
บ๊ะจ่าง ตำนานปราชญ์รักแผ่นดิน
ถ้าเอ่ยถึงบ๊ะจ่าง หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดีกับข้าวเหนียวใส่กุนเชียง เนื้อหมู แปะก้วย ถั่ว (และอื่น ๆ) ห่อด้วยใบไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วนำมานึ่ง ทว่าที่มาของเจ้าบ๊ะจ่างหรือขนมจ้างนี้ เกี่ยวพันกับเรื่องราวของ ฉู่หยวน นักปราชญ์ ผู้ทรงคุณธรรมและรักบ้านเมือง
หยางกุ้ยเฟย – มวลผกาละอายนาง
หยางกุ้ยเฟย (อังกฤษ: Yang Guifei ; จีน: 楊貴妃) พระนามเดิมคือ หยางอี้หวน (อังกฤษ: Yang Yuhuan ; จีน: 楊玉環) เกิด 1 มิถุนายน ค.ศ. 719 เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีนกล่าวกันว่า หยางกุ้ยเฟยทรงเป็นสตรีที่มีความงามเป็นเลิศ ใช้ชนม์ชีพในรัชสมัยราชวงศ์ถัง ได้รับฉายานามว่า “มวลผกาละอายนาง” (จีน: 羞花; พินอิน: xiū huā) ซึ่งหมายถึง “ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย” (a face that would make all flowers feel shameful)