The Stanford Prison Experiment หรือ SPE สามารถสรุปได้ง่ายๆว่าเป็นการทดลองเพื่อศึกษาผลกระทบทางจิตวิทยาที่มีผลต่อความประพฤติและการตอบสนองในการเป็นนักโทษและผู้คุม การทดลองนี้ได้ถูกจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Stanford ในระหว่างวันที่ 14 – 20 สิงหาคม ปี 1971 (แทบจะเป็นช่วงที่เหตุการณ์ที่หมีลายกำลังเป็นที่รู้จักในสหรัฐอเมริกานั่นเอง) ผู้นำการทดลองคืออาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยาชื่อ Philip Zimbardo เงินสนับสนุนในโครงการนี้มาจาก the US Office of Naval Research เพื่อประโยชน์ของ the US Navy กับ Marine Corps ในการสืบสวนความเป็นไปได้ของสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงระหว่างทหารผู้คุมและนักโทษในอดีต Read More
ทุ่งสังหาร นรกบนดินในยุคเขมรแดง
คำว่า genocide เป็นคำที่รุนแรง มันมากกว่าคำว่า murder ที่แปลว่าการฆ่า หรือฆาตกรรม และมากกว่าคำว่า kill ที่แปลว่า การฆ่า genocide เป็นคำที่พูดถึงการฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำให้ชาติใดชาติหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสูญพันธุ์ให้ได้
อนุสรณ์นี้หากมองดูเพียงภายนอกแล้ว หลายคนอาจจะคิดว่ามันก็คืออนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเอกราชของชาวเขมรเท่านั้น แต่ใครจะรู้ว่าภายในมันกลับบรรจุไว้ด้วยเรื่องราวอันโหดเหี้ยมและภาพอันน่าสะพรึงกลัวที่ไม่มีวันจะลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวเขมรได้เลย เพราะภายในอนุสรณ์สถานเจืองเอ็กนั้นคือสถานที่เก็บหัวกะโหลกของชาวเขมร เหยื่อของการสังหารโหดที่เรียกว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา มันจึงเป็นเสมือนสถานที่แสดงถึงความโหดร้ายและระลึกถึงผู้เสียชีวิตชาวเขมรที่ต้องดับดิ้นลงไปด้วยน้ำมือของคนชาติเดียวกัน
ปฏิบัติการ Market Garden การจู่โจมที่ ‘ล้มเหลวที่สุด’ ของฝ่ายสัมพันธมิตร
ถ้าพูดถึงปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายคนอาจนึกถึงวันยกพลขึ้นบกหรือวันดีเดย์ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ซึ่งปฏิบัติการนี้ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในเวลาต่อมา
แต่รู้หรือไม่ เพียงไม่กี่เดือนหลังจากปฏิบัติการดีเดย์ พวกเขาต้องพบกับปฏิบัติการที่ล้มเหลวที่สุดครั้งหนึ่งของฝ่ายสัมพันธมิตร
หมอกาฬโรค หรือ หมออีกาดำ
หมอกาฬโรคหรือหมออีกาดำ (Plague Doctor) เป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญต่อยุโรปช่วงยุคกลางเป็นอย่างมาก ตั้งเเต่คริสต์ศตวรรษที่ 13-17 หมอกาฬโรคเป็นเเพทย์ที่คอยรักษาผู้ป่วยกาฬโรคโดยเฉพาะ จัดเป็นเเพทย์เฉพาะทางในสมัยนั้น พวกเขามักเป็นเเพทย์ที่จบใหม่หรือเเพทย์ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพสักเท่าไหร่ หมอกาฬโรคบางคนจึงมีประสบการณ์ด้านการเเพทย์น้อยมาก
พระนางศุภยาลัต ราชินีสุดโหดในประวัติศาสตร์พม่า
พระนางศุภยาลัต (พม่าออกเสียง: ซุพะย๊าละ) ประสูติ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 เป็นพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญา เป็นราชบุตรีของพระเจ้ามินดง กับมเหสีรอง พระนางชินพยูมาชิน (นางพญาช้างขาว หรือที่รู้จักกันในนามพระนางอเลนันดอ)
พระนางศุภยาลัตมีพระเชษฐภคินีคือ พระนางศุภยาคยี และมีพระขนิษฐาคือเจ้าหญิงศุภยากเล
อุปนิสัยของพระนางศุภยลัตมีลักษณะเหมือนพระราชมารดา คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง เชื้อสายดั้งเดิมเป็นสามัญชน เนื่องจากยายของพระนางเป็นแม่ค้าขายของในตลาดมาก่อน พระนางศุภยลัตจึงได้เป็นพระราชินีใน พระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า
2508 ปิดตลาดท่าเรือปล้น
พ.ศ. ๒๕๐๘
ตลาดท่าเรือ ที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังเป็นชุมชนที่ไม่ใหญ่โตนัก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก มีเพียงห้องแถวไม้ชั้นเดียวตั้งเรียงรายอยู่สองฟากถนนที่ตัดมุ่งตรงไปยังสถานีรถไฟ แต่การค้าของตลาดท่าเรือก็คึกคักพอสมควร มีสาขาธนาคารเกือบทุกแห่งตั้งอยู่ มีร้านทองถึง ๕ ร้าน แต่ละร้านก็แขวนทองโชว์เต็มตู้ประชันกัน โดยไม่คิดว่าจะมีโจรที่ไหนกล้ามาปล้น เพราะอยู่กลางตลาด ห่างจากสถานีตำรวจและที่ว่าการอำเภอประมาณ ๑๐๐ เมตรเท่านั้น
แต่แล้วในเย็นวันอาทิตย์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๘ ราว ๑๖.๒๐ ก็มีรถเมล์สองแถวสีเทาคันหนึ่งวิ่งเข้ามาอย่างช้าๆ จอดที่หน้าโรงแรมตั้งซาฮะ ภายในรถมีชายฉกรรจ์สิบกว่าคน อาวุธครบมือ แต่งกายคล้ายเครื่องแบบครึ่งท่อน นุ่งกางเกงสีกากี ผู้คนในตลาดเห็นก็นึกว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจไปจับผู้ร้ายมา
ทันทีที่รถจอด ชายคนหนึ่งถือปืนคาร์ไบน์และยังมีถุงผ้าหูรูดห้อยติดข้อมือ กระโดดลงมาเป็นคนแรก แล้วยิงปืนขึ้นฟ้า ๑ นัด ประกาศก้องว่า “อ้ายเสือบุก!”
มรณสักขีแห่งสองคอน
100 กว่าปีก่อน บ้านสองคอนถูกบุกเบิกโดยข้าราชการยศท่านขุน พร้อมข้าทาสบริวารอีกหลายสิบชีวิต แต่อยู่ไปอยู่มา ผู้คนก็เริ่มเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเชื่อว่าเป็นผลมาจาก “ผีดุ” หรือ “เจ้าที่แรง” จึงมีผู้เชิญบาทหลวงฝรั่งที่นครพนม ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการ “ไม่กลัวผี” ให้เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา
หลวงพ่อท่านนั้นแก้ปัญหาด้วยการรักษาอาการป่วยแก่ชาวบ้าน แล้วจึงสอนให้พวกเขารับหลักความเชื่อของศาสนาคริสต์
นอกจากนี้ ยังมีคนอีกสองกลุ่มที่ขอมาอาศัยในบ้านสองคอน และยอมเข้ารีตเป็นคริสตชน นั่นก็คือ ชาวบ้านซึ่งถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านอื่น เพราะถูกกล่าวหาว่าเป็น “ผีปอบ” และบรรดาผู้เคยตกเป็นทาส ที่ได้รับการไถ่ตัวจากบาทหลวง
เฉลว, ตาแหลว, กะหลิว
เฉลว หรือ ฉลิว ภาษาถิ่นพายัพว่า ตาเหลว หรือ ตาแหลว และภาษาถิ่นใต้ว่า กะหลิว เป็นเครื่องหมายทำด้วยเส้นตอกไม้ไผ่หรือหวายเส้น หักขัดกันเป็นมุม ตั้งแต่สามมุมขึ้นไป โบราณใช้เฉลวในงานต่าง ๆ ดังนี้ Read More
เจิ้งเฉิงกง ขุนพลคนสุดท้ายแห่งต้าหมิง
หลังจากกองทัพชิงของชนเผ่าแมนจูรุกเข้าด่านซานไห่กวน โดยการชักนำของแม่ทัพอู๋ซานกุ้ย อดีตขุนพลแห่งราชวงศ์หมิงที่แปรพักตร์ เหล่าเชื้อพระวงศ์ของต้าหมิงที่เหลือรอด ได้อพยพลงไปตั้งที่มั่นใหม่ยังภาคใต้ในชื่ออาณาจักรหมิงใต้ หรือหนานหมิง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานั้น อาณาจักรหมิงใต้กลับแบ่งออกเป็นก๊กเป็นเหล่าและแต่ละกลุ่มต่างก็อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ต้าหมิงจนเกิดการรบพุ่งกันเอง โดยไม่ได้คิดที่จะรวมกำลังกันต่อต้านชาวแมนจูที่เข้ามารุกราน
พระศพของกษัตริย์ลาวองค์สุดท้าย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อปี 1975 นั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของประเทศลาวในระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แต่งตั้งให้อดีตพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเป็นที่ปรึกษาประธานประเทศ โดยยังขนานนามให้เกียรติพระองค์ว่า “เสด็จเจ้าศรีสว่างวัฒนา” และได้แต่งตั้งเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของพระราชอาณาจักรลาว ให้เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐบาล และยังยินยอมให้พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังหลวงพระบางต่อไป ในเวลานั้น แม้ว่าพระองค์ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆก็ยังพอใจที่จะอยู่อย่างสมถะต่อไป ทุกอย่างแทบเหมือนเดิมเพียงแต่ไม่ได้มีใครเรียกพระองค์ว่า “เจ้ามหาชีวิต” แล้ว