Tag: ไทย

ปั๊มสามทหาร ปั๊มน้ำมันแห่งแรกของคนไทย

1406131250-V53017672-o

เมื่อปี 2435 บริษัท น้ำมันต่างชาติที่เข้ามาเป็นบริษัทแรก คือ บ.รอยัลดัทช์ ปิโตรเลียม จำกัด เพื่อจำหน่ายน้ำมันก๊าดเพราะมีเขม่าควันน้อยและให้แสงสว่างกว่าน้ำมันมะพร้าวซึ่งต้องนำเข้าน้ำ มันจากต่างประเทศ
ต่อมา พ.ศ. 2439 พระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ นำรถยนต์คันแรกมาวิ่งบนถนน อีก 6 ปีต่อมา จึงมีรถเมล์ขาวและเริ่มนำน้ำมันเบนซินมาใช้โดยบริษัทน้ำมันต่างชาตินำน้ำมันต่างๆ มาจำหน่าย

Read More

ลานนา หรือ ล้านนา

หลายๆ คน คงรู้จัก เมืองล้านนา  ซึ่งเป็น ราชอาณาจักรของชาวไทยวนในอดีตที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ตลอดจน สิบสองปันนา แล้ว คำว่า “ล้านนา” หรือ “ลานนา” นั้น แปลว่าอะไร ทำไมจึงเรียกอย่างนั้น

Read More

พระสงฆ์ไทยทำไมต้องโกนคิ้ว

 CAn4-hoVAAAPOPv

ในพระวินัยไม่มีบัญญัติว่าพระภิกษุต้องโกนคิ้ว แต่มีพระบัญญัติว่าห้ามพระภิกษุบวชให้กับคนที่ไม่มีคิ้ว สำหรับในเมืองไทยเรื่องการโกนคิ้ว เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในยุคที่มีสงคราม มีคนต่างชาติปลอมเข้ามาบวช ทางบ้านเมืองขอให้พระภิกษุในยุคนั้นโกนคิ้ว เพื่อจะได้เห็นความแตกต่างกันของพระภิกษุไทยกับคนปลอมเข้ามาบวชเท่านั้น จึงมีประเพณีสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันว่า เวลาบวชโกนทั้งผมและคิ้ว แต่ผู้ที่ไม่โกนไม่เป็นอาบัติตามพระวินัย

Read More

เรืออีโปง

 186936

เรืออีโปง เป็นเรือขุดชนิดหนึ่งหัวมนแหลม ท้ายตัด ทำจากไม้ต้นตาล โดยนำโคนต้น
ตาลมาผ่าออกเป็นสองซีก ขุดเอาไส้ตาลออกเหลือแต่เปลือกนอก แล้วเลื่อยกระดาน
ปิดตรงท้าย ยาด้วยชัน จัดเป็นเรือประเภทที่ไม่ถาวร และเป็นเรือพื้นบ้านอย่างแท้จริง

Read More

เจ้าแม่วัดดุสิต นารีปริศนาผู้เป็นต้นราชวงศ์จักรี

IMG_9229_1a

ในช่วงปฐมวัยของเจ้าแม่วัดดุสิตยังคงเป็นที่คลุมเครืออยู่มาก เนื่องจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่กว่ารัชสมัยรัชกาลที่ 4 มิได้กล่าวถึงประวัติของเจ้าแม่วัดดุสิตไว้เลย จะมีก็ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเจ้าแม่วัดดุสิตในพงศาวดารของไทยและจดหมายเหตุของชาวต่างชาติในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเท่านั้น หลักฐานที่พอจะศึกษาประวัติของเจ้าแม่วัดดุสิตอย่างละเอียดก็คงมีแต่บันทึกจากคำบอกเล่า หรือหลักฐานในชั้นทุติยภูมิ จึงมีนักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นแตกต่างกันไปดังนี้

Read More

รถเมล์ขาวนายเลิศ ตำนานรถโดยสารเมืองกรุง

1379600950

รถเมล์ขาวของนายเลิศ นับเป็นรถเมล์สายแรกที่ให้บริการในกรุงเทพฯ เริ่มทำการเดินรถมาตั้งแต่ปี 2451 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ที่เรียกว่า รถเมล์ขาว ก็เพราะคนสมัยก่อนจะเรียกสายรถเมล์ตามสีของรถ ซึ่งแต่ละสีก็เป็นของแต่ละบริษัทมีทั้ง ขาว แดง เขียว เหลือง

เส้นทางแรกที่รถเมล์ขาวนายเลิศวิ่งคือ
‘ยศเส – ประตูน้ำ (ปทุมวัน)’ จากนั้นก็มีการขยายเส้นทางเรื่อยมา เช่น
สายสีลม – ประตูน้ำ , บางลำพู – ประตูน้ำ น่าสังเกตว่าเส้นทางวิ่งรถของ
รถเมล์นายเลิศ จะต้องผ่านประตูน้ำทุกสายเพราะสมัยนั้น ประตูน้ำ หรือ ปทุมวัน คือศูนย์กลางย่านชุมชน และการคมนาคมมาตั้งแต่ต้นสมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งมีตลาดขายสินค้าขนาดใหญ่ซึ่งก็คงเหมือนกับ อนุสาวรีย์ชัยฯ ในสมัยนี้

Read More

ถนนซังฮี้และสะพานซังฮี้

zunghe

ที่มาของคำว่า ซังฮี่ นี้มาจากสมัยราชวงศ์ซ้อง บัณฑิตหนุ่มแซ่หวัง ชื่อหวังอาซี เข้าสอบหน้าพระที่นั่ง หลังสอบเสร็จก็เข้าพิธีวิวาห์กับหญิงคนรัก ปรากฏว่าในวันแต่งงาน ทราบผลสอบว่าสอบได้เป็นที่ 1 คือได้เป็น จอหงวน นั่นเอง ในการแต่งบ้านสำหรับงานแต่งงานของตน หวังอาซีได้เขียนคำว่า ฮี่ สีทองบนกระดาษแดงติดไว้ที่ผนัง

Read More

การเขียนและอ่านวันในแบบจันทรคติ

mooncal

การอ่านวัน เดือนทางจันทรคติการเขียนวัน เดือนทางจันทรคติ ประกอบด้วย เลข 3 ตำแหน่ง ดังนี้

1. เลขตำแหน่งที่ 1 หมายถึงวัน มี 7 เลข คือ
๑ หมายถึง วันอาทิตย์                 ๒ หมายถึง วันจันทร์
๓ หมายถึง วันอังคาร                  ๔ หมายถึง วันพุธ
๕ หมายถึง วันพฤหัส                  ๖ หมายถึง วันศุกร์
๗ หมายถึง วันเสาร์

Read More

คนไทยมาจากไหน

map_mountains_central_asia_small

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น

แถบตอนใต้ของจีน

เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ มณฑลกวางสี ไกวเจา และยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเขตปกครองตนเองกว่างซี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู

  • นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์เจมส์ อาร์. เอ. เชมเบอร์ลิน, ศาสตราจารย์หลีฟ้ง-ก้าย, ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร และ ดร. มาร์วิน บราวน์

Read More

เทริด ชฎา มงกุฎ ลอมพอก และปันจุเหร็จ

large_DSCF0969

ทั้งเทริด, ชฎา, มงกุฎ, ลอมพอก เป็นเครื่องประดับศีรษะทั้งสิ้น มีรูปร่างและจุดประสงค์การใช้ที่ต่างกัน ต่างพัฒนาสืบเนื่องกันมาและต่อยอดในรูปร่างศิลปะจากราชสำนักสู่เครื่องสวมหัวโขน ละคร

เทริด [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า
ชฎา [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
มงกุฎ น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง
สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ
เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล
มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
ลอมพอก น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวม
ลอมพอก นาคสวมลอมพอก.

Read More