Tag: ไทย

อุณรุทร้อยเรื่อง

262321__18042012014838

อุณรุทร้อยเรื่อง เป็นวรรณคดีขนาดสั้น แต่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเสียงรู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมบทกลอน ประพันธ์โดย คุณสุวรรณ กวีหญิงผู้มีชื่อเสียงมาก ท่านหนึ่งในแวดวงวรรณคดีของไทย

อุณรุทร้อยเรื่องเป็นกลอนบทละครที่แต่งด้วยอารมณ์ขัน ไม่ได้ตั้งใจที่จะใช้แต่งละครจริงๆ กวีได้นำตัวละครร้อยกว่าชื่อจากวรรณคดีเรื่องต่างๆ มาร้อยโยงเป็นเรื่องเดียวกัน โดยใช้สำนวนภาษาที่ไพเราะ เป็นที่รู้จักและท่องจำกันอย่างแพร่หลายในยุคที่แต่งนั้น ทว่าเวลาที่แต่งเรื่องไม่ปรากฏหลักฐาน แต่เชื่อกันว่าน่าจะแต่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ช่วงต้นรัชกาล

Read More

เจ้าสามกรม

picture05

เจ้าสามกรม เป็นคำเรียกพระราชโอรส 3 พระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ประสูติแต่พระสนม ได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และ กรมหมื่นเสพภักดีพระองค์เจ้าทั้ง 3 พระองค์เป็นพระราชโอรสที่มีพระชันษาเป็นผู้ใหญ่และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสด็จสวรรคตของกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าสามกรมถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ทั้ง 3 พระองค์

Read More

ตาม่องล่าย

tmd
วนอุทยานเขาตาม่องล่าย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

อดีตกาลนานมาแล้ว ณ ภาคพื้นริมชายทะเลประจวบคีรีขันธ์ มีบ้านหลังหนึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาริมหนองน้ำบ้านอ่าวน้อย ในท้องที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ปัจจุบันสถานที่ตั้งบ้านและหนองน้ำยังมีปรากฏอยู่บนเนินเขาตาม่องล่าย) เป็นที่พำนักอาศัยของครอบครัวครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวคือตาม่องล่าย ซึ่งนัยว่ามีเชื้อสายจีน เมียของตาม่องล่ายชื่อนางรำพึง บ้างว่าเป็นชาวบ้านอ่าวมะนาว อำเภอบางสะพาน มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อสาวยมโดย มีอาชีพทำประมงและทำไร่
สาวยมโดย เป็นคนขยันขันแข็ง รูปร่างหน้าตาสะสวยงดงามยากที่จะหาสาวใดเปรียบได้ เป็นที่เลื่องลืออยู่ในละแวกบ้านอ่าวน้อยและบ้านใกล้เคียง เป็นที่หมายปวงของชายหนุ่มทั้งใกล้ไกล
ชาวเรือประมงและพ่อค้าวานิชที่จับปลาค้าขายผ่านไปมา เมื่อได้ยลโฉมความงามของสาวยมโดย ก็ต้องตา พึงใจ กันแทบทุกคน จึงเล่าลือกันต่อ ๆ ไป เลื่องลือไปจนเป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่นแถบชายฝั่งทะเลแถบนี้

Read More

อิเหนา เรื่องย่อฉบับไทย

1419736023-1061550473-o[1]

ในแผ่นดินชวามีกษัตริย์ที่สืบเชื้อสายจากเทพเจ้าหรือที่เรียกว่าวงศ์อสัญแดหวาอยู่สี่เมืองได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี ในจำนวนนี้เมืองกุเรปันมีพระโอรสคือระเด่นอิเหนา มีความหล่อเหลาสง่างามมาก ส่วนเมืองดาหามีพระธิดาชื่อบุษบาก้าโหละ มีสิริโฉมงดงามมากเช่นกัน พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายจับให้หมั้นกันแต่เด็ก

Read More

สะเดา ยอดสมุนไพรแห่งฤดูหนาว

015 (1)

ฤดูหนาวเวียนมาถึงอีกครั้งแล้ว ได้เวลาที่ “สะเดา” ผักสมุนไพรรสชาติขม ผลิดอกออกใบให้เราได้ลิ้มรสอันเป็นเอกลักษณ์ พร้อมเปี่ยมด้วยคุณประโยชน์อย่างมากมาย โดยสะเดามีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่

 

Read More

บุญข้าวสาก

10665058_273379426194222_5077170128438261437_n

ในช่วงวันเพ็ญเดือนสิบของทุกปีนั้นหลังจากการทำนาแล้วเสร็จแล้ว ชาวบ้านในภาคอีสานของประเทศไทยเรา ก็จะทำบุญตามประเพณีที่เคยสืบต่อกันมา โดยนำภัตตาหารคาว-หวานไปถวายแด่พระภิกษุสามเณร

และเหตุที่เรียกว่า”บุญข้าวสาก” หรือ “สลาก” ก็เนื่องจากว่า ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนต่างก็นำสำรับอาหารคาว-หวาน ไปถวายพระสงฆ์นั่นเอง เพื่อให้ชาวบ้านถวายสำรับได้ทั่วถึง และไม่เจาะจงพระภิกษุรูปหนึ่งรูปใด จึงมีการจับสลากโดยการเขียนชื่อผู้ที่จะถวายสำรับลงในบาตร แล้วให้พระภิกษุแต่ละรูปจับสลากชื่อของชาวบ้านที่ต้องการถวายสำรับ ถ้าพระภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อใคร ผู้นั้นก็นำสำรับกับข้าวของตนไปถวายพระภิกษุรูปนั้น
ซึ่งในเรื่องนี้ ก็มีตำนาน-นิทานเล่าสืบทอดกันมาว่า

Read More

กุฎีจีน

Charoenchai04

กุฎีจีน หรือ กะดีจีน เป็นชุมชนเก่าแก่ของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ตั้งอยู่ริมคลองวัดกัลยาณ์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และกลุ่มคนหลายเชื้อชาติทั้งชาวไทย จีน ฝรั่ง ญวน มอญ ฯลฯ ที่อพยพจากกรุงเก่ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ตามบันทึกประวัติศาลเจ้าเกียนอันเกง บันทึกว่ากุฎีจีนสร้างในสมัยกรุงธนบุรีโดยชาวจีนที่ตามเสด็จพระเจ้าตากสิน เดิมมี 2 ศาล คือ ศาลเจ้าโจวซือกง และศาลเจ้ากวนอู ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ 1 ย้ายพระนครไปกรุงเทพ คนจีนเหล่านี้จึงอพยพไปรวมกับพวกที่ย่านตลาดน้อยและสำเพ็ง ศาลเจ้าจึงถูกทิ้งร้าง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้บูรณะรวมกันเป็นศาลเดียวกันแล้วอัญเชิญเจ้าแม่กวนกิมมาประดิษฐานให้ชื่อว่า ศาลเจ้าเกียนอันเกง ศาลเจ้านี้จึงเป็นร่องรอยของชุมชนในย่านกุฎีจีน

 

Read More

ทุ่ม โมง ย่ำ ยาม ตี และไกลปืนเที่ยง

5409220217

การบอกเวลาของไทยนั้นมี ๒ แบบ คือ แบบทางการ และแบบไม่เป็นทางการ โดยแบบแรกนั้นจะมีหน่วยเป็นนาฬิกา เริ่มตั้งแต่ ๐ นาฬิกาเรื่อยไปจนถึง ๒๔ นาฬิกา ตามหลักสากลที่กำหนดว่า ๑ วันมี ๒๔ ชั่วโมง ส่วนแบบหลังจะมีหน่วยที่ไม่แน่นอน อาทิ โมง ทุ่ม ตี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเวลาช่วงไหนของวัน

เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการบอกเวลาในอดีต เมื่อครั้งนาฬิกายังไม่แพร่หลาย ขณะนั้นจะมีเฉพาะสถานที่สำคัญอย่างศาลาว่าการหรือวัดเท่านั้นที่จะมีนาฬิกาใช้ ฉะนั้นจึงต้องมีการส่งสัญญาณเพื่อบอกเวลาให้คนทั่วไปทราบ จะได้กะประมาณการดำเนินชีวิตในแต่ละวันได้อย่างถูกต้อง การส่งสัญญาณดังกล่าวจะใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัน กลายเป็นที่มาของหน่วยนับเวลาที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง

Read More

วีรกรรมดอนแตง: “ถ้าไม่ได้ศพคืนก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป”

(ภาพจาก บางกอกรายสัปดาห์ ฉ.2584 หน้า 62)

เมื่อสายลมอันเยือกเย็นของเดือนพฤศจิกายนเวียนกลับมาพร้อมกับสายน้ำที่เอ่อล้นริมตลิ่ง  ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงความสนุกสนานในเทศกาลลอยกระทง  ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบสานกันมาแต่ครั้งโบราณกาล

แต่สำหรับเหล่าทหารเรือโดยเฉพาะลูกประดู่แห่งหน่วย นปข. หรือหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง

กระแสลมและสายน้ำแห่งเดือนพฤศจิกายนไม่ต่างอะไรกับสัญญาลักษณ์และเครื่องเตือนใจให้พวกเขารำลึกนึกถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างห้าวหาญของลูกนาวีไทยเมื่อครั้งอดีต ซึ่งยังคงเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันในนาม “วีรกรรมดอนแตง’

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2518  ไกลออกไปจากกองบัญชาการกองทัพเรือราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร หลายร้อยกิโลเมตร

ที่สถานีเรือตรวจการณ์ตามลำแม่น้ำโขง อำเภอศรีเชียงใหม่  เรือเอกเทิดศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ผู้บังคับหมู่เรือ นปข. จังหวัดนองคาย ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่า

จะมีการลักลอบขนอาวุธและยุทธปัจจัยข้ามมาจากฝั่งลาวบริเวณอำเภอถ้ำบ่อ จังหวัดหนองคาย  ในเขตบ้านกองนาง เพื่อนำไปสนับสนุนกองกำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่หลายแห่งในเขตภาคอีสานยังเป็น “พื้นที่สีแดง’ ที่ถูกคุกคามจากกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

Read More