คุกตวลสเลง ความป่าเถื่อนที่โลกต้องจารึก

คุกตวลสเลง ความป่าเถื่อนที่โลกต้องจารึก

1382173974-PA170004-o

ตำนานสังหารที่โลกไม่เคยลืม
บทบันทึกความเลวร้ายที่ปรากฎในประวัติศาสตร์
ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ
โศกนาฏกรรม “กัมพูชา” ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518
ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความโหดเหี้ยม

ย้อนอดีต (หลายศตวรรษให้หลังมหาอาณาจักรอันเกรียงไกร)
ประวัติศาสตร์กัมพูชายุคใหม่เริ่มต้นเมื่อได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ตามข้อตกลงเจนีวาระหว่างเวียดนามกับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2497 สมเด็จเจ้านโรดมสีหนุปกครองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งผลกระทบของสงครามเย็นทำให้กัมพูชาในช่วงปี 2508 สภาพเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำเสื่อมโทรมถึงขีดสุด เกิดความวุ่นวายทางการเมืองและการเดินขบวนประท้วงรัฐของนักศึกษาประชาชน

เดือนเมษายน 2510 ชาวบ้านและชาวนาในอำเภอซัมลูด จังหวัดพระตะบอง ก่อการจลาจล รัฐบาลส่งทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนซึ่งถูกรวมเรียกเป็นฝ่ายซ้ายหลบหนีเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในพื้นที่ป่าเขา
ต่อมาเดือนมีนาคม 2513 นายพลลอน นอล ทำการรัฐประหาร ก่อนกองกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์กัมพูชา หรือเขมรแดง (Khmer Rouge) มีเวียดกงเป็นพันธมิตร เข้ายึดอำนาจปกครองกัมพูชาได้เบ็ดเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2518

จริงๆแล้วต้องบอกว่า นายพล ลอน นอล นั้นได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆจาก สหรัฐอเมริกา เพื่อโค่นล้มอำนาจของ สมเด็จ นโรดมสีหนุ หลังจากทำการรัฐประหารยึดอำนาจเสร็จสิ้น  สมเด็จนโรดมสีหนุได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศจีน และได้ปลุกกระแสมวลชน ที่ยังสนับสนุนพระองค์ผ่านทางวิทยุ กระจายเสียง  และผู้ที่อยู่เบี้องหลังเขมรแดงที่แท้จริง คนกัมพูชาคงรู้อยู่แก่ใจ สมเด็จนโรดม สีหนุ ได้ปลุกกระเเสมวลชนให้หันมาสนับสนุน กองทัพเขมรแดงซึ่ง ณ ตอนนั้นยังไม่ได้แสดงธาตุแท้ของความโหดเหี้ยมออกมา โดยหวังว่าพระองค์จะได้กลับมาปกครองประเทศอีกครั้ง  หลังจากเขมรแดงยึดอำนาจได้ในปี 2518 ทุกอย่างดูเหมือนจะดีขึ้น แต่ไม่นานพระองค์ ก็ถูกเขมรแดงรวบอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมด 

จากนั้นมากัมพูชาอยู่ภายใต้อำนาจของนายพล พต ผู้นำกลุ่มเขมรแดง ผู้โค่นล้มรัฐบาลลอน นอล ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา กัมพูชาในกำมือพล พต ระหว่างปี 2518-2522 ตกอยู่ในความรุนแรงสุดขั้ว เพื่อปรับปรุงระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมพึ่งตนเอง ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอกประเทศ และไม่ยอมเป็นพันธมิตรกับชาติใดๆ โดดเดี่ยวประเทศออกจากอิทธิพลของต่างชาติ ปิดโรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน ยกเลิกระบบธนาคาร ระบบเงินตรา ยึดทรัพย์สินจากเอกชนทั้งหมด

   โดยในช่วงแรกผู้คนต่างโห่ร้องดีใจหลังจากที่ เขมรแดงได้ยึดอำนาจจากนายพลลอน นอล เพราะหวังว่าความสงบสุขจะกลับมาเยือนชาว กัมพูชาอีกครั้ง 

  พลพต สั่งให้อบยพผู้คนจากกรุงพนมเปญสู่ชนบท เพื่อทำการเกษตร  ทุกคนได้แต่หวังว่าจะมีข้าวกิน มีการทำนาที่เป็นระบบนารวม   จากในรูปเด็กๆ และพ่อแม่  หรือ พี่กับน้อง ต่างจูงมือกันมุงสู่ต่างจังหวัด โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่รอพวกเขาอยู่ คือความตาย

พล พต คลั่งลัทธิซ้ายสุดๆ เขาเชื่อว่าระบบสังคมนิยมจะนำกัมพูชาสู่ความเจริญรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้ โดยประเทศควรจะอยู่อย่างสันโดษ ไม่ต้องเพิ่งวิทยาการเทคโนโลยีใดๆ ขอให้มีข้าวกินก็อยู่ได้ เขาจึงกวาดล้างผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ทางความคิด นักศึกษาปัญญาชน แพทย์ วิศวกร นัปราชญ์ ศิลปิน

เล่ากันว่าคนใส่แว่นสายตาที่ดูเหมือนมีความรู้ เป็นภัยต่อความมั่นคง ปกครองยาก จะถูกฆ่าอย่างไร้เหตุผล เขาต้องการให้กัมพูชามีแต่ชนชั้นกรรมาชีพนี่ไม่ใช่บทหนังหรือละคร แต่เป็นความจริงที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ

เมื่อเขมรแดงยึดกรุงพนมเปญ ประชาชนพลเมืองถูกหลอกออกจากเมืองไปยังชนบทกันดาร พล พตต้องการเปลี่ยนให้ชาวกัมพูชากลับไปเป็นชนดั้งเดิม ใช้แรงงานเพื่อการเกษตร ทุกคนต้องเป็นชาวนาชาวไร่ อาศัยอยู่ในค่ายแรงงาน ทำงานวันละ 12 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก และไม่มีอาหารเพียงพอ

4 ปีที่พล พตอยู่ในอำนาจผู้คนล้มตายนับล้านชีวิต ทั้งอดอยาก ทั้งถูกทารุณกรรมถูกฆ่ายิ่งมหาศาล “ทุ่งสังหาร” อุบัติขึ้นเวลานั้น

คุกตวลสแลง แต่เดิมเป็นโรงเรียนมัธยมซึ่งตั้งชื่อตามบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์กัมพูชา มีตึกเรียน 4 ชั้น 4 อาคาร พ.ศ. 2519 ซึ่งถ้าดูจากภายนอกตอนนี้ก็เหมือนกับโรงเรียนธรรมดา เพราะยังมีโครงสร้างเป็นโรงเรียนอยู่ ในบริเวณประมาณ 10 กว่าไร่ มีตึกเรียน 4 ชั้น อยู่ประมาณ 4 อาคาร 

พอเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2519 เขมรแดงได้เปลี่ยนโรงเรียนแห่งนี้เป็น S-21 หรือ Tuol Sleng ชื่อ S-21 ย่อมาจาก Security Office 21 วัตถุประสงค์คือใช้เป็นสถานที่รีดไถคำสารภาพโดยใช้วิธีใดก็แล้วแต่ และพอรีดไถสำเร็จแล้วก็เอาไปฆ่า หรือจัดการกับผู้ทำผิด

ก้าวแรกจะเป็นหลุมฝังศพของผู้เสียชีวิต 14 ศพ ที่พบหลังจากการเข้าเคลียร์พื้นที่


เดินเข้ามาจะมีป้าย ห้ามหัวเราะ  คนที่นี่เล่าว่าเมื่อก่อนยังไม่มีการเช็ดทำความสะอาดคราบเลือด คือพยายามให้อยู่ในสภาพดั้งเดิมที่สุด  แต่ช่วงหลังได้ทำความสะอาดใหม่   เมื่อไม่นานมานี่เอง

อาคารเรียนชั้นล่างถูกดัดแปลงให้เป็นที่ขังเดี่ยว ส่วนด้านบนเป็นที่ขังรวม โดยชั้นกลางเป็นที่ขังนักโทษหญิง ช่องขังนักโทษนั้นกว้างและยาวราว 1 เมตรสำหรับนักโทษ 4 คน และกว้าง 6 เมตรสำหรับนักโทษราว 20-30 คน ทุกคนมีโซ่ตรวนไว้ คนส่วนใหญ่ที่ถูกคัดมาที่นี่จะเป็นปัญญาชน ศศนาเล่าตามคำบอกของแม่ว่าเขมรแดงจะถามประชาชนว่ามีอาชีพอะไร หากบอกว่านักศึกษา ครู ก็จะส่งมาที่โตนสเลง

ภาพของผู้เสียชีวิตจะติดไว้ตามผนังห้อง แสดงให้เห็นถึงความโหดเที้ยมทารุณโดยไม่ต้องอธิบายเป็นคำพูดใดๆ

นักโทษจะถูกเรียกรวมพลทุกตีสี่ครึ่ง ผู้คุมจะตรวจตราอย่าละเอียดยิบ และสอบสวน  กฎเหล็ก 10 ข้อที่เขียนติดเป็นป้ายอยู่ด้านหน้านั้น อ่านแล้วไม่น่าเชื่อเลยว่านี่คือสิ่งที่มนุษย์ปฏิบัติต่อมนุษย์  หากพวกเขาฝ่าฝืนต้องถูกโบยตี  หรือจับหัวยัดตุ่มปุ๋ย ไม่ก็จับเข้าเครื่องทรมาน ช็อตด้วยไฟฟ้า  เวลาอาบน้ำก็ต้องมาอยู่รวมกันและผู้คุมจะสาดน้ำเข้าไป นานๆ ถึงจะได้อาบที ทีนี่จึงเหม็นสาบ เต็มไปด้วยคราบไคลและเชื้อโรค


คุก S-21 จะมีกฎระเบียบอยู่ 10 ข้อ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับช่วงเวลาที่ถูกทารุณหรือถูกรีดไถคำสารภาพ กฎ 10 ข้อมีรายละเอียดดังนี้
1. You must answer accordingly to my questions. Do not turn them away. คุณต้องตอบคำถามของเราทุกคำถาม ห้ามแสแสร้งและห้ามปฏิเสธ 


2. Do not try to hide the facts by making pretexts of this and that. You are strictly prohibited to contest me. ห้ามโกหก ห้ามปฏิเสธและห้ามเถียงเรา 


3. Do not be a fool for you are a chap who dares to thwart the revolution. อย่างี่เง่าและอย่าทำตัวโง่ๆ เพราะคุณเป็นคนโง่ที่พยายามต่อต้านพวกเรา 

4. You must immediately answer my questions without wasting time to reflect. เมื่อถูกถามต้องตอบทันทีอย่าเสียเวลาคิด 

5. Do not tell me either about your immoralities or the revolution. ห้ามพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่ทำให้เกิดการต่อต้าน 

6. While getting lashes or electrification you must not cry at all. ระหว่างถูกลงโทษห้ามร้องไห้ และห้ามส่งเสียงแม้แต่นิดเดียว 

7. Do nothing. Sit still and wait for my orders. If there is no order, keep quiet. When I ask you to do something. You must do it right away without protesting. อยู่นิ่งๆ นั่งรอและคอยคำสั่ง ถ้าไม่มีคำสั่งให้อยู่เงียบๆ แต่เมื่อมีคำสั่งต้องทำทันทีโดยไม่มีข้อสงสัยและข้อประท้วง 

8. Do not make pretexts about Kampuchea Krom in order to hide your jaw of traitor. อย่าพยายามเสแสร้งเพื่อซ่อนความรู้สึกต่อต้านพวกเรา
9. If you do not follow all the above rules, you shall get many lashes of electric wire. ถ้าไม่ทำตามกฎระเบียบทุกข้อเหล่านี้ จะโดนชอร์ตด้วยไฟฟ้า 

10. If you disobey and point of my regulations you shall get either ten lashes or five shocks of electric discharge. ถ้าฝ่าฝืนข้อใดข้อหนึ่งจะถูกเฆี่ยนด้วยแส้ 10 ครั้ง หรือจะถูกชอร์ตด้วยไฟฟ้า 5 ครั้ง


สำหรับ 10 ข้อนี้นักโทษทุกคนต้องทำตามไม่ว่าจะเป็นใครทั้งสิ้น นอกจากกฎ 10 ข้อนี้ ยังมีกฎอีกมากมายที่เรียกว่าเป็น unwritten rules ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทยก็คือกฎที่รู้ๆ กันอยู่ เหมือนว่าเป็นทางการ อย่างเช่น เวลานอนถ้านักโทษคิดจะเปลี่ยนท่านอนยังต้องขออนุญาตผู้คุม ถ้าจะใช้ห้องน้ำก็ต้องขออนุญาตเช่นเดียวกัน ถ้าไม่ขออนุญาตและฝืนพลิกตัวเปลี่ยนท่านอน หรือแอบปลดทุกข์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้คุมก็จะถูกอัด

ส่วนการอาบน้ำที่มีไม่บ่อยนัก ส่วนใหญ่ผู้คุมจะรวบรวมนักโทษให้อยู่ในห้องเดียวกันแล้วก็อาจจะเอาสายยางเข้าไปฉีดให้ชุ่มๆ และการอาบน้ำแบบนี้มี  4 วันต่อครั้ง หรือบางทีอาทิตย์ละหน ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงเรื่องโรคติดต่อหรือเรื่องความสกปรก

ช่วงแรกๆ ที่นักโทษเข้าไปอยู่ในคุก S-21 ก่อนที่จะถึงคิวรีดคำสารภาพ หลังจากที่ถ่ายรูปและเก็บประวัติอย่างละเอียดเรียบร้อยแล้วนักโทษจะอยู่ในห้องขังและถูกให้อดอาหารเป็นเวลายาวนานเหมือนกัน หรือถ้าได้อาหารก็เหมือนไม่ได้ เพราะมันเป็นปริมาณที่น้อยมาก อย่างเช่น อาจจะเป็นข้าวต้ม 3 ช้อนต่อวันและไม่มีกับข้าว คือจะให้ทรมานทางจิตใจไว้ก่อนแล้วค่อยทรมานทางร่างกาย เพื่อให้นักโทษคนนั้นยอมรับข้อกล่าวหาทุกประการง่ายขึ้น

นี่เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ทรมานนักโทษเพื่อให้รับสารภาพก่อนที่จะถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมทารุณ


ขั้นต่อไปคือการรีดไถคำสารภาพ ซึ่งก็คือการทารุณเพื่อบังคับให้สารภาพนั่นเอง ถ้ามีโอกาสได้ไปดูที่พิพิธภัณฑ์ S-21 หรือ Genocide Museum จะมีแต่ความสงสารและหดหู่ เพราะมันเหลือเชื่อว่าคนจะสามารถทำกับคนได้ถึงขนาดนี้ เพราะบางทีเวลาเรานึกถึงการทารุณคนหรือ genocide เรามักจะนึกถึงการที่ฮิตเลอร์ที่พยายามล้างเผ่าพันธ์ุชาวยิวเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือเมื่อเร็วๆ นี้ก็เป็นเรื่องการแตกแยกของประเทศยูโกสลาเวีย                 

แต่สิ่งที่ทำให้คนไทยเราสบายใจก็คือเรามักจะคิดว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว เกิดขึ้นในอีกทวีปหนึ่งหรือในอีกยุคหนึ่ง และถ้าดูกันจริงๆ เป็นเรื่องของแต่ละศาสนาและแต่ละเผ่าพันธ์ุ แต่เรื่องของเขมรแดงและเรื่องคุก S-21 และทั่วประเทศกัมพูชาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ 20 กว่าปีที่ผ่านมานี้เองและสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือมันเกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้านเรานี่เอง

ตึกแรกผ่านไปหลังจากนั้นผมก็ไปที่ตึกที่สองซึ่งเป็นการแสดงภาพถ่ายมากมาย ของนักโทษ เพราะที่นี่จะมีการทำประวัตินักโทษอย่างละเอียดมาก


เสื้อผ้าของเหยื่อผู้เสียชีวิตมีมากมายจะสังเกตุเห็นเสื้อของเด็ก ดูแล้วหดหู่ยิ่งนัก


เป็นสิ่งที่รู้กันอยู่ว่าใครที่เป็นนักโทษในคุก S-21 นี้ สุดท้ายก็ต้องถูกฆ่า แต่ก่อนที่จะถูกฆ่าต้องถูกทารุณอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่พอนักโทษไปถึง S-21 ใหม่ๆ ไม่ว่าจะมาคนเดียวหรือเป็นครอบครัว ทางผู้ดูแลจะถ่ายรูปทุกคน และสอบถามประวัติของทุกคนอย่างละเอียด หลังจากนั้นก็จะถูกแก้ผ้าและให้ใส่ชุดประจำของคุก และถูกบังคับให้อยู่ในห้องขังที่เป็นห้องเรียนธรรมดา และให้นอนบนพื้นและล่ามโซ่ ในห้องห้องหนึ่งอาจจะนอนประมาณ 50-60 คน โดยให้นอนเรียงสลับหัวท้ายติดๆ กันไป S-21 มีกฎระเบียบที่ค่อนข้างจะเคร่งครัดพอสมควร และการละเมิดกฎระเบียบข้อใดก็จะเปิดโอกาสให้ทางผู้คุมลงโทษนักโทษได้

           รูปของผู้เสียชีวิตมีเยอะมาก


S-21 ถือว่าเป็นคุกที่ทางเขมรแดงรวบรวมคนที่เขาคิดว่าเป็นศัตรู หรือเป็นกบฏต่อประเทศชาติและต่อรัฐบาล ในตลอด 4-5 ปี ที่คุกแห่งนี้เปิด มีนักโทษทั้งหมดประมาณ 15,000 คน ซึ่งรวมถึงเด็กด้วย มีประมาณ 2,000 กว่าคน นักโทษเหล่านี้ถูกจับมาจากทุกภูมิภาคของประเทศ และจากทุกระดับชั้นในสังคม ไม่ใช่เฉพาะชาวเขมรเท่านั้น มีทั้งชาวเวียดนาม ลาว ไทย อินเดีย ปากีสถาน อังกฤษ อเมริกัน แคนาดา นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย แต่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวเขมร

ที่บอกว่านักโทษเหล่านี้มาจากทุกภูมิภาคและทุกระดับชั้นในสังคมก็จะมีทหารที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม คนงานธรรมดา ชาวนา วิศวกร นักวิชาการ ครู นักเรียน นักศึกษา รวมถึงรัฐมนตรีบางท่านและทูตต่างประเทศด้วย

เขมรแดงไม่เพียงแต่สังหารประชาชนทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเข่นฆ่าสหายชุดดำที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีกด้วย หลังการยึดอำนาจวันที่ 17 เม.ย.2518 พล พต มีศัตรูทางการเมืองมากมาย มีความพยายามรัฐประหารยึดอำนาจโดยกลุ่มอื่นหลายครั้ง เหยื่อที่ศูนย์ S-21 จำนวนมากเป็นเด็กๆ และเยาวชนที่เป็นลูกหลานของสหายชุดดำด้วยกัน คนเหล่านี้ถูกนำไปสอบสวนเค้นเอาความจริง ก่อนจะถูกสังหารแบบฆ่าทั้งโคตร เป็นการกำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างเหี้ยมโหด

ภาพที่สะดุดใจฉันคือภาพที่คุ้นตาปรากฏไปทั่วโลก คือภาพหญิงคนหนึ่งกำลังอุ้มลูกน้อย  หัวของเธอด้านหลังมีเครื่องมือช็อตไฟฟ้าตรึงอยู่  มีข้อมูลว่าเธอชื่อ  “จันกึมซรุน ซาง” เป็นเขมรเชื้อสายจีนและเป็นภรรยาของอดีตรัฐมนตรีในรัฐบาลลอนนอล   ภาพเหล่านี้ทหารเขมรแดงจะถ่ายและบันทึกประวัตินักโทษทุกคนที่เข้ามาในโตน สเลงแห่งนี้ ระหว่างถูกเวียดนามบุกมีการทำลายหลักฐานเหล่านี้ไปก็มาก

แน่นอนว่า จุดจบของเธอและลูกคือความตาย แม้แต่เด็กเล็กๆเขมรแดงก็ไม่มีความปราณีเพราะถือว่า ถ้าจะฆ่าต้องฆ่าล้างโครต  ดูภาพนี้แล้วสะเทือนใจมาก คนเราทำไดถึงขนาดนี้เลยหรือ

รูปของเด็กน้อยผู้เคราะห์ร้ายที่ต้องสังเวยให้แก่ความโหดเหี้ยมของเขมรแดง

ผู้หญิงคนนี้มีลูกเล็กๆ แต่โทษของเธอก็เหมือนกับคนอื่น นั่นคือความตาย ดูแล้วเศร้ามากโดยเฉพาะรูปเด็กๆ  รูปแม่กับลูก

ภาพของชายคนหนึ่งกับด้านหลังเป็นศพของผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม


โซ่ตรวนที่ยังอยู่ในสภาพดี และรูปปั้น ไม่แน่ใจว่าเป็น พลพต และแกนนำเขมรแดงหรือปล่าว


และตึกต่อไปล้อมรอบด้วยลวดหนาม มีนักท่องเที่ยวบางตามาก

อาคารและทางเดินยังอยู่ในสภาพที่ถือว่าสมบูรณ์มาก


จะมีการก่ออิฐกั้นเป็นช่องเล็กๆเพื่อคุมขังนักโทษ  มีการเจาะผนัง เพื่อเดินทะลุไปจนสุดอาคาร



แม้เรื่องจะผ่านมานานกว่า 30 ปี แต่การไต่สวนในคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพิ่งเริ่มต้นได้เพียง 3 ปี   โลกกำลังเงี่ยหูรอฟังว่าความยุติธรรมนั้นยังมีอยู่จริง ขณะที่ผู้เกี่ยวข้องสำคัญในเหตุการณ์ก็เริ่มล้มตายและแก่ชราไปทุกที

ไม่นานมานี้ ได้เห็นภาพข่าวสหายดุจ  อดีตผู้คุมคุกโตน สเลงถูกนำตัวโดยเจ้าหน้าที่ศาลฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มาที่นี่เพื่อสอบสวน และอธิบายการทำหน้าที่ของเขาระหว่างนั้น ภาพสหายดุจซึ่งบัดนี้คือชายชราร่ำไห้หลายต่อหลายครั้ง เมื่อต้องอธิบายเรื่องราวในอดีตอันโหดร้ายนั้น บีบหัวใจและต้องบอกว่ารู้สึกสงสารและเห็นใจในมุมของคนภายนอก  แต่สำหรับคนเขมรที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายเช่นนี้มาคงจะคิดต่าง

คาดเดาเอาเองจากภาพที่เห็นนั้นว่า  บางทีสิ่งที่อยู่ในใจสหายดุจนั้นคือโทษทัณฑ์อันมหันต์ที่กัดกินความเป็นมนุษย์ของเขาตลอดชีวิต แม้จะยังไม่มีคำพิพากษาจากศาลฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ออกมาก็ตาม.


ชั้นนี้จะแบ่งออกเป็นล็อกเล็กๆพร้อมประตูไม้  สภาพถือว่าสมบูรณ์มาก



มองออกไปจากระเบียงชั้นสาม  ผ้านตาข่ายลวดหนาม รู้สึกได้ถึงความน่ากลัวและไร้อิสรภาพ


เดือนมกราคม พ.ศ.2522 เขมรฝ่ายที่เวียดนามหนุนหลังบุกเข้ายึดกรุงพนมเปญ เขมรแดงแตกพ่ายมาหลบอยู่ตามตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย ขณะที่ระเบิดนับสิบล้านลูกฝังอยู่ทั่วประเทศ ต่อมา พ.ศ.2525 พล พต ร่วมกับเจ้าสีหนุจัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาธิปไตย นายเขียว สัมพันธ์ ขึ้นเป็นผู้นำในปี 2528 แต่เชื่อกันว่าพล พตกุมอำนาจที่แท้จริงถึง พ.ศ.2534 กลุ่มต่างๆ ในเขมรลงนามสันติภาพให้มีการเลือกตั้งที่กำกับโดยสหประชาชาติแต่แล้วเขมรแดงกลับปฏิเสธผลการเลือกตั้งที่จะได้รัฐบาลผสมในปี 2535 แม้ว่าจะเสียกำลังพลไปจำนวนมากแล้วก็ตาม

การต่อสู้แย่งชิงอำนาจเกิดขึ้นภายในกลุ่มเอง ปี 2536 สหประชาชาติสนับสนุนให้มีการจัดเลือกตั้งใหญ่เพื่อนำประเทศกลับสู่สภาพปกติ ตอนนั้นเองที่เขมรแดงหมดอำนาจลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลที่ได้ครองอำนาจในระยะนั้นเป็นรัฐบาลผสม และหลังจากการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศในปี 2541 ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น นำไปสู่การยอมจำนนของกองกำลังเขมรแดง พล พต ถูกจับก่อนเสียชีวิตวันที่ 15 เมษายน 2541    

สมาชิกของเขมรแดงแตกกระจาย บางส่วนยอมจำนนและถูกจับ บางส่วนโดยเฉพาะระดับแกนนำหนีหัวซุกหัวซุนเขมรแดง หรือ Khmer Rouge เป็นคำประฌามที่เจ้านโรดมสีหนุ ผู้เป็นประมุขรัฐ ใช้เรียกขบวนการคอมมิวนิสต์ของประเทศช่วง พ.ศ.2503 เพื่อให้แตกต่างจากฝ่ายขวา

เขมรสีน้ำเงิน คือเขมรที่นิยมกษัตริย์ชาวกัมพูชาเกือบทุกครอบครัวได้สูญเสียสมาชิกในช่วงปีดังกล่าว รวมทั้งสมเด็จพระนโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชาที่ทรงสูญเสียพระราชโอรสพระราชธิดาตลอดจนพระญาติไปจำนวน 7 พระองค์ แต่นั้นเป็นต้นมาก็ยังไม่เคยมีผู้นำเขมรแดงคนใดถูกนำตัวขึ้นไต่สวนในศาล จนกระทั่งในวันอังคารที่17 ก.พ.2551

โฉมหน้าหนึ่งในเเกนนำเขมรแดง เขียว สัมพัน


ในอีกตึกหนึ่งเป็นการแสดงรูปภาพจากคำบอกเล่าของผู้ที่รอดชีวิต  มีการทรมานนักโทษอย่างโหดเหี้ยมทารุณ   การพรากลูกไปจากอ้อมกอดของแม่  แน่นอนว่า ทุกคนพบจุดจบเหมือนๆกัน




อาวุธและเครื่องมือต่างๆที่ใช้ทรมานและสังหารนักโทษ

หนุ่มคนนี้ดูแล้วน่าจะเป็นทหารเรือ แน่นอนว่า เขมรแดงจะกำจัด ผู้ที่มีความรู้ หมอ ข้าราชการ อัยการ คนที่ใส่แว่นตาก็จะถูกฆ่าเพราะเพียงแค่ดูแล้ว น่าจะเป็นผู้ที่มีความรู้

รูปนักโทษที่ถูกทรมานอย่างทารุณ ทั้งการใช้คีมหนีบหัวนม  และ การใช้สัตว์มีพิษ เช่น แมงป่องและ ตะขาบเพื่อ ทรมานนักโทษ



อุปกรณ์ที่ใช้ทรมานนักโทษที่ยังหลงเหลืออยู่

มีรูปติดที่ผนังโดยไม่ต้องมีคำอธิบายใดๆ ถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนของเขมรแดง


บริเวญชั้นหนึ่งของตึกที่สาม  มีการแสดงรูปวาดต่างๆ ตามฝาผนัง  และเป็นที่เก็บกระโหลกรวมทั้งกระดูกของผู้เสียชีวิตไว้จำนวนมาก 




ตึกและอาคารที่ตั้งสูงตระหง่านเมื่อก่อนเคยเป็นโรงเรียน ให้เด็กๆได้เรียนหนังสือแต่ตอนนี้ กลายเป็นคุกที่ได้ชื่อว่าโหดเหี้ยม อันดับต้นๆของโลก  มองแล้วเศร้าใจ

ผู้รอดชีวิต จากคุกแห่งนี้ มีอยู่คนหนึ่ง ที่ขึ้นศาลเป็นพยานในการไต่สวน กรณีการ ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ของเขมรแดง  ฝังเรื่องราวของเขาได้เลยครับ  ปล เรียบเรียงจากข้อมูลของ Oknation.com

นายวัน นัธ หนึ่งในผู้รอดชีวิตเพียงไม่กี่คน จากเรือนจำชื่อกระฉ่อนโตน สะเลง หรือ เอส-21 ในยุคที่เขมรแดงเรืองอำนาจ ได้ร่ำไห้ในวันนี้ ระหว่างที่เขาขึ้นให้การต่อศาลพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามเขมรแดงว่า เขารอดชีวิตมาได้ เพราะเขาวาดภาพชวนเชื่อให้นายพอล พต

นายวัน นัธ วัย 63 ปี ยังได้บรรยายถึงความหิวโหยที่ผลักดันให้นักโทษต้องกินแมลง ที่ร่วงลงมาจากเพดานในห้องขังในเรือนจำ และเขาก็อดอยากจนคิดไปถึงขั้นจะกินเนื้อมนุษย์ด้วยกัน เขาเป็นผู้รอดชีวิตคนแรก ที่ให้การในระหว่างการพิจารณาคดีนายเค็ง เก็บ เอียบ หรือ สหายดุจ ผู้บัญชาการเรือนจำโตน สะเลง ที่ถูกกล่าวหาว่า ควบคุมการทรมานและการกำจัดประชาชน 15,000 คน ที่ผ่านเข้ามายังเรือนจำแห่งนี้ นายวัน นัธ กล่าวว่า ตอนที่เขาไปถึง สภาพภายในเรือนจำ ไร้ซึ่งมนุษยธรรมและมีอาหารน้อยมาก เขายังคิดเลยว่า การได้กินเนื้อมนุษย์ด้วยกันยังจะดีเสียกว่า

ด้านสหายดุจ ได้นั่งตัวงออยู่ภายในเก้าอี้ของเขา ขณะมองอดีตนักโทษเล่าย้อนเหตุการณที่เขาเดินทางไปถึงเรือนจำโตน สะเลง ที่เขาถูกถ่ายภาพ ถูกถอดเสื้อผ้า และถูกพันธนาการร่วมกับนักโทษคนอื่น ๆ นักโทษแต่ละคนจะได้รับข้าวต้มประมาณคนละ 3 ช้อนชาในแต่ละมื้อ ทำให้บางคนต้องกินแมลง แต่เขาทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะแมลงตกอยู่ห่างจากตรงที่เขาถูกล่ามเอาไว้

นายวัน นัธ กล่าวว่า เขาสูญเสียเกียรติภูมิ แม้แต่สัตว์ยังได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ถ้าพวกผู้คุมพบว่าเราเก็บแมลงมากิน ก็จะถูกตี แต่พวกนักโทษก็แอบทำกัน มีนักโทษที่ถูกล่ามถัดจากเขาเสียชีวิตในช่วงเดือนแรกของการถูกจองจำ และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาถูกเรียกตัวให้ลงบันไดไปข้างล่าง เขาอ่อนแรงจนต้องพยุงให้ยืนหรือเดิน ซึ่งเขาคิดว่าความตายกำลังใกล้เข้ามา แต่เขากลับได้รับแจ้งให้ไปทำหน้าที่วาดภาพขนาดใหญ่ของคนที่เขาไม่รู้จัก ซึ่งก็คือนายพอล พตผู้ปกครองกัมพูชา ระหว่างปี 2518 – 2522 เขาทราบดีกว่า ถ้าวาดออกมาไม่ดี จะเจอกับปัญหาใหญ่หลวง ซึ่งเขาเครียดมาก มันเป็นสถานการณ์ความเป็นและความตาย

มีช่างแกะสลักคนหนึ่งถูกลากไปทรมาน เพราะฝีมือไม่ดี ส่วนตัวเขากลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของกัมพูชา และศาลได้นำภาพเขียนวิธีการทรมานต่าง ๆ ของเขามาแสดง ที่รวมถึงภาพนักโทษถูกเฆี่ยนตี ถูกจับกดน้ำ และถูกถอดเล็บด้วยคีม นายวัน นัธกล่าวว่า แม้จะพยายามลืม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังตามหลอกหลอนเขา เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้มานั่งในศาล เพื่อเล่าประสบการณ์อันเลวร้ายของเขา

ศาลยังได้แสดงภาพสเก็ตช์ ที่เขาถูกนำตัวมาจากครอบครัว และถูกทรมานด้วยไฟฟ้า ผู้คุมเฆี่ยนตีนักโทษและแย่งลูกวัยทารกไปจากพวกเขา ซึ่งนายวัน นัธ กล่าวว่า เขามักจะได้ยินเสียงกรีดร้องของพ่อแม่ที่พยายามแย่งลูกคืนจากผู้คุม

อีกด้านหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนของคุกที่นี่คือ ผู้คุมจะคอยตรวจตราตลอด นักโทษจะกระดิกตัว จะเยี่ยว จะต้องแจ้งผู้คุมก่อนทุกครั้ง   และมีการล่ามโซ่ตรวจไว้ตลอดเวลา  อย่างภาพนี้เป็นตาข่ายลวดหนามไฟฟ้า ป้องกันนักโทษที่จะคิดฆ่าตัวตาย  สึ่งที่ผมสุดแสนจะเศร้าใจคือ ทำไมถึงต้องฆ่าด้วยการทรมานก่อน นักโทษส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะการถูกทรมานต่างๆนาๆโดยไม่สังหารในทันที  กฏของที่นี่อีกอย่างคือห้ามฆ่าตัวตาย ต้องให้โดนทรมานอย่างแสนสาหัสก่อน เป็นการฆ่าอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตและไร้ซึ่งเหตุผล

ที่มา: https://pantip.com/topic/31130165

Leave a Reply