ลักษณะของคนที่บวชในพระพุทธศาสนาไม่ได้
ปาปาด็อกแห่งเฮติ
ฟร็องซัว ดูว์วาลีเย (François Duvalier, 14 เมษายน พ.ศ. 2450 – 21 เมษายน พ.ศ. 2514) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮติ เจ้าของฉายา “ปาปาด็อก” (Papa Doc) เกิดเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ที่สาธารณรัฐเฮติ เมื่อโตเป็นหนุ่ม เขาเลือกศึกษาวิชาการแพทย์ ต่อมาได้เปลี่ยนใจลงเล่นการเมือง โดยมีอุดมการณ์อย่างหนักแน่นที่จะเป็นปากเป็นเสียงแก่ประชาชนผิวสีที่ยากไร้และด้อยโอกาสที่มีเป็นจำนวนมากในเฮติ และเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย เขาจึงเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน จนเมื่อเขาลงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เขาจึงได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ได้รับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแห่งเฮติ Read More
กรวดสีดำ กรวดสีขาว
เศรษฐีคนหนึ่งชอบใจลูกสาวชาวนายากไร้ผู้หนึ่ง เขาเชิญชาวนากับลูกสาวไปที่สวนในคฤหาสน์ของเขา เป็นสวนกรวดกว้างใหญ่ที่มีแต่กรวดสีดำกับสีขาว เศรษฐีบอกชาวนาว่า “ท่านเป็นหนี้สินข้าจำนวนหนึ่ง แต่หากท่านยกลูกสาวให้ข้า จะยกเลิกหนี้สินทั้งหมดให้”
ชาวนาไม่ตกลง Read More
คำสอนของเล่าจื๊อ
ศาสดาแห่งลัทธิเต๋าชื่อ เล่าจื๊อ มีชีวิตร่วมสมัยขงจื๊อ 2,600 ปีที่แล้ว เคยดูแลห้องสมุดเมืองลั่วหยาง เมืองหลวงของราชวงศ์โจว
คำสอนเลื่องชื่อ…อยู่ในหนังสือชื่อ วิถีทาง หรือวิถีแห่งเต๋า
การปกครอง…เล่าจื๊อวางหลักไว้ว่า
การปกครองชาติใหญ่เหมือนการต้มปลาตัวเล็ก ไม่ควรคนบ่อย เพราะปลาจะแหลก
การปกครองที่ดีที่สุด ประชาชนไม่รู้ว่าถูกปกครอง
การปกครองรองลงมา คือการปกครองที่ประชาชนสรรเสริญ
การปกครองลำดับที่สาม คือการปกครองที่ประชาชนหวาดกลัว
การปกครองที่แย่ที่สุด คือการปกครองที่ประชาชนรังเกียจ
วันไหว้ขนมบัวลอย
เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอยหรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึ๋งเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย
สะพานชุดเทวดานฤมิต
ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 ประชากรในพระนครเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ขอบเขตของเมืองยังคงอยู่เพียงคลองรอบกรุง ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดให้ขุดคลองขนานกับกำแพงเมืองเดิม จากวัดเทวราชกุญชรไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา ณ วัดแก้วฟ้าล่าง เป็นการขยายเขตพื้นที่พระนครออกไป เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเป็นปราการป้องกันพระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง
ทำไมเขียน № แต่อ่านว่า number ?
เราส่วนมากก็คงเคยเรียนมาแต่เด็กๆ หรือไม่ก็เคยผ่านตา เคยใช้ และรู้ว่า เจ้าตัว № นั้นใช้แทนคำว่า number หรือ”หมายเลข”ในภาษาไทยใช่ไหมครับ… แล้วมีใครสงสัยไหมครับว่า № มันมีตัว N กับตัว o (บ้างก็ขีดเส้นใต้ บ้างก็จุดเอาเฉยๆ) แต่ในคำว่า number ไม่เห็นมีตัว o ซักตัว!
คันคากรบพญาแถน สงครามตามล่าหาน้ำ
(ซ้าย) กบตัวเดียวบนหน้ากลองทองมโหระทึก พบที่ ต. ท่าเรือ อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช (กลาง) กบซ้อนกัน 2 ตัว บนหน้ากลองทองมโหระทึก จากอุษาคเนย์ (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ The Shanghai Museum ป้ายจัดแสดงระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1000) (ขวา) กบซ้อนกัน 3 ตัว บนหน้ากลองทองมโหระทึก
เมื่อฝนแล้ง น้ำแห้งขอดหาย บรรพชนคนอุษาคเนย์ดึกดำบรรพ์ 3,000 ปีมาแล้ว มีพิธีขอฝนจากสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ครึ่งน้ำครึ่งบก เช่น คันคาก หรือคางคก และกบ
[คันคาก เป็นคำลาวสองฝั่งโขง ตรงกับคางคกของไทย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง]
เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกน้ำนองทั่วไป ให้ความเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์แก่ผู้คนทุกชนเผ่าที่มีหลักแหล่งอยู่เขตมรสุม แล้วทำนาทำไร่โดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น เรียกนาทางฟ้า เพราะยังล้าหลังทางเทคโนโลยี
คนดั้งเดิมลุ่มน้ำโขง จึงผูกนิทานพญาคันคาก เพื่อเพิ่มพลังให้ชุมชนร่วมกันต่อสู้แก้ไขความแห้งแล้ง
ซึ่งเป็นวรรณกรรมคำบอกเล่าคลาสสิคสุดยอดที่สุดของตระกูลไทย-ลาว (แต่ไม่ได้รับยกย่องจากระบบการศึกษาไทย) จะสรุปย่อที่สุดมาไว้ดังนี้
แง่คิดดีๆ จากชายชราผู้จากไป
สัปดาห์สุดท้ายของปี 2548 ผมไปงานสวดและงานเผาศพผู้ชายวัย 81 ปีที่ผมรู้จักเขามายาวนาน 30 ปี ไม่ใช่ญาติ แต่สนิทนักรักใคร่เสมือนญาติ
ก่อนเสียชีวิตไม่กี่วันเขาสั่งลูกและภรรยาแบบคนไม่ครั่นคร้ามความตายว่าสวดสามวันแล้วเผาไม่ต้องบอกใครให้ วุ่นวาย อย่าเศร้า อย่าร้องไห้ ทุกคนต้องมีวันนี้ เพียงแต่เขาอยู่หัวแถวเลยต้องไปก่อน แล้วลูกเมียก็ทำตามคำสั่ง สวดสามวันเผา
การนับศักราช
ศักราชช่วงเวลาที่จัดตั้งขึ้นตามการอ้างอิงของช่วงเวลานั้น โดยแบ่งได้ตามการอ้างอิงหรือการเรียก เช่น
พุทธศักราช (พ.ศ.) – เริ่มนับเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันเพ็ญ เดือน 6 ปีจอ นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา โดยเฉพาะไทย และศรีลังกา ประเทศไทยเริ่มใช้พุทธศักราชในหมู่พระสงฆ์ ก่อนที่รัชกาล 6 จะเกล้าให้นำมาใช้แทน ร.ศ. ปีพุทธศักราชของไทย ถือกำเนิดโดยให้วันปรินิพพานเป็นปี พ.ศ. 0 แต่ ศรีลังกา พม่า ลาว และเขมร นับมากกว่าเรา 1 ปี คือนับเอาวันปรินิพพานเป็นปีที่ 1 ในปัจจุบันมีค้นพบว่าพุทธศักราช มีความคลาดเคลื่อนไปจากความเข้าใจข้างต้น 60 ปี นั่นคือ เขาเชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานปี พ.ศ. 60 มิใช่ พ.ศ. 0