“ศกุนตลา” …เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างศกุนตลาธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะ เป็นผู้มีความงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง กับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม แต่ความรักของคนทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส
“ศกุนตลา” …เป็นเรื่องแทรกอยู่ในมหากาพย์มหาภารตะ กล่าวถึงเรื่องราวความรักระหว่างศกุนตลาธิดาเลี้ยงของฤษีกัณวะ เป็นผู้มีความงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง กับท้าวทุษยันต์กษัตริย์ผู้มีคุณธรรม แต่ความรักของคนทั้งสองต้องพบอุปสรรค เนื่องมาจากผลคำสาปของฤษีทุรวาส
อรหัน เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างตัวและปีกเป็นนก มี 2 เท้า แต่มีศีรษะเป็นมนุษย์หรือยักษ์ คล้ายกับกินรี
อรหัน มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า “จิงโจ้” มักพบตามภาพจิตรกรรมฝาผนังต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนังที่อุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือภาพลายรดน้ำตามตู้พระธรรม เป็นต้น Read More
ทุกคนต่างรู้จักพระอัญญาโกณฑัญญะ โดยทราบว่าท่านเป็นพระภิกษุรูปแรก และเป็นพระรูปแรกที่บรรลุธรรมหลังจากได้ฟังธัมมจักกัปปวัตนสูตร และบทถัดมา แต่ว่าเราไม่ค่อยทราบกันเลยว่าท่านหายไปไหนหลังจากบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว
Read More
ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั้นจะมีเทศกาลอื่นๆ รวมอยู่ด้วยมากมายหลายเทศกาล โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนวันตรุษจีนยาวไปจนถึงวันเทศกาลง้วงเซียว (元宵節) หรือที่ชาวไทยเรารู้จักกันว่าวันเทศกาลชาวนาหรือเทศกาลโคมไฟ อันจะเกิดขึ้นในวันที่ 15 เดือน 1 (正月大 十五) ตามปฏิทินจันทรคติจีนและถือว่าเป็นวันสิ้นสุดงานเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ของ ชาวจีนด้วย
เนื่องจากมีผู้สับสนเรื่องการใช้คำ “มุกตลก” และ “มุขตลก” ว่าที่ถูกต้องควรสะกดด้วย “ก” หรือ “ข” นั้น ราชบัณฑิตยสถานขอชี้แจงถึงเหตุผลที่เก็บคำ “มุกตลก” ที่สะกดด้วย “ก” โดยมีที่มาจากเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้คำว่า “มุก” ดังนี้
– กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ มีความตอนหนึ่งว่า
กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลีมาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร หรือเรียกรวมกันว่า “เบญจราชกกุธภัณฑ์”
เจ้าฟ้าอภัย ( โอรสของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ) เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ราชสมบัติ แต่ถูกเจ้าฟ้าพร พระเจ้าอา ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสำเร็จโทษ พร้อมกับเจ้าฟ้าบรเมศร พระอนุชา เมื่อ พ.ศ. 2175 โคลงนิราศนี้พระยาตรังคภูมิบาล ในรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์รวบรวมไว้ในหนังสือชื่อ โคลงกวีโบราณ แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ มีเหลืออยู่เพียง 25 บท กล่าวถึงการจากกรุงศรีอยุธยาไปลพบุรี ชมลพบุรี แล้วเดินทางไปทุ่งสมอคอน และวังวารี มีการรำพันถึงหญิงคนรักตลอด จบลงตอนบวงสรวงเทพารักษ์
พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ มีความสำคัญมากในอดีต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสันนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลมาจากลังกา ซึ่งตามความเชื่อของพระราชพิธีดังกล่าว ถือว่า เป็นการสวดไล่ผี เพราะในสมัยก่อนคนไทยมีความเชื่อว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านของปีเก่าสู่ปีใหม่ไทยหรือสงกรานต์ จะต้องขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากบ้านจากเมือง เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้คนและบ้านเมืองด้วย
พระราชพิธีตรียัมปวาย หรือ ตรียัมพวาย หรือที่ประชาชนทั่วไปมักเรียกว่า “พิธีโล้ชิงช้า” เป็นพิธีหนึ่งในพระราชพิธีสิบสองเดือน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปี ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเศรษฐกิจของไทยไม่ค่อยมั่นคง เงินในท้องพระคลังร่อยหรอลงเต็มที และการโล้ชิงช้าก็ต้องใช้เงินมาก ประกอบกับช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เหตุการณ์บ้านเมืองยังไม่สงบดีนัก ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ จึงได้ยกเลิกประเพณีการโล้ชิงช้าไปเสีย