สวนสัตว์มนุษย์ ถูกสร้างขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนเป็นการจำลองสภาพชีวิตของชนพื้นเมืองผิวดำในแอฟริกาภายใต้ชื่อนิทรรศการ ‘The Congo Village’ หรือ ‘Kongolandsbyen’ เป็นส่วนหนึ่งของมหกรรม Jubilee Exhibition ที่จัดขึ้นในสวนสาธารณะฟรอกเนอร์ กลางกรุงออสโล เมืองหลวงของนอร์เวย์
เทริด ชฎา มงกุฎ ลอมพอก และปันจุเหร็จ
ทั้งเทริด, ชฎา, มงกุฎ, ลอมพอก เป็นเครื่องประดับศีรษะทั้งสิ้น มีรูปร่างและจุดประสงค์การใช้ที่ต่างกัน ต่างพัฒนาสืบเนื่องกันมาและต่อยอดในรูปร่างศิลปะจากราชสำนักสู่เครื่องสวมหัวโขน ละคร
เทริด [เซิด] น. เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า
ชฎา [ชะดา] น. เครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ, ผมที่เกล้าเป็นมวย
สูงขึ้น. (ป., ส. ชฏา).
มงกุฎ น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่อง
สวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความ
เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล
มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
ลอมพอก น. เครื่องสวมศีรษะรูปยาวแหลมคล้ายชฎา เช่น เทวดาสวม
ลอมพอก นาคสวมลอมพอก.
คำสาปแช่งที่ปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ
ลิลิตโองการแช่งน้ำ หรือ ประกาศแช่งน้ำโคลงห้า เป็นวรรณคดีเก่าแก่มากที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย
มีความสำคัญทั้งด้านวรรณคดี นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมของไทย เป็นวรรณคดีที่มีความยาวเพียงไม่กี่หน้า แต่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดเรื่องหนึ่ง เป็นโองการสำหรับใช้อ่านหรือสอนในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา กระทำสัตย์สาบานต่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพิธีที่ประกอบขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีของ ข้าราชการและขุนนางในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
เชื่อกันว่าลิลิตโองการแช่งน้ำแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นคือรัชสมัยของพระรามาธิบดี ที่ ๑
เนื่องจากมีข้อความตอนหนึ่งว่า “ผู้บ่ดีบ่ซื่อใครใจคอใจคด ขบถเจ้าผู้ผ่านเกล้าอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจ มีบุญ”
ออสการ์ ชินด์เลอร์ สินบนแลกชีวิต
เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุคนาซีเรืองอำนาจ ชื่อของ Oskar Schindler เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นพ่อค้าผู้ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่ง เขารู้จักใช้วิธีเสนอข้อตอบแทนโดยการให้สินบนนายทหารและผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าราคาแพง ของดีหายาก การเลี้ยงอาหารเลิศหรูในโรงแรมดัง ชื่อของเขาจึงเป็นที่รู้จักและให้เกียรติในหมู่นายทหารชั้นหัวแถวเป็นอย่างมาก เขาได้งานผลิตภาชนะส่งให้กับรัฐบาล โดยมีสิทธิ์ในการว่าจ้างชาวยิวมาเป็นคนงาน ด้วยราคาค่าจ้างที่แสนถูก และคืบหน้าจนถึงได้สิทธิ์ในการผลิตอาวุธสงครามให้กับรัฐบาลด้วย
เจ้าสามกรม
เจ้าสามกรม เป็นคำเรียกพระราชโอรส 3 พระองค์ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศที่ประสูติแต่พระสนม ได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ และ กรมหมื่นเสพภักดีพระองค์เจ้าทั้ง 3 พระองค์เป็นพระราชโอรสที่มีพระชันษาเป็นผู้ใหญ่และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสด็จสวรรคตของกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร) ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เจ้าสามกรมถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ทั้ง 3 พระองค์
ไทม์ไลน์เหตุการณ์ต่างๆของโลก
1200-1300 ปีก่อนคริสต์ศักราช สงครามโทรจัน อคิลีส แฮ็คเตอร์ ปารีส เฮเลน (ตำนาน)
588 ปีก่อนคริสต์ศักราช เจ้าชายสิทธัตถะทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าตอนอายุ 35 พระชันษา
การรบแห่ง ซา คาม มาย
การรบแห่ง ซา คาม มาย (Battle of Xa Cam My) นับเป็นสมรภูมิหนึ่งในสงครามเวียดนามที่ถูกลืมและไม่เป็นที่กล่าวถึงมากนัก โดยการรบแห่ง ซา คาม มาย เป็นสมรภูมิที่สั้นมากๆสมรภูมิหนึ่งในสงครามเวียดนาม เพราะใช้เวลาเพียงแค่ 2 วัน คือ นับตั้งแต่วันที่ 11 จนถึงวันที่ 12 เดือนเมษายน ปี 1966
จริงๆแล้ว ตามแผนยุทธการค้นหาและทำลาย (Search and destroy) ฝ่ายอเมริกันมีวัตถุประสงค์ที่จะล่อ กองพันดี 800 (D800 Battalion) ของเวียดกง ออกมาเพื่อบดขยี้ แต่กลับกลายเป็นว่า กองร้อยชาร์ลี (Charlie Company) ต้องตกอยู่ในสภาพสู้เพียงเพื่อเอาตัวรอด หาใช่แค่ใช้เป็นตัวล่อข้าศึกอย่างที่ตั้งใจไว้ในดงป่าต้นยางที่ ซา คาม มาย (Xa Cam My) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจาก กรุงไซง่อน ไปทางตะวันออกประมาณ 68 กม.
Unit 731 โรงงานแห่งความตาย
สนธิสัญญาเจนีวามีข้อกำหนดห้ามทุกประเทศทั่ว โลกทำการทดลองหรือใช้อาวุธชีวภาพในการทำสงคราม เมื่อคนทั้งโลกเกรงกลัวต่ออาวุธชนิดนี้ย่อมแสดงว่ามันต้องเป็นอาวุธทำลาย ล้างที่ทรงอานุภาพมากที่สุด ด้วยแนวความคิดนี้เองทำให้กองทัพญี่ปุ่นลักลอบละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญา เจนีวา ทำการก่อสร้างห้องทดลองลับยิ่งกว่าลับขนาดใหญ่กินเนื้อที่ 6 ตร.กม. เพื่อศึกษาและวิจัยอาวุธชีวภาพที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงกว่าระเบิดนิวเคลียร์หลายเท่าตัว
วีรกรรมดอนแตง: “ถ้าไม่ได้ศพคืนก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป”

(ภาพจาก บางกอกรายสัปดาห์ ฉ.2584 หน้า 62)
เมื่อสายลมอันเยือกเย็นของเดือนพฤศจิกายนเวียนกลับมาพร้อมกับสายน้ำที่เอ่อล้นริมตลิ่ง ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงความสนุกสนานในเทศกาลลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบสานกันมาแต่ครั้งโบราณกาล
แต่สำหรับเหล่าทหารเรือโดยเฉพาะลูกประดู่แห่งหน่วย นปข. หรือหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง
กระแสลมและสายน้ำแห่งเดือนพฤศจิกายนไม่ต่างอะไรกับสัญญาลักษณ์และเครื่องเตือนใจให้พวกเขารำลึกนึกถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างห้าวหาญของลูกนาวีไทยเมื่อครั้งอดีต ซึ่งยังคงเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันในนาม “วีรกรรมดอนแตง’
ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2518 ไกลออกไปจากกองบัญชาการกองทัพเรือราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร หลายร้อยกิโลเมตร
ที่สถานีเรือตรวจการณ์ตามลำแม่น้ำโขง อำเภอศรีเชียงใหม่ เรือเอกเทิดศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ผู้บังคับหมู่เรือ นปข. จังหวัดนองคาย ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่า
จะมีการลักลอบขนอาวุธและยุทธปัจจัยข้ามมาจากฝั่งลาวบริเวณอำเภอถ้ำบ่อ จังหวัดหนองคาย ในเขตบ้านกองนาง เพื่อนำไปสนับสนุนกองกำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่หลายแห่งในเขตภาคอีสานยังเป็น “พื้นที่สีแดง’ ที่ถูกคุกคามจากกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
นักปฏิวัติแห่งกรุงศรี : กรมหมื่นเทพพิพิธ ไม่ชนะ ไม่ตาย ไม่เลิก
จิตรกรรมโครงประกอบภาพเรื่อง พระราชพงศาวดารแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระตอน “ช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง” แสดงเหตุการณ์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเสด็จประพาสจับช้างป่าและพระมหาอุปราช (หรือพระอนุชาธิราช ต่อมาขึ้นสู่ราชบัลลังก์ในนาม พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชบิดาของกรมหมื่นเทพพิพิธ คิดกบฏไสช้างเข้าแทงช้างพระที่นั่ง (ภาพจากจิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม 2 จัดพิมพ์โดยสำนักพระราชวัง พ.ศ.2536)
ไทยเรามีสำนวนอยู่บทหนึ่งว่า “ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย” หมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างที่เคยเกิดมาแล้ว ซึ่งคล้ายกับสำนวนฝรั่งที่ว่า “the only new thing is the history that you don′t know” เรื่องราวใหม่ก็คือประวัติศาสตร์ที่เราไม่รู้
ตอนเป็นเด็กๆ ฟังผู้ใหญ่พูดสองสำนวนนี้ก็คิดค้านอยู่ประจำ พอเป็นผู้ใหญ่เริ่มเห็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองหลายหนก็ยอมรับ และคล้อยตามว่าสำนวนนี้ “จริง” ขึ้นทุกวัน