Tag: สงคราม

Unit 731 โรงงานแห่งความตาย

1417240474-unit731tor-o

สนธิสัญญาเจนีวามีข้อกำหนดห้ามทุกประเทศทั่ว โลกทำการทดลองหรือใช้อาวุธชีวภาพในการทำสงคราม เมื่อคนทั้งโลกเกรงกลัวต่ออาวุธชนิดนี้ย่อมแสดงว่ามันต้องเป็นอาวุธทำลาย ล้างที่ทรงอานุภาพมากที่สุด ด้วยแนวความคิดนี้เองทำให้กองทัพญี่ปุ่นลักลอบละเมิดข้อตกลงในสนธิสัญญา เจนีวา ทำการก่อสร้างห้องทดลองลับยิ่งกว่าลับขนาดใหญ่กินเนื้อที่ 6 ตร.กม. เพื่อศึกษาและวิจัยอาวุธชีวภาพที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงกว่าระเบิดนิวเคลียร์หลายเท่าตัว

Read More

วีรกรรมดอนแตง: “ถ้าไม่ได้ศพคืนก็ต้องเพิ่มศพเข้าไป”

(ภาพจาก บางกอกรายสัปดาห์ ฉ.2584 หน้า 62)

เมื่อสายลมอันเยือกเย็นของเดือนพฤศจิกายนเวียนกลับมาพร้อมกับสายน้ำที่เอ่อล้นริมตลิ่ง  ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงความสนุกสนานในเทศกาลลอยกระทง  ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบสานกันมาแต่ครั้งโบราณกาล

แต่สำหรับเหล่าทหารเรือโดยเฉพาะลูกประดู่แห่งหน่วย นปข. หรือหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง

กระแสลมและสายน้ำแห่งเดือนพฤศจิกายนไม่ต่างอะไรกับสัญญาลักษณ์และเครื่องเตือนใจให้พวกเขารำลึกนึกถึงการปฏิบัติหน้าที่อย่างห้าวหาญของลูกนาวีไทยเมื่อครั้งอดีต ซึ่งยังคงเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันในนาม “วีรกรรมดอนแตง’

ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2518  ไกลออกไปจากกองบัญชาการกองทัพเรือราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร หลายร้อยกิโลเมตร

ที่สถานีเรือตรวจการณ์ตามลำแม่น้ำโขง อำเภอศรีเชียงใหม่  เรือเอกเทิดศักดิ์ ซึ่งทำหน้าที่ผู้บังคับหมู่เรือ นปข. จังหวัดนองคาย ได้รับแจ้งจากสายข่าวว่า

จะมีการลักลอบขนอาวุธและยุทธปัจจัยข้ามมาจากฝั่งลาวบริเวณอำเภอถ้ำบ่อ จังหวัดหนองคาย  ในเขตบ้านกองนาง เพื่อนำไปสนับสนุนกองกำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่หลายแห่งในเขตภาคอีสานยังเป็น “พื้นที่สีแดง’ ที่ถูกคุกคามจากกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

Read More

สงครามดอกกุหลาบ

BattleofBosworth_thumb5

สงครามการแย่งชิงราชบัลลังค์ระหว่าง 2 ตระกูล คือ ตระกูลยอร์ก (House of York) และตระกูลแลงคาสเตอร์ (House of Lancaster)

สาเหตุ ที่เรียกว่า “สงครามดอกกุหลาบ” (War of the Rose) เนื่องจากตระกูลยอร์กนั้นใช้ ดอกกุหลาบสีขาว เป็นสัญลักษณ์ ส่วนตระกูลแลงคาสเตอร์นั้นใช้ ดอกกุหลาบสีแดง เป็นสัญลักษณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามระหว่างสองตระกูล จึงเรียกกันว่า “สงครามดอกกุหลาบ”

Read More

ยุทธหัตถีในประวัติศาสตร์ไทย

776084-topic-ix-9

การกระทำยุทธหัตถีเป็นประเพณีสงครามที่รับมาจากอินเดีย โดยช้างที่ใช้ เรียกว่า “ช้างศึก” โดยมากจะนิยมเลือกใช้ช้างพลายที่กำลังตกมัน ดุร้าย ก่อนออกทำสงครามจะกรอกเหล้าเพื่อให้ช้างเมา เกิดความฮึกเหิมเต็มที่ โดยจะแต่งช้างให้พร้อมในการรบ เช่น ใส่เกราะที่งวงหรืองาเพื่อรื้อทำลายค่ายคูของฝ่ายตรงข้าม เรียกว่า “ช้างกระทืบโรง” หรือล่ามโซ่หรือหนามแหลมที่เท้าทั้งสี่ ใช้ผ้าสีแดงผืนใหญ่ปิดตาช้างให้เห็นแต่เฉพาะด้านหน้าเพื่อไม่ให้ช้างตกใจและเสียสมาธิ เรียกว่า “ผ้าหน้าราหู”

Read More

ภควัทคีตา คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนาฮินดู

gita-005b

ภควัทคีตา อ่านว่า “พะ-คะ-วัด-คี-ตา” หมายถึง “บทเพลงแห่งพระเป็นเจ้า” เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ที่เล่าเรื่องโดย ฤๅษีกฤษณะ ไทวปายนะ วยาส โดยฤาษีตนนี้ ได้เล่าเรื่องราวของมหาภารตะให้แก่ พระพิฆเนศ และพระพิฆเนศก็ได้จดจาร บันทึกไว้เป็นตัวอักษร ก่อเกิดเป็นมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวฮินดูใช้ปฏิบัติกันจวบจนปัจจุบัน

Read More

กบฏไท่ผิง (1851-1864)

Hong Xiu Quan

ในช่วงศตวรรษที่สิบเก้า ประเทศจีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ชิงของชนเผ่าแมนจู ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว การบริหารปกครองแผ่นดินกำลังเสื่อมลงเนื่องจากองค์จักรพรรดิทรงไร้ความสามารถ จนทำให้ประชาชนจำนวนมากได้รับความทุกข์ยากจากการขูดรีดและกดขี่ของพวกขุนนางกับเจ้าที่ดิน

ความทุกข์ยากที่ประชาชนได้รับ นำไปสู่การก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งแม้ในที่สุด กบฏเหล่านั้นจะถูกปราบปรามโดยทางการจนราบคาบ แต่ก็ส่งผลให้รากฐานการปกครองของราชวงศ์ชิงต้องสั่นคลอน และการกบฏที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ชิงหรืออาจจะเป็นหนึ่งในการกบฏที่รุนแรงที่สุดของประวัติศาสตร์โลก ก็คือ กบฏไท่ผิง

Read More

บ๊ะจ่าง ตำนานปราชญ์รักแผ่นดิน

120112113334-84028-01

ถ้าเอ่ยถึงบ๊ะจ่าง หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดีกับข้าวเหนียวใส่กุนเชียง เนื้อหมู แปะก้วย ถั่ว (และอื่น ๆ) ห่อด้วยใบไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วนำมานึ่ง ทว่าที่มาของเจ้าบ๊ะจ่างหรือขนมจ้างนี้ เกี่ยวพันกับเรื่องราวของ ฉู่หยวน นักปราชญ์ ผู้ทรงคุณธรรมและรักบ้านเมือง

 

Read More

เจอโรนิโม

54110883

เจอโรนิโม (Geronimo)
(16 มิถุนายน พ.ศ. 2372 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452)
หัวหน้าอินเดียนแดงเผ่าอาปาเช่ ซึ่งเป็นอินเดียนแดงเผ่าสุดท้ายที่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนของตนจากการยึดครองของชาวอเมริกันผิวขาว

เจอโรนิโม (Geronimo) เป็นชาวอินเดียนแดง ในชนเผ่าอาปาเช เบดอนโคเฮ เกิดเมื่อวันที่ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2372 (ค.ศ. 1829) ในบริเวณที่ในปัจจุบันเป็นรัฐนิวเม็กซิโก มีชื่อจริงว่า โกยาตเลย์ (Goyathlay) ในขณะนั้น รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้พยายามขับไล่ชาวอินเดียนแดงออกไปเพื่อขยายอาณาเขตของประเทศ อินเดียนแดงหลายเผ่ายอมถอย แต่บางเผ่า ซึ่งรวมทั้งเผ่าอาปาเช เบดอนโคเฮ ของเจอโรนิโม ที่ไม่ยอมถอย และออกตอบโต้อเมริกาโดยการดักปล้นเสบียงและอาวุธของอเมริกาที่ขนส่งเข้ามาใกล้ ๆ

Read More

ซุนวู

200px-Enchoen27n3200

“รู้เขารู้เรา ร้อยรบมิรู้พ่าย”
ประโยคข้างต้นเพียงประโยคเดียวนี้เอง ได้ทำให้ชื่อของนักการทหารคนหนึ่งที่มีชีวิตราวสองพันกว่าปีก่อนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก
ชื่อของเขาคือ ซุนวู
ซุนวูเขียนตำราเพื่อการสัประยุทธ์ขึ้นมา 13 ข้อ และถึงทุกวันนี้ทั้ง 13 ข้อแห่งปรัชญาในการรบเล่มนี้ ก็ได้กลายเป็นคัมภีร์สำคัญของนักการทหารแทบทุกชนชาติ แม้แต่นักธุรกิจที่มองเห็นการตลาดเป็นสมรภูมิ ก็มักใช้ข้อคิดของซุนวูมาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ

Read More

สมรภูมิบ้านร่มเกล้า…สงครามที่ถูกลืม


สงครามบ้านร่มเกล้าเกิดจากกรณีพิพาท ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ณ บ้านร่มเกล้า อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก อันเนื่องมาจากปัญหาเส้นเขตแดนที่อ้างสนธิสัญญาคนละฉบับ
ลาวได้ส่ง กำลังทหารเข้ามายึดพื้นที่ส่วนที่เป็นปัญหา ไทยส่งกำลังทหารเข้าผลักดัน เกิดการปะทะกันด้วยกำลังทหารของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างหนักหน่วงในช่วงเดือนธันวาคม 2530 ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2531 มีการหยุดยิงเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531

Read More