พระราชธิดา ร.5 ผู้ไม่เคยออกนอกพระบรมมหาราชวัง
พระองค์เจ้าหญิงผ่องประไพ พระราชธิดาพระองค์แรกในล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ พระราชธิดาผู้อาภัพที่สุดในพระบรมวงศานุวงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2410 มีพระชนม์ยืนยาวมาจนถึงรัชกาลที่ 8 สิ้นพระชนม์เมื่อ 11 มีนาคม 2485 พระชันษา 75 ปี ภายในพระบรมมหาราชวัง
ต้นเหตุของการที่พระองค์ทรงเป็นพระธิดาที่อาภัพนั้น นับได้เมื่อครั้งที่พระเจ้าอยู่หัว ร.5 มีพระชนมายุประมาณ 15-16 พรรรษา ขณะนั้นพระองค์ท่านดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า ทรงมีพระพี่เลี้ยงคือคุณแข ซึ่งแก่กว่า ร.๕ ถึง 3 ปี หรือบางแห่งก็ว่าร่วม 10 ปีเลย ต่อมาคุณแขได้เป็นนางห้าม และได้ประสูติพระราชธิดา ซึ่งนับว่าเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกของรัชกาลที่ ๕
ครั้งนี้กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๔) ทรงกริ้วคุณแขอย่างมาก เพราะคุณแขทำให้เจ้าฟ้าชายประพฤติเกินวัยอันควร แต่พระเจ้าอยู่หัว ร.4 มิได้ทรงลงทัณฑ์ใดๆ ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ หม่อมราชวงศ์แขจึงได้ขึ้นเป็นเจ้าจอมมารดาแข ส่วนพระธิดาก็ได้ขึ้นตามเช่นกัน ในพ.ศ.2410 ที่พระองค์เจ้าผ่อง ประสูตินั้น พระเจ้าอยู่หัว ร.5 ทรงได้เจ้าจอมมารดาอีกคนคือเจ้าจอมมารดาแพ
เป็นที่รู้กันอยู่ในพระบรมมหาราชวังว่าพระองค์เจ้าหญิงผ่อง มิได้เป็นที่สนิทเสน่หาของรัชกาลที่ ๕ มากนัก เพราะพระองค์เจ้าผ่อง ทรงดื้อดึง ไม่ฉลาดนัก อีกทั้งมีพระโฉมไม่งามนัก พระบิดาจึงมิค่อยโปรด คราวหนึ่ง พระองค์เจ้าผ่องมีพระชนมายุ 6 พรรษา รัชกาลที่ ๕ ทรงลาผนวช ในวันที่เสด็จออกผนวชนั้นฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็ต่างพากันมาหมอบคลาน ตามธรรมเนียมวัง แต่รัชกาลที่ ๕ ทรงรับสั่งให้ยืนได้ “เนื่องจากพระองค์จะทดลองการยกเลิกการหมอบคลานภายในพระราชวังก่อน”
ดังนั้นบรรดาฝ่ายต่างๆ ที่ทรงพระเยาว์ และเจ้านายท่านต่างๆ ก็ปฏิบัติตาม หากทว่า”พระองค์เจ้าผ่องพระองค์เดียวที่มิยอมยืนขึ้นยังคงหมอบกราบอยู่” รัชกาลที่ ๕ ทรงกริ้วนัก ถึงกับเสด็จไปดึงพระเมาลี (จุกผม) ให้พระราชธิดายืนให้ได้ แต่พระองค์เจ้าผ่องก็มิทรงยืน เหตุนี้พระบิดาจึงไม่โปรด พระองค์เจ้าผ่องมากนัก “ถึงแม้จะเป็นพระราชธิดาพระองค์แรกก็ตาม”
เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จไปที่ใด บรรดาพระมเหสี พระราชโอรสและพระราชธิดาต่างๆ ในพระองค์ก็ไดรับพระราชทานพระบรมราชานุญาต เสด็จตามพระองค์ท่านได้ “แต่มีเพียงพระองค์เจ้าผ่องเพียงพระองค์เดียวที่มิเคยได้ตามเสด็จพระราชบิดาไป ณ สถานที่ไหนเลย” แม้คราวสร้างพระราชวังดุสิต บรรดาเจ้าจอมมารดา เจ้าฟ้า พระราชโอรส และพระราชธิดานั้น ต่างก้ได้รับพระราชทานตำหนักใหญ่น้อยอยู่ในพระราชวังดุสิตนั้น “แต่พระองค์เจ้าผ่องนั้นมิได้ตามเสด็จไปพระราชวังดุสิต” ก็ยังคงประทับอยู่ในพระราชฐานชั้นใน ของพระบรมมหาราชวัง ตราบกระทั่ง เปลี่ยนแผ่นดิน ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ สวรรคต “พระองค์ก็มิได้ทรงออกจากพระบรมมหาราชวังเลย ก็คงประทับอยู่ที่นันตราบกระทั่งสิ้นพระชนม์ ”
พระองค์เจ้าผ่องก็ทรงประทับในพระบรมมหาราชวังจนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2485 สิริพระชนมายุ 75 พรรษา ภายในพระบรมมหาราชวัง
“มีเรื่องกล่าวกันว่าพระองค์มิเคยได้ย่างก้าวออกจากพระบรมมหาราชวังตลอดกระทั่งวันประสูติจนถึงวันสิ้นพระชนม์เลย ตลอดระยะเวลา ๕ แผ่นดิน (ร.๔ – ร.๘)”
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/พระเจ้าบรมวงศ์เธอ_พระองค์เจ้าผ่องประไพ